นวัตกรรมกล่องถุงลมนิรภัยแบบใหม่ ผลิตโดยเทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริด

นวัตกรรมกล่องถุงลมนิรภัยแบบใหม่ ผลิตโดยเทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริด ให้น้ำหนักเบาลงอีก 30 เปอร์เซ็นต์ 

ในการออกแบบยานยนต์ เทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริด (Nylon Composite Sheet Hybrid Technology) นับเป็นวัสดุทางเลือกแทนโลหะที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ในการลดน้ำหนักของชิ้นส่วนโครงสร้างต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนด้านหน้ารถ ซึ่งมักต้องรองรับแรงเชิงกลสูง ในขณะเดียวกันวัสดุดังกล่าว สามารถใช้ในการผลิตโครงสร้างที่เป็นพลาสติกทั้งหมดให้มีน้ำหนักเบาลงได้เป็นอย่างดี เช่น กล่องสำหรับเก็บถุงลมนิรภัยในรถยนต์ ที่ผลิตโดยแผ่นไนลอนคอมโพสิต (Nylon Composite Sheet) จะช่วยลดน้ำหนักของกล่องลงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับชิ้นส่วนที่ผลิตจาก Polyamide (Nylon 6) ซึ่งเป็นพลาสติกเทคนิคประเภทไนล่อน 6 ที่ผลิตแบบฉีดขึ้นรูปได้ครั้งละมากๆ

“ด้วยเหตุนี้ ประสิทธิภาพเทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริด ที่มีคุณสมบัติสร้างน้ำหนักเบาของวัสดุ จึงสามารถนำไปใช้ได้กับชิ้นส่วนพลาสติกเพื่อลดน้ำหนักของชิ้นส่วนลงได้อีกมาก ส่งผลต่อการลดปริมาณการปล่อยไอเสียและอัตราการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงของยานยนต์ ซึ่งเป็นหัวใจของแนวคิดอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียว หรือ Green Mobility” มร. จูเลียน ฮาสเปล ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีไฮบริด ของหน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ (Semi-Crystalline Products: SCP) ของแลงเซส (LANXESS) ทำการอธิบาย

ทั้งนี้ กล่องถุงลมนิรภัยดังกล่าว ได้รับการออกแบบภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิศวกรรมขั้นสูงระหว่าง แลงเซส กับอีกสี่บริษัทในเยอรมนี ได้แก่ ทาคาตะ เพทริ (Takata-Petri AG เมือง Aschaffenburg) เคราส์มาฟเฟือ เทคโนโลยีส์ (KraussMaffei Technologies GmbH เมือง Munich) บอนด์ ลามิเนตส์ (Bond-Laminates GmbH เมือง Brilon) และ คริสเตียน คาร์ล ซีเบนเวิร์ส (Christian Karl Siebenwurst GmbH & Co. KG เมือง Dietfurt)

 ความหนาของผนังกล่อง ลดลงอย่างเห็นได้ชัด 

กล่องสำหรับเก็บถุงลมนิรภัยในรถยนต์ ที่ผลิตโดยเทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิต (Nylon Composite Sheet) จะช่วยลดน้ำหนักของกล่องลงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
เมื่อเทียบกับชิ้นส่วนที่ผลิตจาก Polyamide (Nylon 6) ซึ่งเป็นพลาสติกเทคนิคประเภทไนล่อน 6 ที่ผลิตแบบฉีดขึ้นรูปได้ครั้งละมากๆ 

โดยทั่วไป ภายในกล่องเก็บถุงลมนิรภัยจะบรรจุเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดใช้ก๊าซและถุงลมนิรภัยพับได้ จนถึงขณะนี้ชิ้นส่วนดังกล่าวส่วนใหญ่ผลิตขึ้นจากเหล็ก อลูมิเนียม หรือโดยการฉีดขึ้นรูปเทอโมพลาสติก (Thermoplastics) ซึ่งตามแนวความคิดนี้ ผนังตามยาวของกล่องเก็บถุงลมนิรภัยสำหรับผู้โดยสารนี้ ผลิตขึ้นจากวัสดุ  Tepex dynalite 102 RG 600 ทำการขึ้นรูปจาก บริษัท บอนด์ ลามิเนตส์ จำกัด (Bond-Laminates GmbH เมือง Brilon) แผ่นไนลอนคอมโพสิต 6 นี้ ในเชิงปริมาตรจะถูกเสริมด้วยใยแก้วที่เนื้อประสานกันต่อเนื่องมากถึง 47 เปอร์เซ็นต์ ถูกฉีดด้านหลังและเสริมในบางจุดด้วย Durethan DP BKV 240 H2.0 (เป็น Copolymer ชนิด Impact-modified Polyamide 6 จากแลงเซส) การออกแบบที่ใช้เทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริด จะช่วยลดความหนาของผนังด้านข้างลง ระหว่าง 3-4 มม. ถึง 0.5-1 มม. ส่งผลให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก

 สุดยอดความแข็งแรงและเหนียวทนทาน

เมื่อถุงลมนิรภัยทำงานขณะเกิดอุบัติเหตุ ฐานและผนังของกล่องจะต้องสามารถทนต่อการระเบิดและแรงดันที่เกิดขึ้นระหว่างที่ถุงลมนิรภัยพองตัวได้ “แม้ว่าผนังด้านข้างจะบาง แต่ผนังกล่องสามารถทนต่อแรงดันที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันได้ เนื่องจากแผ่นไนล่อนคอมโพสิตแบบไฮบริดมีความแข็งแรงสูงและเหนียวทนมาก” มร. อาสเปล กล่าว ทั้งนี้ โดยทั่วไปเทคโนโลยีแผ่นไนล่อนคอมโพสิตแบบไฮบริดเหมาะสำหรับนำไปผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นพลาสติกทั้งหมด ซึ่งคุณสมบัติความเหนียวทนทานและแข็งแรงสูงนี้ จำเป็นจะต้องนำไปผสานกับน้ำหนักที่ต่ำ ซึ่ง “แบริ่งเครื่องยนต์” (Engine Bearing) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง

 HiAnt – แบบจำลองที่แม่นยำของทุกขั้นตอนกระบวนการผลิต 

แลงเซส (LANXESS) สามารถจำลองขั้นตอนกระบวนการทั้งหมดในการผลิตชิ้นส่วนแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริดได้อย่างถูกต้อง ซึ่งรวมถึงกระบวนการที่สลับซับซ้อนมากในการขึ้นรูปแผ่นไนลอนคอมโพสิต “สำหรับกล่องเก็บถุงลมนิรภัย แลงเซสสามารถคำนวณการจัดแนวเส้นใยที่แตกต่างกันในแผ่นไนลอนคอมโพสิตขึ้นรูป เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการเคลื่อนตัวในแบบต่างๆ (Anisotropic Behavior) ในขั้นตอนการออกแบบชิ้นส่วนเหล่านั้น” มร. อาสเปล กล่าว

ความเชี่ยวชาญด้านนี้เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ HiAnt ซึ่งเป็นส่วนที่หน่วยธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ (Semi-Crystalline Products: SCP) ของแลงเซส (LANXESS) ได้สั่งสมความรู้และทักษะด้านวัสดุ การออกแบบ การจำลอง และเทคโนโลยีกระบวนการผลิต เพื่อนำเสนอบริการต่อลูกค้า ที่สอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริง

 

สำนักงานใหญ่ของแลงเซส ในเมืองเลเวอร์คูเซ่น ประเทศเยอรมนี


Green Mobility – อุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียว 
คือกลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจของ แลงเซส 

ในปีนี้ แลงเซสจะเน้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับ “อุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียว หรือ Green Mobility” โดยจุดมุ่งหมายของแคมเปญนี้ คือ เพื่อให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมที่แลงเซส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีภัณฑ์เฉพาะทาง สามารถช่วยให้เกิดการขับขี่ยวดยานที่ช่วยประหยัดทรัพยากร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้ความยั่งยืนกับส่วนรวม เช่น แนวคิดการออกแบบโครงสร้างน้ำหนักเบา สำหรับชิ้นส่วนของตัวรถยนต์หรือยางชนิดพิเศษ (High-Performance Rubber) สำหรับการผลิตยางรถยนต์ที่ช่วยให้วิ่งได้ลื่นไหล ประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

—————————–

Airbag housing in nylon composite sheet hybrid technology

• Making plastic parts even lighter
• Over 30 percent less weight

Bangkok, 4 May 2012 – In automotive design, nylon composite sheet hybrid technology is a particularly useful alternative to metals for reducing the weight of structural parts such as front ends, which are subjected to high mechanical loads. At the same time, it can be used to make all-plastic structures significantly lighter. One example of this is the housing for a passenger airbag module. The use of nylon composite sheet cuts the weight of the housing by over 30 percent compared with a mass produced, injection-molded version made of polyamide 6. “The lightweight construction potential of nylon composite sheet hybrid technology can thus also be applied to plastic parts to considerably lower the weight and thus the emissions and fuel consumption of vehicles in the spirit of green mobility,” explained Julian Haspel, an expert in hybrid technology at LANXESS’ Semi-Crystalline Products business unit. The housing was designed as part of a joint advanced engineering project between LANXESS, Takata-Petri AG of Aschaffenburg, KraussMaffei Technologies GmbH of Munich, Bond-Laminates GmbH of Brilon and Christian Karl Siebenwurst GmbH & Co. KG of Dietfurt.

Wall thicknesses significantly reduced 

The airbag housing accommodates the gas generator and the folded airbag. Until now, such components were made mainly of steel, aluminum, or by the injection molding of thermoplastics. In this concept housing for the passenger airbag, the long side walls are made of molded Tepex dynalite 102 RG 600 from Bond-Laminates. This nylon composite sheet of polyamide 6, reinforced with 47 percent continuous glass fibers by volume, is back-injected and reinforced in certain areas with Durethan DP BKV 240 H2.0, an impact-modified polyamide 6 copolymer from LANXESS. The design using nylon composite sheet hybrid technology enables the wall thickness of the side walls to be reduced from 3 to 4 mm to 0.5 to 1 mm, resulting in a considerable cost savings.

The passenger airbag module in nylon composite sheet hybrid technology is over 30 percent
lighter than a mass-produced, injection-molded version made of polyamide 6.

 

High strength and stiffness

When the airbag is triggered in an accident, the base and walls of the housing must be able to withstand the explosion and the pressure during inflation of the airbag. “Although the side walls are so thin, they can withstand the sudden pressure because of the high strength and stiffness of the hybrid nylon composite sheet,” said Haspel. Nylon composite sheet hybrid technology is generally suitable for all plastic automotive parts where high stiffness and strength need to be combined with low weight. Engine bearings are one example.

HiAnt – precise simulation of all process steps 

LANXESS can accurately simulate all process steps in the manufacture of nylon composite sheet hybrid parts – including the highly complex processes involved in forming the nylon composite sheet. “For the airbag housing, we were able to calculate the different local fiber alignments in shaped nylon composite sheets in order to account for their anisotropic behavior at the part design stage,” said Haspel. This expertise is part of the HiAnt brand, in which the Semi-Crystalline Products business unit has pooled the know-how it has developed in materials, design, simulation and process technology to deliver tailored customer service.


LANXESS Headquarter in Leverkusen, Germany.

Green mobility – a core strategic topic at LANXESS

In this fiscal year, LANXESS is focusing its activities on the core strategic subject of green mobility. The aim of the campaign is to focus on innovative technologies and products with which the specialty chemicals group can help to enable resource-saving, environmentally friendly, sustainable mobility, such as lightweight construction concepts for body parts or high-performance rubber for the manufacture of smooth running, fuel-saving green tires.

—————-
TTME NEWS
Download TTME-Ebook at www.ebooks.in.th 

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ขยายตัวต่อเนื่องทุกกิจกรรม

     ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 สะท้อนภาพการเร่งตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้นจากเดือนก่อน ตามภาคอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัว เข้าใกล้ระดับก่อนน้ำท่วมได้เร็วกว่าที่คาด และความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศเติบโตได้ในอัตราสูง ขณะที่การส่งออกพลิกกลับมาขยายตัวตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่มมีเสถียรภาพและยังไม่มีปัจจัยลบที่มีนัยสำคัญมากระทบในระยะนี้


ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
ยกเว้น ดัชนีการผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตร ใช้ตัวเลขของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต ใช้ตัวเลขของสำนัก งานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 

สรุปประเด็นเศรษฐกิจที่สำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 และอัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคม 2555 
ภาคเกษตรกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (YoY) เมื่อเทียบกับปีก่อน และ ร้อยละ 1.2 (MoM) เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามผลผลิตของยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง ที่ปรับตัวดีขึ้น และปาล์มน้ำมันที่เข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 16.1 (YoY) และร้อยละ 1.3 (MoM) ดีขึ้นจากเดือนมกราคมที่ลดลงร้อยละ 5.2 (MoM) เนื่องจากราคายางพาราและปาล์มน้ำมันเริ่มปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน หลังจากที่อุตสาหกรรมยานยนต์ ฟื้นตัว และความต้องการน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้นสูงขึ้น เช่นเดียวกับราคาข้าวที่ได้รับประโยชน์จากโครงการรับจำนำของรัฐบาล

ภาคอุตสาหกรรมเร่งตัวขึ้นเข้าใกล้ระดับก่อนอุทกภัยได้เร็วกว่าที่คาด สะท้อนจากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 62.27 ในเดือนกุมภาพันธ์ จากร้อยละ 58.46 ในเดือนก่อน นำโดย การฟื้นฟู-ซ่อมแซมสายการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมจนกลับมาดำเนินกิจกรรมได้เกือบเป็นปกติ ขณะที่ การเร่งเพิ่มกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าจะทำได้ล่าช้ากว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ก็นับว่ามีความคืบหน้าไปมาก จากหลายเดือนก่อนเช่นกัน ทั้งนี้ กำลังการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ หดตัวในอัตราที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 3.4 (YoY) เมื่อเทียบกับปีก่อน ดีขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 15.0 (YoY) ในเดือนก่อน โดยหมวดอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อขายในประเทศ (ได้แก่ เครื่องดื่ม ปิโตรเลียม พลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง) ขยายตัวร้อยละ 19.6 (YoY) หมวดอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก (เช่น เคมีภัณฑ์ ยานยนต์ และรถจักรยานยนต์) ขยายตัวร้อยละ 8.5 (YoY) ขณะที่ หมวดอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก (อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน สิ่งทอ และรองเท้า) หดตัวในอัตราที่น้อยลงมาที่ร้อยละ 18.6 (YoY) เทียบกับเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ 29.3 (YoY)

การบริโภคภาคเอกชนได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของกำลังซื้อในช่วงหลังน้ำลด ส่งผลให้ภาพรวมการบริโภคยังขยายตัวได้ดีในกลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภค เห็นได้จากมูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขยายตัวร้อยละ 15.3 (YoY) และร้อยละ 19.3 (YoY) ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการบริโภคสินค้าคงทน ทั้งรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 (YoY) และร้อยละ 6.8 (YoY) ตามลำดับ หลังจากที่ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ฟื้นตัว และปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนคลี่คลายลงไปมาก ทั้งนี้ ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 6.6 (YoY) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าในช่วงก่อนเกิดอุทกภัย

การลงทุนภาคเอกชนก็มีแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องเช่นกัน เห็นได้จากดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 (YoY) เร่งตัว ขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 (YoY) ตามการเร่งลงทุน และกิจกรรมซ่อมแซม-ฟื้นฟูสายการผลิต-การค้า หลังน้ำลด ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน มูลค่าการจำหน่าย เครื่องจักรในประเทศ และยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 40.7 (YoY) ร้อยละ 8.6 (YoY) และร้อยละ 30.2 (YoY) ตามลำดับ ด้านการลงทุนโครงการก่อสร้างใหม่ก็ยังมี อยู่ต่อเนื่อง เห็นได้จากยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ และมูลค่าโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุน ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 (YoY) และร้อยละ 89.7 (YoY) ตามลำดับ

ความเชื่อมั่นภาคเอกชนมีทิศทางสอดคล้องกับการฟื้นตัวของภาคการใช้จ่ายในประเทศ โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นทางธุรกิจและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พร้อมใจกันปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ75.5 ระดับ 100.9 และระดับ 52.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาพของการฟื้นตัวภาคอุตสาหกรรมหลังน้ำลดที่มีความชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ ทำให้เกิดการเร่งตัวของการบริโภคและการลงทุนเพื่อตอบสนองความต้องการเดิมที่มีอยู่ และเพื่อซ่อมแซม-ฟื้นฟูส่วนที่เสียหาย อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคและ ผู้ประกอบการ ยังคงมีความกังวลใจในประเด็นค่าครองชีพที่คาดว่าจะทรงตัวในระดับสูง ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย และภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งสะท้อนผ่านการปรับตัว ลดลงของดัชนีคาดการณ์ทั้ง 3 ตัว สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมีนาคม 2555 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 สู่ระดับ 76.6 สูงสุดในรอบ 6 เดือน

ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ มีมูลค่า 18,621 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 (YoY) เมื่อเทียบกับปีก่อน ดีขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 6.1 (YoY) ในเดือนมกราคม โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.7 (YoY) ดีขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 8.8 (YoY) ในเดือนมกราคม โดยเฉพาะการส่งออกในหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ได้รับอานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นของราคาในตลาดโลก และการส่งออกยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นตามการผลิตในประเทศที่ฟื้นตัวจากอุทกภัย ส่วนสินค้าเกษตรกรรมยังคงหดตัวร้อยละ 15.1 (YoY) สำหรับการนำเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ มีมูลค่า 16,569 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวร้อยละ 8.2 (YoY) จากการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าทุน ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 25.5 (YoY) และร้อยละ 21.9 (YoY) ตามลำดับ ตามการเติบโตของการใช้จ่ายในประเทศ
ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้ไทยสามารถบันทึกดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลถึง 2,052 ล้านดอลลาร์ฯ และ 1,092 ล้าน ดอลลาร์ฯ ตามลำดับ ดีขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 522 ล้านดอลลาร์ฯ และ 981 ล้านดอลลาร์ฯ ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคม 2555 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยเร่งตัวขึ้น หลังราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิต-ขนส่ง ที่มีแรงหนุน จากราคาเชื้อเพลิงในประเทศ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 (YoY) เมื่อเทียบกับปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.59 (MoM) เมื่อเทียบกับเดือนก่อน นำโดย หมวดอาหารและ เครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 (MoM) และหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 (MoM) และเมื่อหักสินค้าในกลุ่มอาหารสดและพลังงานซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.24 (MoM) ออก แล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.77 (YoY) และ 0.33 (MoM) ตามลำดับ

ค่าเงินบาทในประเทศ (Onshore) ปิดตลาด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 ที่ระดับ 30.84 บาทต่อดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงจาก 30.26 บาทต่อดอลลาร์ฯ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 จากแรงซื้อดอลลาร์ฯของกลุ่มผู้นำเข้า และความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากมีการเปิดเผยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและตัวเลขอุตสาหกรรมที่ต่ำกว่าที่คาด ทำให้นักลงทุนลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง และเทขายสกุลเงินในภูมิภาคเอเชียในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ส่งผลให้ค่าเงินบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม อ่อนค่าลงจากระดับปิด ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ร้อยละ 1.9


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนกุมภาพันธ์ สะท้อนภาพการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจชัดเจนขึ้นกว่าเดือนมกราคม โดยนอกจากภาคการใช้จ่ายในประเทศที่ยังรักษาอัตราการขยายตัวได้ดีแล้ว เศรษฐกิจไทยยังได้รับแรงหนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาด ปัจจัยบวกดังกล่าว น่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1/2555 กลับมาขยายตัวได้ราวร้อยละ 1.0 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และต่อเนื่องไปยังไตรมาสที่ 2/2555 สำหรับช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญความท้าทายในการรักษาอัตราการขยายตัว เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจกดดันให้การเติบโตของเศรษฐกิจไม่เป็นไป ตามที่คาด อาทิ ภาวะต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพ และแรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศ ตลอดจนทิศทางเศรษฐกิจต่างประเทศที่ยังอาจสะท้อนภาพเชิงลบจากการชะลอตัวของจีน และวิกฤตหนี้ยุโรป เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงยังคงตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2555 ที่กรอบร้อยละ 4.5-6.0 โดยต้องติดตามประเด็นค่าครองชีพและภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งอาจจะมีแรงกดดันที่สูงขึ้น และทำให้ภาพรวมของอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2555 ทรงตัวอยู่ในระดับสูงร้อยละ 3.9

แลงเซส มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว / LANXESS powering Green Mobility

แลงเซส  มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว
แลงเซส ประกาศให้ ปีพ.ศ. 2555 เป็นปีแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว หรือ กรีน โมบิลิตี้ (Green Mobility) มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ซึ่งบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำแห่งนี้ได้ยกระดับการพัฒนายานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับแนวคิดการดำเนินงานของบริษัท โดยแลงเซสได้จัดแสดงนวัตกรรมล้ำสมัยจากหน่วยธุรกิจอันหลากหลายของบริษัท ได้แก่ หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ (Semi-Crystalline Products)  หน่วยธุรกิจ สารสีอนิน-ทรีย์ (Inorganic Pigments) หน่วยธุรกิจ ไรน์ เคมี (Rhein Chemi) และ หน่วยธุรกิจ ฟังชันนัล เคมิคัลส์ (Functional Chemicals) ณ งานไชน่าพลาส 2012 (Chinaplas 2012) ระหว่างวันที่ 18 – 21 เมษายน ที่ผ่านมา ที่ศูนย์นิทรรศการนานาชาติแห่งใหม่ “เซี่ยงไฮ้ ผู่ตง” ซึ่งนักลงทุนที่เข้าเยี่ยมชมบูธของแลงเซส ได้รับทราบถึงการส่งเสริมตลาดพลาสติกของหน่วยธุรกิจทั้งสี่ของบริษัทฯ ซึ่งแลงเซสได้นำเสนอวัตถุดิบ

มร. มาร์ติน เครเมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แลงเซส ประจำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน


พิธีเปิดบูทของแลงเซส ณ งาน ไชน่าพลาส 2012 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-21 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
บุคคลในภาพ (จากซ้าย) มร. มาริโอ เนกริ ผู้อำนวยการ หน่วยธุรกิจ ไรน์ เคมี ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก ดร. คริสทอฟ คร็อกมันน์ รองประธาน หน่วยธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก มร. มาร์ติน เครเมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แลงเซส ประจำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ดร. วูล์ฟกัง อือห์เลิร์ท รองประธาน หน่วยธุรกิจ สารสีอนินทรีย์ ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก และ มร. ชก ฮัก เลียง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย หน่วยธุรกิจ ฟังชันนัล เคมิคัลส์ ประจำภาคพื้นเอเชีย


ภาพบูทของแลงเซส ณ งานไชน่าพลาส 2012


นักลงทุนจากหลากหลายประเทศเข้าชมบูทของแลงเซส ที่นำเสนอนวัตกรรมล่าสุดสำหรับเทรนด์อุตสาหกรรมระดับโลก นั่นคือ ยานยนต์สีเขียว หรือ กรีน โมบิลิตี้ (Green Mobility)

สมรรถนะสูง ที่ช่วยสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  
เพื่อกระชับความร่วมมือกับลูกค้าและแสดงให้เห็นถึงกรอบของพันธกิจในการดำเนินงาน ในภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แลงเซสได้ประกาศแผนการจัดตั้ง ‘ศูนย์พัฒนาแอพพลิเคชั่นแห่งเอเชีย แปซิฟิก’ หรือ ‘Asia-Pacific Application Development Center’ โดยศูนย์แห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง จะเริ่มเปิดดำเนินงานตั้งแต่ครึ่งปีหลังของ ปีพ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ฮ่องกงจะเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีพลาสติกชั้นสูงของแลงเซส ได้แก่ ดูรีเทน (Durethan) และ โพแคน (Pocan) ซึ่งมาพร้อมกับเทคโนโลยีการผลิตที่ครอบคลุมและมีคุณภาพสูง รวมถึงการออกแบบและพัฒนาระบบวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ ตลอดจนศูนย์การทดสอบชิ้นส่วนระดับโลก สำหรับลูกค้าทั้งหมดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

ศูนย์พัฒนาแอพพลิเคชั่นแห่งเอเชีย แปซิฟิก’ สะท้อนถึงเจตนารมณ์ของแลงเซสในการเป็นพันธมิตรและทำงานร่วมกับ นักวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต และลูกค้า พร้อมกับช่วยส่งเสริม ‘ศูนย์วิจัยและพัฒนา’ ที่มีอยู่เดิม ณ เมืองอู๋ซี ประเทศจีน เพื่อการพัฒนาและทดสอบวัตถุดิบ สำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อไป” มร. มาร์ติน เครเมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แลงเซส ประจำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน กล่าว

ทั้งนี้ แลงเซส ได้รับรางวัล ‘นวัตกรรมสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม’ ประจำ ปี พ.ศ. 2555 หรือ ‘Green Innovation Award 2012’  ในสาขาวิศวกรรมพลาสติก อันเนื่องมาจากนวัตกรรมพลาสติกชั้นสูงอย่าง ดูรีเทน และ โพแคน ของแลงเซส จากงาน Plastic Technology China ซึ่งผลิตภัณฑ์อันล้ำสมัยนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนายานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถนำไปทดแทนชิ้นส่วนที่เป็นเหล็ก ช่วยลดน้ำหนักตัวรถ เพิ่มอัตราความประหยัดเชื้อเพลิง และลดการปล่อยมลพิษ ขณะเดียวกันยังช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประหยัดต้นทุนจากการประกอบตัวรถที่สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้นอีกด้วย

นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์แล้ว แลงเซสยังมีเทคโนโลยีพลาสติกชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมอื่น “ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมอันก้าวล้ำหน้า แลงเซสยึดมั่นที่จะสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียวให้เกิดขึ้น จากผลิตภัณฑ์อันเปี่ยมด้วยนวัตกรรมคุณภาพ อาทิ สารสีอนินทรีย์ ฟังชันนัล เคมิคัลส์ และสารเติมแต่ง ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความประหยัดเชื้อเพลิง และมีสมรรถนะที่ดีเพื่อสิ่งแวดล้อม” มร. เครเมอร์ กล่าวสรุป

ปีแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว
ในปีนี้ แลงเซส ดำเนินงานมุ่งเน้นกลยุทธ์อุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว ให้ความสำคัญที่นวัตกรรมเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำแห่งนี้ จะสามารถส่งเสริมการประหยัดทรัพยากร ให้ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์อุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียวที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการใช้แนวคิดสร้างชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์ที่มีน้ำหนักเบา และยางสมรรถนะสูงในการผลิตยางรถยนต์สีเขียว หรือ ยางกรีนไทร์ (Green tires) ที่ประหยัดเชื้อเพลิง

###
แลงเซส (LANXESS) เป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำที่มียอดขายรวม 8.8 พันล้าน   ยูโร (ประมาณ 3.61 แสนล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2554 ปัจจุบันมีพนักงานราว 16,500 คนใน 30 ประเทศ มีฐานการผลิต 48 แห่งทั่วโลก ทั้งนี้ ธุรกิจหลักของ แลงเซส (LANXESS) ได้แก่ การพัฒนา การผลิต และการจัดจำหน่ายพลาสติก ยาง สารที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต (intermediates)  และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน แลงเซส เป็นสมาชิกของ Dow Jones Sustainability Index (DJSI)  และ FTSE4Good 

——————
ที่มา : TTME NEWS

———————————–

LANXESS powering Green Mobility

Bangkok, 27 April 2012 – LANXESS, the specialty chemicals company, has declared 2012 the Year of “Green Mobility”, highlighting the premium products the specialty chemicals group develops to enable a more environmentally-friendly mobility.  As part of this themed year, LANXESS business units Semi-Crystalline Products (SCP), Inorganic Pigments (IPG), Rhein Chemie (RCH) and Functional Chemicals (FCC) displayed their state-of-the-art and innovative solutions at the Chinaplas 2012 trade fair, which was being held last week from April 18-21 at the Shanghai New International Expo Centre, Pudong.   Visitors to the LANXESS’ booth would find out how four of its business units serve the plastics market.  LANXESS supplies customers throughout the world with high-performance materials that help ensure sustainable and green mobility.


Mr Martin Kraemer, CEO, LANXESS Greater China.


LANXESS booth opening ceremony at Chinaplas 2012, during 18-21 April 2012, Shanghai, China.
(from left) Mr Mario Negri, Director Asia-Pacific, Rhein Chemie, Dr Christof Krogmann, Vice President Asia-Pacific, Semi-Crystalline Product business unit, Mr Martin Kraemer, CEO, LANXESS Greater China, Dr Wolfgang Oehlert, Vice President Asia-Pacific, Inorganic Pigments business unit, and Mr Chok Hak Leong, Sales Director Asia, Functional Chemicals business unit.


LANXESS booth at Chinaplas 2012.


Investors pay attention at LANXESS booth. Introducing a number of product innovations to support the global megatrend of Green Mobility.   

To reinforce collaboration with customers and demonstrate its rapidly increasing commitment to the Asia region, LANXESS announced it will open a new Asia-Pacific Application Development Center during Chinaplas 2012.  This new center will be located in the Hong Kong Science & Technology Park and will start up in the second half of 2012.  Hong Kong will become a technology hub for LANXESS’ Durethan and Pocan high-performance plastics by offering a comprehensive, high-value technology package including CAD and CAE facilities and a world-class parts testing center to all customers in the Asia-Pacific region.

“This application center represents our intention to be an active, eager partner with researchers, producers and customers.  It will complement our R&D center we already have in Wuxi to develop and evaluate materials solutions used in the automotive industry,” said Martin Kraemer, CEO of LANXESS Greater China.

LANXESS was honored with the green innovation awards 2012 by Plastic Technology China in the engineering plastics market for its high-performance Durethan and Pocan.  These advanced products play a vital role in the design of more environmentally responsible cars. By replacing metal components, they make cars lighter, and thus contribute to fuel efficiency and reduced emissions. In addition, Durethan and Pocan enable carmakers and car parts suppliers to achieve considerable savings through easier assembly.

Aside from the automotive segment, LANXESS has a variety of offerings for high-tech plastics solutions for a wide range of industries.  According to Kraemer, “with our cutting edge products and solutions, we are determined to help make green mobility happen here.  Our high performance materials, inorganic pigments, functional chemicals and additives are bringing added value for fuel efficiency and environmental performance.”

About the Year of Green Mobility
This year, LANXESS is focusing its activities on the core strategic subject of Green Mobility. The aim of the campaign is to focus on innovative technologies and products with which the specialty chemicals group can help to enable resource-saving, environmentally friendly, sustainable mobility. This includes such things as lightweight construction concepts for body parts and high-performance rubber for the manufacture of fuel-saving Green Tires.

###
LANXESS is a leading specialty chemicals company with sales of EUR 8.8 billion in 2011 and currently around 16,500 employees in 30 countries. The company is at present represented at 48 production sites worldwide. The core business of LANXESS is the development, manufacturing and marketing of plastics, rubber, intermediates and specialty chemicals. LANXESS is a member of the leading sustainable indices Dow Jones Sustainability Index (DJSI) World and FTSE4Good.

Forward-Looking Statements
This news release may contain forward-looking statements based on current assumptions and forecasts made by LANXESS AG management. Various known and unknown risks, uncertainties and other factors could lead to material differences between the actual future results, financial situation, development or performance of the company and the estimates given here. The company assumes no liability whatsoever to update these forward-looking statements or to conform them to future events or developments.

 

ขีดความสามารถการส่งออกข้าวไทยจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง…อยู่ที่การปรับตัวรับการแข่งขัน

ตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเกิดภาวะวิกฤตอาหาร ส่งผลให้ราคาสินค้าอาหารรวมทั้งข้าวพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้เป็นโอกาสของประเทศที่ผลิตสินค้าอาหารส่งออก เพิ่มการผลิตเพื่อโอกาสในการขยายตลาด ในขณะที่อีกหลายประเทศเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ รวมทั้งการลดการพึ่งพิงการนำเข้าสินค้าอาหาร โดยการขยายการผลิตทั้งเพื่อให้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศ และเพื่อเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารในอนาคต ดังนั้น การแข่งขันในการส่งออกสินค้าอาหารในตลาดโลกจึงทวีความรุนแรงมากขึ้น
ในบรรดาสินค้าอาหารส่งออกของไทย ข้าวมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าสินค้าอาหารส่งออก ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนมากที่สุดในบรรดา สินค้าส่งออกอาหารไม่แปรรูป โดยไทยครองอันดับหนึ่งในการส่งออกข้าวมาตั้งแต่ปี 2524 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา การแข่งขันในการส่งออกข้าวเผชิญการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจากเวียดนามที่ก้าวขึ้นมาเป็นที่สองรองจากไทยในการส่งออกข้าวในตลาดโลก ช่วงห่างของปริมาณการส่งออกข้าวของไทยและเวียดนามเแคบลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ อินเดียที่เริ่มกลับมาส่งออกข้าวขาวและข้าวนึ่งอีกครั้งหลังจากที่หยุดส่งออกไป 3 ปี (ยังคงส่งออกข้าวบัสมาติ) ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวของอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2554 และ 2555 ซึ่งการที่ทั้งเวียดนามและอินเดียเข้ามาเบียดแย่งตลาดส่งออกข้าวไทย โดยอาศัยความได้เปรียบในการแข่งขันในด้านราคาส่งออกที่ต่ำกว่า ส่งผลให้ประเทศผู้นำเข้าข้าวหันไปนำเข้า ข้าวจากเวียดนามและอินเดียเพิ่มขึ้น ดังนั้น คาดการณ์ว่าในปี 2555 ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าไทยยังจะรักษาตำแหน่งประเทศผู้ส่งออกข้าว อันดับหนึ่งไว้ได้ในปี 2555 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าไทยจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 8.0 ล้านตันข้าวสาร ส่วนเวียดนามและอินเดียส่งออกได้ที่ปริมาณ 7.1 ล้านตันข้าวสารและ 7.0 ล้าน ตันข้าวสารตามลำดับ(คาดการณ์ว่าอินเดียสามารถแซงสหรัฐฯขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับสามของโลกได้ในปี 2555)


ที่มา : USDA หมายเหตุ : ปี 2554/55 ปรับตามข้อมูลล่าสุด

ในระยะถัดไปโจทย์ที่ท้าทายของประเทศไทยคือ การพัฒนาขีดความสามารถในการส่งออกข้าวเพื่อเตรียมรับมือกับการแข่งขันที่ยังคงรุนแรง โดยมีโอกาสที่ทั้งเวียดนามและอินเดียอาจจะแซงขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก เนื่องจากตลาดที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักอยู่ในทวีปเอเชียและแอฟริกา และเป็นสินค้าที่บริโภค โดยกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลางลงไปค่อนข้างมาก ซึ่งตลาดกลุ่มนี้ราคาเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกในการเลือกซื้อข้าว ในขณะที่ราคาข้าวส่งออกของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าคู่แข่งขันเมื่อ เทียบกับชนิดข้าวประเภทเดียวกัน กล่าวคือ ราคาส่งออกข้าวณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 ของไทยอยู่ในระดับที่สูงกว่าเวียดนาม 129-144 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทข้าว) และสูงกว่าอินเดีย 79-154 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเวียดนามเป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออกข้าวขาว ส่วนอินเดียเป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออกข้าวขาว(โดยเฉพาะข้าวขาว5% และ 25%) และข้าวนึ่ง ดังนั้น การที่จะแย่งตลาดส่งออกข้าวกลับมาจากเวียดนาม และอินเดียก็ต้องทำให้ราคาส่งออกไม่แตกต่างกันมากนัก และอาศัยจุดแข็งของไทยในด้านการยอมรับใน มาตรฐานคุณภาพข้าว และการส่งมอบที่ตรงตามสัญญา

แนวทางการที่จะทำให้ส่วนต่างของราคาส่งออกข้าวลดลงเพี่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

 ระยะสั้น ภายใต้นโยบายการแทรกแซงตลาดข้าว โดยการยกระดับราคาที่เกษตรกรขายได้ส่งผลโดยตรงที่ทำให้ราคาข้าวส่งออกของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่รัฐบาลไทยเองก็ยังมีโจทย์ที่ต้องช่วย เหลือชาวนาให้มีรายได้ในระดับที่อยู่ได้ การปรับตัวของผู้ส่งออกในระยะสั้นอาจต้องมุ่งแสวงหาตลาดใหม่ๆในผลิตภัณฑ์ข้าวที่ไม่เน้นการแข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะข้าวคุณภาพพิเศษ เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ข้าวอินทรีย์ เป็นต้น และในระยะถัดไป สิ่งที่ควรต้องดำเนินการคือ การจัดตั้งไรซ์บอร์ด(Rice Board) ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้าวทั้งระบบเข้ามามีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็น ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดทิศทางการค้าข้าวได้ ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพการผลิต ราคาของการซื้อขาย การแทรกแซงตลาด ไปจนถึงนโยบายการส่งออก แนวคิดนี้ ในต่างประเทศประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่น Wheat Board และ Coffee Board ของประเทศตะวันตก Palm Board ของมาเลเซีย ซึ่งล้วนตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลตั้งแต่การผลิตให้มีคุณภาพ และ ปริมาณที่เหมาะสม กำหนดราคา รวมไปถึงการส่งออกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้การเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกข้าวของไทยประสบความสำเร็จ

 ระยะยาว ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว คือ

– การลดต้นทุนการผลิตโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ประเด็นสำคัญอยู่ที่การเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งสำคัญ ในการส่งออกข้าวอย่างเวียดนามและอินเดียแล้ว ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาโดยตลอด และมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศคู่แข่งสำคัญ โดยเฉพาะเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญที่ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ คือ แหล่งน้ำในการทำนาไม่เพียงพอ โดยมีพื้นที่ทำนาที่อยู่ในเขตชลประทานเพียงประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ทำนาทั้งประเทศ จากข้อมูลการสำรวจผลิตข้าวต่อไร่ของไทยเมื่อปี 2553 ที่ผ่านมาพบว่า ข้าวนาปีในพื้นที่นอกเขตชลประทานมีผลผลิตเฉลี่ยเพียง 364 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนในเขตชลประทานให้ผลผลิต 542 กก./ไร่ ส่วนข้าวนาปรังซึ่งจะทำในเฉพาะพื้นที่ชลประทานทั้งประเทศให้ผลผลิตเฉลี่ยถึง 702 กก./ไร่ โดยเฉพาะในพื้นที่ชลประทานภาคกลางผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 เฉลี่ยต่อไร่สูงถึง 785 กก./ไร่สูงกว่าค่าเฉลี่ยผลผลิตข้าวทั่วโลก ดังนั้น การขยายเขตพื้นที่ชลประทานนับว่าเป็นแนว ทางสำคัญในการเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่

นอกจากประเด็นในเรื่องแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว ประเด็นที่มีความสำคัญรองลงมา คือ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการทำการเกษตร โดยเฉพาะพันธุ์ข้าว และการใช้เคมีภัณฑ์ทางการเกษตร (ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช) ให้เหมาะสมกับแหล่งปลูกข้าวแต่ละท้องที่ การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในระดับไร่นา (รถไถนา รถเกี่ยว ข้าวฯลฯ) เพื่อลดต้นทุนในการเก็บเกี่ยว(ทั้งในด้านค่าจ้างแรงงาน และระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว) อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวัง คือ การใช้เทคโนโลยีที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมก็มีส่วนส่ง ผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่น การใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่เหมาะสมกับดิน การใช้ยากำจัดศัตรูพืชมากเกินไปหรือใช้ผิดประเภท เป็นต้น

– การปรับผลผลิตข้าวให้ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในด้านปริมาณ ประเภทและคุณภาพ ซึ่งเป็นการยึดตลาดเป็นหลักในการวางแผนการผลิต ทั้งนี้เพื่อให้ข้าวที่ผลิตออกมาสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ เช่น ทิศทางการแข่งขันในระยะถัดไปไทยจะขยับขึ้นไปส่งออกข้าวคุณภาพพิเศษ (ข้าวหอมมะลิ ข้าวเฉพาะท้องถิ่น ข้าวกล้อง ข้าวอินทรีย์ ฯลฯ) และผลิตภัณฑ์ข้าวสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวแทนการส่งออกข้าวในรูปเมล็ด ซึ่งผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยยังมีโอกาสในการขยายตลาด ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก

จากแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกข้าว เห็นได้ชัดเจนว่ามีแนวโน้มว่าขีดความสามารถในการส่งออกข้าวของไทยมีแนวโน้มลดลงในระยะถัดไป เนื่องจากแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะสั้นเป็นไปได้ยาก ส่วนการลดต้นทุนการผลิตและการปรับผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดต้องอาศัยระยะเวลา และการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งยังต้องพึ่งพิงการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นอย่างมาก รวมทั้งการดำเนินการแทรกแซงตลาดโดยการยกระดับราคาที่เกษตรกรขายได้อย่างต่อเนื่องก็ไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้ชาวนาพัฒนาคุณภาพข้าวเพื่อที่จะขายข้าวให้ได้ในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งปัญหาในเรื่องคุณภาพข้าวอาจจะเป็นปัญหาที่สร้างแรงกดดันต่อความสามารถในการแข่งขันที่สำคัญในอนาคต

เมื่อขีดความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกข้าวมีแนวโน้มลดลง บรรดาผู้ประกอบการSMEs ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจข้าวต้องเร่งปรับตัวเพื่อประคองตัวให้อยู่รอด โดยแยกเป็นประเภทของผู้ประกอบการ ดังนี้

 โรงสี ผู้ประกอบการโรงสีที่เป็นSMEs (โรงสีขนาดกลางและเล็กกำลังการผลิตน้อยกว่า100 ตัน/วัน ) มีจำนวน 37,362 โรงงาน1 คิดเป็นร้อยละ 96.6 ของจำนวนโรงสีทั้งหมด โดยปกติมาร์จิ้นสุทธิของธุรกิจโรงสีจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1-3 สำหรับข้าวขาว ส่วนข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมปทุม และข้าวนึ่งจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4-62 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของโรงสี รายได้หลักหรือประมาณ ร้อยละ 66 เป็นรายได้จากการขายข้าวต้นข้าวท่อน และปลายข้าว ส่วนรายได้ที่เหลืออีกร้อยละ 35 เป็นรายได้จากผลพลอยได้ ซึ่งแยกเป็นแกลบร้อยละ 24 และรำข้าวร้อยละ 11 ซึ่งข้าว ท่อนเป็นวัตถุดิบสำหรับทำเส้นก๋วยเตี๋ยว ส่วนแกลบ รำข้าว ปลายข้าว เป็นที่ต้องการของบรรดาโรงงานไฟฟ้าชีวมวล และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ตามลำดับ ในภาวะที่การส่งออกมีแนวโน้มลดลง บรรดาธุรกิจโรงสีต้องเร่งปรับตัวด้วยการพยายามเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเพื่อลดโอกาสของการขาดทุนจากการเผชิญกับภาวะตลาดเอง ส่วนโรงสีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการรับ จำนำก็ต้องพยายามเก็บข้าวไว้จำหน่ายเป็นข้าวเก่า ซึ่งโดยปกติจะเก็บไว้ได้ประมาณ 6-9 เดือน และทยอยขายออกไป ซึ่งคงต้องเผชิญกับภาวะขาดทุน แต่จะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการของโรงสีแต่ละแห่ง

 โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ข้าว อุตสาหกรรมแปรรูปข้าวส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการSMEs จำแนกเป็นโรงงานผลิตภัณฑ์ประเภทอบ จำนวน 231 โรงงาน ผลิตภัณฑ์ประเภทเส้น จำนวน 422 โรงงาน โรงงาน ผลิตแป้งสตาร์ชและผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช จำนวน 57 โรงงาน3 โรงงานเหล่านี้จะเป็นแหล่งดูดซับผลผลิตข้าวที่คาดว่าจะเหลืออยู่ในประเทศเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากคาดว่าการส่งออกข้าวของไทยมีแนวโน้มลดลง ดังนั้น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวโดยการส่งออกในรูปผลิตภัณฑ์ข้าวนับว่าเป็นแนวทางที่สำคัญ ซึ่งนอกจากโรงงานผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีอยู่แล้วควรต้องเร่งมีการเพิ่มการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประเภทของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเน้นผลิตภัณฑ์ที่เกาะกระแสสุขภาพ ซึ่งอยู่ในความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน เช่น น้ำมันรำข้าว เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ใช้วัตถุดิบจากข้าว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดส่วนบุคคล(สบู่จากข้าว) อาหารเสริมสุขภาพจากข้าว เป็นต้น

 ผู้ส่งออกข้าวที่เป็นผู้ประกอบการSMEs แนวทางการปรับตัวของผู้ส่งออกข้าวไทย ซึ่งต้องแยกการปรับตัวตามประเภทของข้าว เนื่องจากข้าวแต่ละประเภทเผชิญการแข่งขันในตลาดที่แตกต่างกัน ดังนี้

• ผู้ส่งออกข้าวนึ่ง การส่งออกข้าวนึ่งของไทยครองตลาดโลก ในช่วงที่อินเดียงดส่งออก โดยมีคู่แข่งรายเล็กอย่างอุรุกวัยที่เข้ามาสร้างความผันผวนให้กับตลาดส่งออกในบางช่วง แต่ก็เป็นเพียงช่วงระยะสั้นๆเท่านั้น(เฉพาะในบางปีที่มีผลผลิตมากพอที่จะส่งออก) แต่การกลับเข้ามาส่งออกข้าวนึ่งของอินเดีย ทำให้ตลาดข้าวนึ่งมีการแข่งขันอย่างรุนแรง เนื่องจากราคาข้าวนึ่งของอินเดียอยู่ในระดับต่ำกว่าไทย ส่งผลให้ประเทศผู้รับซื้อข้าวนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จำกัดอยู่เฉพาะในแอฟริกา และตะวันออกกลางหันไปซื้อข้าวนึ่งจากอินเดีย ผู้ส่งออกข้าวนึ่งของไทยคงต้องรอจังหวะการส่งออกข้าวนึ่งหลังจากผู้ส่งออกอินเดีย ซึ่งในช่วงที่ชะลอการผลิตข้าวนึ่ง ก็อาจปรับมาผลิตข้าวขาวทั้งเพื่อส่งออกและป้อนตลาดในประเทศไปก่อน หรือการเจาะขยายตลาดข้าวนึ่งในยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งจัดว่าเป็นตลาดข้าวนึ่งตลาดบน หรือตลาดที่บริโภคข้าวนึ่งในฐานะที่เป็นข้าวเพื่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันตลาดยังมีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับตลาดในแอฟริกาและตะวันออกกลาง แต่ก็เป็นตลาดที่น่าสนใจ เนื่องจากมีแนวโน้มเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี

• ผู้ส่งออกข้าวขาว ผู้ส่งออกข้าวขาวของไทยนั้นต้องเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรงอยู่แล้วจากเวียดนาม โดยในระยะที่ผ่านมาเวียดนามแข่งขันในการส่งออกข้าวขาว15% และข้าวขาว25% ซึ่งเป็นตลาดข้าวระดับปานกลางถึงต่ำ โดยตลาดข้าวเหล่านี้อยู่ในแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตามในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เวียดนามเริ่มขยับขึ้นมาแข่งขันในการส่งออกข้าวขาว5% และข้าวขาว10% ซึ่งเป็นตลาดข้าวระดับบน โดยเวียดนามใช้ราคาข้าวที่อยู่ในระดับต่ำกว่าไทย เป็นหัวหอกในการเบียดแย่งตลาดข้าวจากไทย

การปรับตัวของผู้ส่งออกข้าวขาว กรณีผู้ส่งออกที่มีกิจการโรงสีด้วย ปัจจุบันผู้ส่งออกข้าวบางรายที่มีกิจการโรงสีด้วย เมื่อตลาดข้าวส่งออกหดตัว ก็เริ่มหันมาผลิตข้าวสารบรรจุถุงจำหน่ายในประเทศ ดังนั้น ในตลาดค้าปลีก ทั้งในร้านค้าปลีกสมัยใหม่และร้านค้าปลีกดั้งเดิมจะมียี่ห้อข้าวสารบรรจุถุงใหม่ๆมาวางจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับเป็นโอกาสดีของผู้บริโภคในประเทศที่มีทางเลือกในการซื้อมากขึ้น นอกจากตลาดค้าปลีกแล้วผู้ส่งออกข้าวหันมาเจาะตลาดค้าส่ง โดยเฉพาะโรงแรม โรงพยาบาล สถานศึกษา โรงงาน ฯลฯ ซึ่งตลาดค้าส่งนี้แข่งขันโดยการประมูล และไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายปลีก(ตรายี่ห้อ บรรจุภัณฑ์ แรงงาน การขนส่งฯลฯ)

นอกจากนี้ ผู้ส่งออกข้าวบางรายเริ่มหันไปผลิตข้าวที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยไทยยังมีความได้เปรียบในการส่งออกข้าวที่มีคุณสมบัติพิเศษหรือข้าวเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวอินทรีย์ ข้าวเสริมวิตามิน ข้าวผสมสมุนไพร เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าตลาดจะยังไม่กว้างมากนัก และยังต้องหันไปควบคุมในขั้นตอนการผลิต รวมทั้งยังต้องการการสื่อสารกับผู้บริโภคให้มั่นใจในผลิตภัณฑ์ แต่ตลาดข้าวประเภทนี้ก็ยังมีแนวโน้มเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี และคุณภาพข้าวของไทยได้รับการยอมรับ ซึ่งแนวทางการเจาะขยายตลาดต้องเน้นจับตลาดผู้มีรายได้สูง และผู้ที่สนใจในเรื่องสุขภาพ โดยผู้ส่งออกต้องเข้าไปศึกษาพฤติกรรมการบริโภคข้าวของผู้บริโภคแต่ละตลาดเพื่อเป็นแนวทางในการผลิตข้าวให้ตรงตามความต้องการ ของผู้บริโภค รวมทั้งการหาพันธมิตรหรือตัวแทนการจัดจำหน่ายเพื่อกระจายสินค้าให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายในแต่ละประเทศ

ผู้ส่งออกข้าวขาวบางรายเลือกที่จะขยายกิจการผลิตภัณฑ์ข้าว เพื่อที่จะป้อนตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวน่าจะเป็นทางเลือกในการหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรง รวมทั้งยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อีกด้วย โดยผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยที่น่าสนใจ คือ น้ำมันรำข้าว และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากข้าว ซึ่งถือว่าเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ รวมทั้งยังมีโอกาสในการขยายตลาดในประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ สินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว แป้งข้าว เส้นหมี่เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปังกรอบ ฯลฯ ก็เป็นผลิตภัณฑ์ข้าวที่น่าสนใจ แม้ว่าปัจจุบันตลาดส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศ แต่ก็มีโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการเจาะขยายตลาด เนื่องจากความต้องการในตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

• ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิ ในช่วงที่ผ่านมาข้าวหอมมะลิของไทยได้รับการยอมรับในต่างประเทศ และเป็นตลาดข้าวระดับบนที่ไทยครอบครองมาอย่างยาวนาน คู่แข่งในตลาดบนหรือตลาดระดับเดียวกับข้าวหอมมะลิไทย คือ ข้าวบาสมาติของอินเดีย แต่ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทั้งข้าวหอมมะลิและข้าวบัสมาติ รวมทั้งราคาข้าวบาสมาติของอินเดียก็อยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าข้าวหอมมะลิของไทย ทำให้ผู้บริโภคจะเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายกัน สำหรับคู่แข่งขันทางอ้อมของข้าวหอมมะลิของไทย คือ ข้าวหอมท้องถิ่น เนื่องจากราคาข้าวหอมมะลิอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้ประเทศผู้ผลิตข้าวเริ่มหันมาขยายการผลิตข้าวหอมท้องถิ่นเพื่อมาแข่งขันกับข้าวหอมมะลิ เช่น ข้าวหอมเวียดนาม ข้าวหอมของจีน ข้าวหอมของเม็กซิกัน เป็นต้น ในขณะที่สภาพเศรษฐกิจส่งผลให้ผู้บริโภคข้าวหอมมะลิบางรายเปลี่ยนไปบริโภคข้าวหอมท้องถิ่น ซึ่งมีราคาถูกกว่า ทำให้ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิเริ่มเผชิญกับปัญหาท้าทาย ในการถูกเบียดแย่งตลาด โดยตลาดที่เริ่มมีปัญหา ได้แก่ ตลาดในฮ่องกงและมาเลเซีย ข้าวหอมของเวียดนามเริ่มเข้ามาเบียดแย่งตลาด ในสหรัฐฯ มีข้าวหอมจากเม็กซิโกเข้ามาแข่งขัน ฯลฯ รวมทั้ง ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยยังเผชิญปัญหาการปลอมปนข้าวหอมมะลิในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีแนวโน้มว่าข้าวหอมมะลิของไทยยังมีโอกาสในการขยายตลาดได้อีกมาก เนื่องจากข้าวหอมมะลิของไทยเป็นที่นิยมบริโภคของชาวจีนเป็นอย่างมาก ประเด็นที่รัฐบาลและผู้ส่งออกต้องร่วมมือกันเพื่อรักษาตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิ โดยการศึกษาพฤติกรรมการบริโภค ข้าวหอมมะลิของแต่ละตลาด ทั้งนี้เพื่อผลิตข้าวหอมมะลิให้ตรงตามความต้องการของแต่ละตลาดหรือสำหรับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเฉพาะ รวมทั้งการสื่อสารกับผู้บริโภคให้ทราบถึงคุณลักษณะพิเศษของข้าวหอมมะลิ และขอความร่วมมือกับรัฐบาลของประเทศปลายทางเพื่อที่จะควบคุมคุณภาพของข้าวหอมมะลิในระดับค้าปลีก

• ผู้ส่งออกข้าวเหนียว ข้าวเหนียวนับเป็นข้าวที่ไม่เผชิญการแข่งขันที่รุนแรง โดยไทยครองตลาดส่งออกเกือบทั้งหมด และการส่งออกก็ได้ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกข้าวเหนียวจะค่อนข้างแคบ โดยตลาดที่บริโภคโดยตรงนั้นจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีแรงงานหรือคนเอเชียเข้าไปตั้งรกรากอยู่ อย่างไรก็ตาม ตลาดที่กว้างกว่าน่าจะเป็นตลาดแป้งข้าวเหนียว ซึ่งนำไปทำขนมและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยตลาดนี้เป็นตลาดที่ภาคเอกชนควรให้ความสนใจในการขยายตลาด อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องคำนึงถึงด้วยคือ ข้อจำกัดในการขยายปริมาณการผลิตข้าวเหนียว ซึ่งพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการปลูกเฉพาะในช่วงนาปี เท่านั้น

โดยสรุปแล้วไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากการที่จะถูกแย่งตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก จากประเทศคู่แข่งขันสำคัญ คือ เวียดนาม และอินเดีย ที่เข้ามาเบียดแย่งสัดส่วนการส่งออกข้าวในตลาดโลก โดยอาศัยความได้เปรียบในเรื่องราคา สิ่งที่ไทยต้องเร่งดำเนินการคือ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งในระยะสั้น คือ การกำหนดนโยบายแทรกแซงราคาที่เหมาะสม และการจัดตั้งไรซ์บอร์ด เพื่อกำหนดทิศทางการค้าข้าวได้ ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพการผลิต ราคาของการซื้อขาย การแทรกแซงตลาด ไปจนถึงนโยบายการส่งออก ส่วนในระยะยาว ไทยต้องลดต้นทุนการผลิตโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการปรับผลผลิตข้าวให้ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในด้านปริมาณ ประเภทและคุณภาพ อย่างไรก็ตาม คาดว่าขีดความสามารถในการส่งออกข้าวของไทยในระยะถัดไปมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต้องอาศัยระยะเวลา และการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทำให้บรรดาผู้ประกอบการSMEsในธุรกิจข้าว ทั้งโรงสี โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ข้าว และผู้ส่งออกข้าวต้องเร่งปรับตัวเพื่อประคองตัวให้อยู่รอด

————————————————————————————
1 กรมโรงงานอุตสาหกรรม
2 ข้อมูลจากผู้ประกอบการโรงสี
3 กรมโรงงานอุตสาหกรรม

Climate Change : การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกับการปรับตัวของธุรกิจเอสเอ็มอีไทย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ Climate Change คือภาวะที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งทำให้อุณหภูมิภายในโลกสูงขึ้น และสภาพฝนฟ้าอากาศภายในโลกแปรปรวน ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด ฤดูกาลผิดปกติ ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น เกิดภัยธรรมชาติบ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้น โดยในช่วงปี 2554 ที่ผ่านมา ปัญหาสภาพอากาศโลกเปลี่ยนแปลงเริ่มทวีความรุนแรงและเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากประเทศไทยได้เผชิญกับสภาพความกดอากาศต่ำ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและดินถล่มทางภาคใต้ อีกทั้งยังต้องเผชิญกับพายุโซนร้อนพัดผ่านหลายลูกติดต่อกันในบริเวณ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้เกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ต่อเนื่องมายังพื้นที่ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อภาวะความเป็นอยู่ของประชาชน ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ……ผลกระทบต่อภาคธุรกิจ

จากความรุนแรงของภัยพิบัติที่เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวนในช่วงที่ผ่านมา กระทบต่อการดำเนินงานของภาคธุรกิจ ทั้งในส่วนของการสร้างความเสียหายต่อพื้นที่ผลิต โรงงาน แหล่งวัตถุดิบ คลังเก็บสินค้า เส้นทางการขนส่งสินค้า ตลอดจนพื้นที่ขาย จนทำให้ธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย หรือมีเครือข่ายการผลิต/วัตถุดิบอยู่ ใกล้กับพื้นที่เสียหาย ต้องชะลอ/ลดปริมาณการผลิต และกิจการยอดขายลดลง นอกจากนี้ ปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดลดลงนั้น อาจส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลต่อเนื่อง ไปยังกลุ่มผู้บริโภค ที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น และมีกำลังซื้อสินค้าที่ลดลง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นนับว่าบทเรียนสำคัญสำหรับภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการควรที่จะตระหนักถึงผลกระทบและความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งหาแนวทางเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคธุรกิจของตนเอง โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีโอกาสได้รับความเสี่ยงจากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนสูง เช่น ธุรกิจเกษตรและสินค้า เกษตรแปรรูป ธุรกิจท่องเที่ยว ทั้งนี้ ผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวนที่อาจจะเกิดขึ้นต่อภาคธุรกิจ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้

◊ ผลกระทบทางตรง ที่เกิดจากปัญหาสภาพอากาศโลกแปรปรวน จะส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเผชิญความเสี่ยงในการดำเนินกิจการเพิ่มมากขึ้น ทั้งความเสี่ยงทางด้านการจัดหาวัตถุดิบ ปริมาณการผลิต การจำหน่ายหรือการเข้าถึงสินค้าและบริการของกลุ่มลูกค้า โดยธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบ นอกจากจะเป็นธุรกิจที่ประกอบการอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย ยังมีธุรกิจที่อาจจะได้รับความเสี่ยงจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ได้แก่

• ธุรกิจเกษตรและเกษตรแปรรูป เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรมีความอ่อนไหวอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยภาวะอากาศแปรปรวนและการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ จะมีผลให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรลดลง ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร นอกจากนี้ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่ภาวะผลผลิตทางการเกษตรขาดแคลน และราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังธุรกิจสินค้าเกษตรแปรรูป/อาหารแปรรูป ทำให้มีปริมาณวัตถุดิบไม่เพียงพอ สำหรับผลิตตามคำสั่งซื้อ หรือผู้ประกอบการอาจจะต้องแบกรับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น

• ธุรกิจท่องเที่ยว สภาพอากาศแปรปรวนนับว่าเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของไทยส่วนใหญ่เป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เช่น ชายทะเล ภูเขา น้ำตก รวมทั้งการชมวัดและโบราณสถานต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวกลางแจ้ง ดังนั้นสภาพอากาศที่แปรปรวน จะเป็นอุปสรรคอย่างมากสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย อีกทั้งอาจส่งผลต่อความสะดวกและความเชื่อมั่น ในความปลอดภัยระหว่างการเดินทาง โดยประเด็นดังกล่าวอาจส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติลดลง ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โรงแรมและที่พัก บริษัทนำเที่ยว เป็นต้น

นอกจากนี้ ในระยะยาว สภาพอากาศแปรปรวน และปัญหาจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและระบบนิเวศบริเวณชายฝั่ง ซึ่งจะทำให้ปริมาณและคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลลดลง

◊ ผลกระทบทางอ้อม เกิดขึ้นจากการที่ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะสภาพอากาศโลกแปรปรวน โดยความพยายามผลักดันเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่

• กระแสรักษ์โลก นับว่าเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภค อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะ มีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จากการรณรงค์และปลูกฝั่งจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม จนทำให้การคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ สินค้าของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยช่วงที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ได้มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าที่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากเขียว ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 (ประเทศไทย) EU Energy Labeling, EUdesign, EU Flower (สหภาพยุโรป) เป็นต้น แม้ว่ามาตรฐานดังกล่าวจะเป็นเพียงมาตรฐานโดยสมัครใจ ไม่ได้เป็นกฎระเบียบข้อบังคับสำหรับภาคธุรกิจ แต่ถ้าหากผู้ประกอบการไม่ปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้า หรือ กระบวนการผลิตที่คำนึงถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับมาตรฐานสินค้าทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ อาจทำให้กิจการ/สินค้าเหล่านั้นไม่สามารถที่จะดึงดูดกลุ่มลูกค้า เมื่อเทียบกับธุรกิจที่มีการปรับตัวตามกระแสรักษ์โลกของกลุ่มผู้บริโภค

• กฎระเบียบและมาตรการทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้าต่างๆ โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป (EU) เพื่อผลักดันให้การผลิตและการบริโภคในประเทศเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ แนวโน้มของการใช้มาตรการทางการค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างเข้มงวดมากขึ้น และเริ่มเป็นประเด็นที่ประเทศต่างๆ ในโลกให้ความสำคัญ

ตัวอย่างมาตรการทางการค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ในสหภาพยุโรป

ประเทศ มาตรการและกฎระเบียบ รายละเอียด
สหภาพยุโรป ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษซากเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE) กำหนดให้ผู้ผลิตเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับซาก ผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งาน ดำเนินการให้มีการคืนสภาพ หรือนำกลับไปใช้ใหม่
ระเบียบบรรจุภัณฑ์และขยะบรรจุภัณฑ์ (PPWD) กำหนดข้อบังคับในการออกแบบ และคัดเลือกวัสดุเพื่อลดการใช้วัสดุ สารเคมี สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ลดการใช้โลหะหนักในการผลิต รวมทั้ง กำหนดให้ผู้ผลิตรับผิด ชอบในการกำจัดซากขยะบรรจุภัณฑ์
ระบบควบคุมการค้าสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ETS) ควบคุมการปล่อยก๊าซของโรงงานในอุตสาหกรรมหนักที่ใช้พลังงานมาก เช่นโรงงานผลิตไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน โรงถลุงเหล็ก โรงงานผลิตซีเมนต์ แก้ว อิฐ เซรามิก กระดาษ (โดยการกำหนดเพดานในการปล่อยก๊าซ และมีระบบให้เอกชนสามารถการซื้อขายส่วนต่างก๊าซที่โรงงานปล่อยออกมา) ล่าสุดเมื่อ ม.ค.2555 มีการประกาศเพิ่มให้อุตสาหกรรมการบิน ซึ่ง รวมถึง เครื่องบินที่เข้าออกกลุ่มประเทศ EU จะต้องเข้าสู่ระบบ EST
มาตรการคาร์บอนฟุตพรินท์ และฉลากลดคาร์บอน ระเบียบว่าด้วยการแสดงข้อมูลปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตลอดทั้งวัฎจักรชีวิตของสินค้า แม้ว่าปัจจุบัน มาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการโดยสมัครใจ แต่มีบางประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศสที่ได้เริ่มมีการระบุให้ผู้ผลิตเปิดเผยข้อมูลคาร์บอนฟุตพรินท์ของสินค้าไว้ในกฏระเบียบและแผน ยุทธศาสตร์ของประเทศ

ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รวบรวมจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และสวทช.

แม้ว่าการกำหนดมาตรการและกฎระเบียบทางการค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม จะเป็นหนึ่งในช่องทางสำคัญที่สามารถช่วยลดและบรรเทาปัญหาทางด้านสิ่ง แวดล้อมได้ แต่ในขณะเดียวกัน มาตรการและกฎระเบียบที่เข้มงวดย่อมส่งผลกระทบผู้ส่งออกสินค้า โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งกฎระเบียบต่างๆ ทำให้ผู้ส่งออกจำเป็นต้องปรับระบบการผลิต และออกแบบสินค้าให้สอดคล้องกับกฎระเบียบต่างๆ หรืออาจจะต้องเพิ่มกระบวนการ/ขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ เช่น ต้องรับผิดชอบในการกำจัดซากสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพิ่มการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกขั้นตอนการผลิต รวมทั้งอาจต้องแบกรับต้นทุนการขนส่งทางอากาศที่เพิ่มขึ้น จากการที่เครื่องบินถูกจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น โดยในการปรับตัวของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการเพิ่มขั้นตอนในการดำเนินงานต่างๆ ล้วนเป็นภาระทางด้านต้นทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องแบกรับเพิ่มมากขึ้น

แนวทางในการปรับตัวสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี……เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สำหรับแนวทางในการปรับตัวของผู้ประกอบการ เพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ควรมีดังต่อไปนี้

◊ ภาพรวมของธุรกิจทั่วไป

• แนวโน้มความรุนแรงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดขึ้น อาจส่งผลต่อการดำเนินกิจการ รวมไปถึงความสามารถในการประกอบกิจการและการแข่งขันในอนาคต ดังนั้น ในการดำเนินธุรกิจและวางแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการในธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีเงินลงทุนและทรัพยากรที่ค่อนข้างจำกัด ทั้งนี้ ในการพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ นั้น ควรจะพิจารณาให้ครอบคลุมทางด้านการผลิต แหล่ง/การจัดหาวัตถุดิบ การจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้า รวมทั้งหาแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงหรือบรรเทาปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อช่วยทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและดำเนินกิจการต่อไปได้ในระยะยาว

• จากกระแสรักษ์โลก และการเลือกใช้สินค้าที่ผลิตโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม นับว่าเป็นหนึ่งในโอกาสของผู้ประกอบการในการที่จะเพิ่มยอดขาย โดยการปรับการผลิต หรือการออกแบบสินค้าเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การออกแบบโดยใช้วัสดุรีไซเคิล การออกแบบเพื่อลดการใช้วัตถุดิบ การปรับปรุงระบบการผลิต ที่ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจจะปรับการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีในประเทศ เช่น โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว (ระดับโรงงานผลิต) ฉลากสินค้าสีเขียว (ระดับสินค้า) รวมทั้ง ควรเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้า/บริษัท และสร้างความรับรู้ให้กลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการใช้สินค้าที่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

◊ ธุรกิจเกษตรและเกษตรแปรรูป อาจได้รับความเสี่ยงจากปริมาณผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย จนเกิดปัญหาขาดแคลนและมีราคาสูง โดยแนวทางในการปรับตัวหลักๆ มี 2 แนวทาง ดังนี้

• การผลิตสินค้าเกษตร สำหรับพืช ควรที่จะนำเทคโนโลยีทางการเกษตรเข้ามาใช้ในการผลิต เช่น การปรับปรุงพันธ์หรือคัดเลือกพันธ์ให้มีความทนน้ำ ทนต่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทนต่อโรคพืชที่มักเกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ตลอดจนการปรับปรุงผลิตภาพในการผลิตสำหรับปศุสัตว์ ควรเลือกทำเลในการเพาะเลี้ยง ไม่ควรตั้งโรงเลี้ยงสัตว์บริเวณทางน้ำผ่าน หรือที่ลุ่มต่ำ ปรับปรุงโรงเลี้ยงสัตว์ให้เป็นระบบปิด สะอาดและถูกสุขลักษณะมากยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาโรคระบาดในภาวะที่สภาพอากาศแปรปรวน

• การบริหารจัดการวัตถุดิบ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการในการเลือกซื้อวัตถุดิบ ซึ่งนอกจากจะเน้นทางด้านคุณภาพของวัตถุดิบและราคาแล้ว ควรที่จะเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่มีการบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะอากาศแปรปรวน หรือเป็นแหล่งผลิตอยู่ในพื้นที่ที่เผชิญกับความเสี่ยงต่ำ นอกจากนี้ สำหรับการสต็อกวัตถุดิบ ควรเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบปริมาณสินค้าในสต็อก รวมทั้ง ระยะเวลาในการสต็อกวัตถุดิบควรที่จะกำหนดให้มีความยืดหยุ่นตามฤดูกาล กล่าวคือ ในช่วงเดือนที่สภาพอากาศมีความแปรปรวนสูง ผู้ประกอบการควรจะเพิ่มปริมาณการสต็อกวัตถุดิบให้เพียงพอต่อการผลิตในช่วงเวลาที่ยาวขึ้น

◊ ธุรกิจท่องเที่ยว จากสภาพอากาศแปรปรวนจะกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากกิจกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง (Outdoor) เช่น การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆ การปรับตัวสำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรเร่งผลักดันเพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่กิจกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งเร่งพัฒนาและยกระดับการให้บริการสำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวในร่ม (Indoor) เช่น การบริการสปาและนวดแผนไทย สถานบันเทิง (โรงภาพยนตร์ และโรงละครจัดการแสดงมหรสพต่างๆ) แหล่งช๊อปปิ้ง และเอ้าต์เลทในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่นักท่องเที่ยวมากขึ้น

นอกจากนี้ จากสภาพอากาศแปรปรวนและภาวะโลกร้อน ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และปัญหาการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งทะเลทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของไทยได้รับความเสียหาย โดยแนวทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการสามารถช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้ คือการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้มีโครงการเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ และฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการปลูกป่าชายเลน โครงการปลูกปะการังเทียม ทั้งนี้ เพื่อรักษาแหล่งท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งให้ยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

◊ ธุรกิจส่งออก/ผู้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก จากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนซึ่งเป็นสาเหตุมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้ประเทศต่างๆ มีการออกกฎระเบียบและมาตรการทางการค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ดังนั้น การที่ผู้ส่งออกไทยจะสามารถรักษาตลาดส่งออกดังกล่าวไว้ได้นั้น จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องปรับเปลี่ยนการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าที่สอดคล้องตามกฎระเบียบทางการค้าต่างๆ ที่จะต้องเผชิญ

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นผู้ประกอบการควรจะทำความเข้าใจกฎระเบียบและมาตรการต่างๆ และควรจัดหาบุคลากรที่รับผิดชอบในการศึกษารายละเอียดของกฎระเบียบและมาตรการต่างๆ รวมทั้งคอยติดตามความเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบดังกล่าว เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนการผลิต/การดำเนินธุรกิจได้ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการส่งออก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถรวบรวมรายละเอียดของกฎระเบียบและมาตรการทางการค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้จากหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กรมส่งเสริมการส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ สถาบันสิ่งแวดล้อม และสมาคมการค้าต่างๆ

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรหาแนวทางในการลดต้นทุน ที่จะเพิ่มขึ้นจากการปรับเพิ่มขึ้นตอนการผลิต และการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับ มาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น

• มาตรการ WEEE และ PPWD ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบในการกำจัดซากสินค้า และบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรหาแนวทางเพื่อลดต้นทุนในการกำจัดซากดังกล่าว โดยอาจจะเลือกใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย และมีต้นทุนในการย่อยสลายที่ไม่สูงมาก หรืออาจพัฒนาการออกแบบสินค้าและ บรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อลดปริมาณซาก/ขยะที่ต้องกำจัด ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้

• มาตรการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และมาตรการฉลากลดคาร์บอน ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบและวัดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ทุกขั้นตอนการผลิต ทั้งนี้ในการดำเนินการดังกล่าว มีเอกสารที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ที่จะต้องจัดเก็บเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ภายหลัง ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับ ระบบการจัดเก็บเอกสารต่างๆ ให้สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบเรื่องเอกสารต่างๆ ลงได้

โดยสรุป ปัญหาสภาพอากาศโลกที่แปรปรวนมากขึ้นในปัจจุบัน กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งอาจกระทบต่อ ความสามารถในการดำเนินกิจการ รายได้ของผู้ประกอบการ ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันในตลาด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการควรจะเร่งหาแนวทางเพื่อลดผลกระทบและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบหลัก เช่น1) ธุรกิจเกษตรและเกษตรแปรรูป ผู้ประกอบการควรเน้นการสร้างความมั่นคงในการจัดหาวัตถุดิบ โดยอาจนำเทคโนโลยีทางการเกษตร มาใช้เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต และเลือกซื้อวัตถุดิบจากแหล่งผลิตที่มีการบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากสภาพอากาศแปรปรวน รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับเรื่องของการบริหารจัดการสต็อกวัตถุดิบมากขึ้น 2) ธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งพัฒนามาตรฐานการบริการ และขยายการให้บริการกิจกรรมท่องเที่ยวในร่ม (Indoor) ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งควรเร่งอนุรักษ์พื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวไทย

สำหรับผลกระทบทางอ้อมที่จะเกิดต่อภาคธุรกิจ คือ การกำหนดกฎระเบียบและมาตรการทางการค้าในต่างประเทศ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและ ภาวะอากาศแปรปรวน แม้ว่า ในทางปฎิบัติมาตรการดังกล่าวจะเป็นการช่วยให้การลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่จะส่งผลให้ผู้ผลิต/ส่งออกสินค้าจำเป็นต้องปรับการผลิตเพื่อ ให้สินค้าสอดคล้องกับมาตรการต่างๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจในกฎระเบียบมาตรการที่ธุรกิจตนเองต้องเผชิญ และติดตามการเปลี่ยนแปลงของมาตรการต่างๆ รวมทั้งหาแนวทางในการลดค่าใช้จ่ายในการปรับตัว/ปรับมาตรฐานการผลิต เพื่อลดภาระต้นทุนในการดำเนินงานที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจสร้างโอกาสโดยการปรับปรุงการผลิตสินค้า/บริการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับกับกระแสรักษ์โลกที่มีความนิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค

————————————————-

แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.tei.or.th
http:// thaieurope.net
http:// http://www.depthai.go.th

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กับ ธุรกิจบริการ : “รู้จัก-พร้อมรุก-ตั้งรับ”

ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่มีกำหนดจะรวมตัวเป็นประชาคมอันหนึ่งอัน เดียวกันในปี 2558 ซึ่งจะเอื้อให้เศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ1 มีความเป็นปึกแผ่นมากขึ้น มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคมและประชากรภายในอาเซียนมากขึ้น โดยผ่านกลไกการเปิดเสรี 5 ด้าน ได้แก่ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การเปิดเสรีการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรียิ่งขึ้น และการเปิดเสรีการค้าบริการ นั่นหมายความว่า ผู้ประกอบการ SMEs ของไทยในสาขาธุรกิจบริการควรจะรู้จัก ความสำคัญของการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินศักยภาพธุรกิจและวางกลยุทธ์การดำเนิน ธุรกิจรองรับสภาวะตลาดที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่การตั้งรับการแข่งขันที่จะทวีความเข้มข้นมากขึ้นเพื่อรักษาส่วน แบ่งในตลาด รวมทั้งในแง่การมองหาลู่ทางขยายธุรกิจรุกตลาดอาเซียนที่มีแนวโน้มเปิดกว้าง รับธุรกิจบริการของชาวอาเซียนมากขึ้น

• รู้จัก : ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับการเปิดเสรีบริการอาเซียน

ความตกลงว่าด้วยการบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS) มีประเด็นสำคัญคือ การยกเลิกข้อจำกัดในการค้า บริการระหว่างกันในภูมิภาคอาเซียนให้มากกว่าที่ประเทศสมาชิกได้ผูกพันไว้ใน ความตกลงการค้าบริการภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (GATS)2 ทั้งการเปิดเสรีในเชิงลึกมาก ขึ้นซึ่งก็คือการขยายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนชาติอาเซียนอื่นใน แต่ละประเทศอาเซียน ซึ่งกำหนดเป้าหมายการเปิดเสรีไว้ที่สูงสุดร้อยละ 70 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยมีสาขาบริการเร่งรัดการ เปิดเสรีในปี 2553 จำนวน 4 สาขาได้แก่ สาขาโทรคมนาคมและสาขาคอมพิวเตอร์ (e-ASEAN) สาขาบริการสุขภาพ สาขาท่องเที่ยว และสาขาบริการขนส่งทางอากาศ จากนั้นจะมีการเปิดเสรี สาขาบริการโลจิสติกส์ในปี 2556 และทยอยเปิดเสรีสาขาบริการอื่นๆ ภายในปี 2558 นอกจากนี้ กรอบการเปิดเสรีบริการอาเซียนยังตั้งเป้าขยายการเปิดเสรีในเชิงกว้างซึ่งจะทยอยเปิดเสรีบริการสาขาย่อยในแต่ละสาขาบริการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

สำหรับความคืบหน้าในการเปิดเสรีภาคบริการตามเป้าหมายที่สมาชิกอาเซียน ได้ตกลงกันไว้นั้น พบว่า หลายประเทศอาเซียนค่อนข้างเปิดเสรีธุรกิจบริการในประเทศรับการลงทุนจากต่าง ประเทศ โดยเฉพาะ CLM ซึ่งเปิดเสรีการลงทุนธุรกิจบริการให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้เป็นสัดส่วน สูงสุด 100% ขณะที่สิงคโปร์ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ค่อนข้างเปิดกว้างรับการลงทุนจากต่าง ชาติโดยธุรกิจส่วนใหญ่ พบว่า นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้เป็นสัดส่วนสูงสุดถึง 100% ยกเว้นบางสาขาธุรกิจ อาทิ สาขาธุรกิจ Media เป็นต้น สำหรับประเทศอื่นๆ ยังไม่มีความคืบหน้าในการผ่อนคลายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่าง ชาติชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ล่าสุดธนาคารโลกได้ทำการศึกษาระดับการเปิดเสรีการถือหุ้นของนักลงทุนต่าง ชาติใน สาขาธุรกิจสำคัญของ 87 ประเทศทั่วโลกในรายงาน Investing Across Borders 2010 พบว่า ประเทศอาเซียนมีระดับการเปิดเสรีการลงทุนของต่างชาติในระดับที่แตกต่างกัน โดยจากสาขาธุรกิจบริการ 5 สาขาสำคัญ อาทิ โทรคมนาคม การขนส่ง มีเดีย การก่อสร้าง/ท่องเที่ยว/ค้าปลีก และบริการสุขภาพ/การกำจัดขยะ พบว่า กัมพูชามีระดับการเปิดให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นในธุรกิจบริการเป็นสัดส่วน สูงสุด รองลงมาคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย ตามลำดับ

ที่มา: Investing Across Borders Database

• รุกตลาดอาเซียน : มองโอกาสจากข้อได้เปรียบในฐานะนักลงทุนอาเซียน

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าหลายประเทศค่อนข้างเปิดเสรีรับการลงทุนจากต่าง ชาติ ประกอบกับมีการเปิดเสรีบริการภายใต้กรอบอาเซียน จึงนับเป็น โอกาสสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่จะก้าวออกไปขยายตลาดในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะประเทศ CLMV ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย และค่อนข้างเชื่อมั่นคุณภาพสินค้าและบริการของไทย ประกอบกับประเทศ CLMV ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาประเทศหลายด้าน ขณะที่ตลาดผู้บริโภคในประเทศดังกล่าวมีแนวโน้มความต้องการสินค้าและบริการใน ระดับที่มีคุณภาพ มากขึ้น จึงเป็นโอกาสการเข้าไปลงทุนของธุรกิจบริการไทยโดยอาศัยประสบการณ์และศักยภาพ ในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นก่อนออกไปรุกตลาดต่างประเทศ ผู้ประกอบการ SMEs ควรทราบถึงธุรกิจบริการที่น่าสนใจเข้าไปลงทุนในแต่ละประเทศเพื่อประกอบการ พิจารณาตลาดเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับวางแผนขยายธุรกิจต่อไป

• สาขาบริการที่น่าสนใจในแต่ละประเทศอาเซียน

ภาคบริการจัดว่าเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญในประเทศอาเซียนมากพอสมควร โดยเป็นภาคเศรษฐกิจที่สามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ได้ราวครึ่งหนึ่งของมูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั้งหมดของอาเซียน ซึ่งสะท้อนความต้องการการลงทุนเพื่อพัฒนาภาคบริการรองรับความต้องการในตลาด และการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังพบว่าภาคบริการมีขนาดเศรษฐกิจต่างกันไปในแต่ละประเทศอาเซียน โดยภาคบริการในสิงคโปร์มีขนาดเศรษฐกิจสูงสุดด้วยสัดส่วนร้อยละ 71.7 ของ GDP ขณะที่บทบาทของภาคบริการในไทยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 42.9 ของ GDP ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนสูงเป็นอันดับ 4 ของอาเซียน ทั้งนี้ สาขาธุรกิจสำคัญที่มีบทบาทในเกือบทุกตลาดอาเซียน อาทิ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจขนส่งและคลังสินค้า เป็นต้น ซึ่งบางสาขาธุรกิจมีความจำเป็นต่อการพัฒนาและยกระดับความพร้อมด้านโครงสร้าง พื้นฐานของประเทศ อาทิ ธุรกิจก่อ สร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ความต้องการบริโภคของชาวอาเซียนที่เริ่มมีกำลังซื้อสูงขึ้นตามการ เติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจบริการประเภทธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจขนส่งและคลังสินค้า รวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวมีศักยภาพในการเติบโตสูงตามไปด้วย

อนึ่ง การที่ประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน นับเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่มีศักยภาพขยายธุรกิจออกไปต่างแดนมากขึ้น โดยอาศัยสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการมีสัญชาติอาเซียนเข้าไปดำเนิน ธุรกิจในชาติอาเซียนอื่นๆ ทั้งโอกาสจากการขยายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของธุรกิจอาเซียนในประเทศอาเซียน ด้วยกัน ซึ่งจะเอื้อให้ธุรกิจ SMEs ไทยมีทางเลือกออกสู่ตลาดอาเซียนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจ SMEs ไทยที่ออกไปลงทุนในตลาดอาเซียนยังมีโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์การลดภาษีนำ เข้าสินค้า/วัตถุดิบที่ใช้ในธุรกิจภายใต้กรอบการลดภาษีสินค้าอาเซียนอีกด้วย ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การรุกเปิดตลาดอาเซียนของ SMEs ไทยเป็นทางเลือกขยายธุรกิจที่ SMEs ไทย ไม่ควรมองข้าม ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองโอกาสการลงทุนธุรกิจบริการในตลาดอาเซียนที่สำคัญ อาทิ:-

ธุรกิจท่องเที่ยว หลายประเทศอาเซียนนับว่ามีศักยภาพในฐานะแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญ ของอาเซียน โดยมาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ เวียดนาม เป็นประเทศที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้สูงสุด 5 อันดับแรกของอาเซียน คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 89 ของจำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมของอาเซียน นอกจากนี้ ประเทศ CLMV ยัง นับเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวด้วย เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวมีการเติบโตต่อเนื่องและเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และท่องเที่ยวธรรมชาติ ขณะที่ผู้ให้บริการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องยังมีค่อนข้างจำกัด จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยในการขยายการลงทุนไปยังประเทศดังกล่าวเพื่อรองรับการเติบโตของ ธุรกิจท่องเที่ยวในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนปี 2558 ซึ่งน่าจะดึงดูดความสนใจให้นักท่องเที่ยวในอาเซียนและนักท่องเที่ยวจาก ภูมิภาคอื่นเดินทางเข้ามาเที่ยวมากขึ้น จากความสะดวกในการเดินทางและกฎระเบียบต่างๆที่เอื้อให้การท่องเที่ยวใน ภูมิภาคอาเซียนสะดวกและง่ายขึ้น ทั้งการเปิดเสรีน่านฟ้า และแผนการใช้วีซ่าร่วมกัน (Common Visa) สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปในแต่ละประเทศอาเซียน ซึ่งจะเป็นรูปธรรมมากขึ้นในปี 2558 ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนอาจเป็นได้ทั้งการขยายการลงทุนธุรกิจในประเทศ CLMV ที่เปิดเสรีให้ลงทุนได้สูงสุด 100% รวมทั้งยังอาจขยายธุรกิจในแง่ขยายเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ประกอบ การท้องถิ่นในประเทศเป้าหมาย เพื่อสร้างเครือข่ายลูกค้า/นักท่องเที่ยวที่เดินทางต่อไปยังประเทศอาเซียน อื่น อันอาจเพิ่มช่องทางรายได้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทยได้ทางหนึ่ง ด้วย

• ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจโลจิสติกส์เป็นสาขาธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของ แต่ละประเทศอาเซียน โดยเป็นธุรกิจที่มีส่วนสนับสนุนและเกี่ยวพันกับกิจกรรมเศรษฐกิจอื่นๆ และยังเป็น Key Factor ที่เกี่ยวโยงถึงผลิตภาพและประสิทธิภาพของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งยังเป็นปัจจัยพื้นฐานในการสร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศโดยรวมอีกด้วย โดยประเทศเป้าหมายการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยน่าจะเป็นกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะสาขาธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ทางถนน เนื่องจากประเทศ CLMV เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ไทยมีการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบระหว่างประเทศทาง เส้นทางถนนเป็นหลัก ผ่านการค้าชายแดนและผ่านแดนอยู่แล้ว นอกจากนี้ ประเทศ CLMV ยังเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ยังมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจ และกำลังต้องการการลงทุนในการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อเตรียมพร้อม รองรับการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนในอนาคต อีกทั้งประเทศเหล่านี้ยังเปิดกว้างรับการลงทุนจากนักลงทุนอาเซียนโดยสามารถ ถือหุ้นได้ในสูงสุด 100%

• ธุรกิจค้าปลีก การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 นับเป็นการเปิดตลาดอาเซียนขนาดใหญ่จำนวนราว 600 ล้านคน ให้เชื่อมโยงเข้าถึงกันมากขึ้น ผ่านการขยายการค้าและการลงทุนระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางในแต่ละประเทศอาเซียนก็มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น เกื้อหนุนให้เกิดการขยายตัวทางการค้าเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคใน แต่ละประเทศตามไปด้วย ซึ่งธุรกิจค้าปลีกก็เป็นหนึ่งช่องทางการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคที่สำคัญ โดยมีรูปแบบค้าปลีกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศอาเซียน สำหรับโอกาสขยายธุรกิจค้าปลีกของผู้ประกอบการ SMEs ไทยในอาเซียน อาจพิจารณาการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งค่อนข้างมีรสนิยมการบริโภคคล้ายคลึงกับไทยและยังรับรู้พฤติกรรมการ บริโภคผ่านสื่อไทยอีกด้วย ทั้งยังค่อนข้างเชื่อถือสินค้าไทย โดยอาจลงทุนในรูปแบบการเป็นตัวแทนจำหน่าย รวมถึงร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เพื่อตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสนใจซื้อสินค้าในช่องทางดังกล่าวมาก ขึ้น นอกจากนี้ ตลาดอินโดนีเซียและเวียดนามก็เป็นตลาดอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าจะเป็นโอกาสขยาย ธุรกิจค้าปลีกของ SMEs ไทย โดยอาจลงทุนได้ทั้งในรูปแบบการค้าสมัยใหม่และค้าปลีกแบบดั้งเดิม เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังนิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางดังกล่าว ที่เข้าถึงได้ค่อนข้างง่าย ขณะเดียวกันก็เริ่มมีกระแสนิยมร้านค้าสมัยใหม่เพิ่มขึ้น

• ธุรกิจก่อสร้าง AEC จะเปิดโอกาสแก่ธุรกิจก่อสร้างอย่างมากโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ที่กำลังพัฒนาประเทศ และอินโดนีเซียที่ภาครัฐบาลมีความมุ่งมั่นอย่างมากในการขจัดอุปสรรคด้านการ ลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศและยกระดับเศรษฐกิจประเทศในระยะ ข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจในกลุ่มวัสดุก่อสร้างและบริการเช่นรับเหมา ก่อสร้างของไทยที่น่าจะได้ประโยชน์จากการขยายธุรกิจรองรับกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มคึกคักในอนาคต แต่กระนั้นก็ดี ผู้ประกอบการ SMEs ไทยอาจเผชิญอุปสรรคด้านเงินลงทุน แต่อาจอาศัยความสัมพันธ์ในการรับงานก่อสร้างต่อจากผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือการรับงานจากบริษัทไทยในประเทศดังกล่าวได้

สำหรับการเริ่มต้นรุกตลาดอาเซียน ผู้ประกอบการ SMEs ไทยควรเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ อาทิ:-
  Key Success Factors:

กรณีที่ผู้ประกอบการ SMEs มีสายสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือเครือข่ายพันธมิตรในต่างประเทศอยู่แล้ว อาจสามารถขยายการลงทุนในต่างประเทศผ่านเครือข่ายทางธุรกิจในประเทศนั้นๆ ซึ่งน่าจะเอื้อให้เกิดความสะดวก และราบรื่นมากขึ้น

กรณีที่ผู้ประกอบการ SMEs ไม่มีสายสัมพันธ์หรือ Partner ในต่างประเทศ ควรเสาะหาโอกาสในการขยายธุรกิจโดยอาศัยช่องทางความสัมพันธ์กับผู้ประกอบการ รายใหญ่ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจตน ซึ่งค่อนข้างมีศักยภาพในการทำธุรกิจในต่างประเทศ อันจะเกื้อหนุนให้ธุรกิจ SMEs มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการก้าวออกไปลงทุนในต่างประเทศโดยไม่มีพื้น ฐานความสัมพันธ์หรือความพร้อมรองรับ ซึ่งล่าสุดผู้ประกอบการรายใหญ่ในหลายสาขาธุรกิจมีแผนที่จะขยายการลงทุนออกไป ต่างประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียน ชัดเจนมากขึ้น

• ประเมินความพร้อมของธุรกิจในการออกไปลงทุนต่างประเทศ: ผู้ประกอบการ SMEs ควรทราบถึงจุดแข็ง-จุดอ่อน ความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางธุรกิจ ศักยภาพในการแข่งขัน ต้นทุนงบประมาณ และความพร้อมด้านต่างๆในการดำเนินธุรกิจ ในเบื้องต้นธุรกิจควรประเมินศักยภาพของธุรกิจว่ามีเงินทุนงบประมาณเพียงพอใน การดำเนินกิจการในต่างประเทศหรือไม่ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทั้งค่าใช้จ่ายดำเนินการจัดตั้ง ค่าใช้จ่ายการดำเนินธุรกิจ ค่าเช่า/ค่าจ้างแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานฝีมือในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย

• วิเคราะห์ตลาดที่ต้องการลงทุนให้ลึกซึ้ง เพื่อเลือกพื้นที่ลงทุนที่เหมาะสมและเอื้อให้ธุรกิจเข้าถึงตลาดได้ถูกจุดและ เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ไทยอาจต้องเริ่มทำความรู้จักแต่ละประเทศอาเซียนว่ามีความเหมาะสมและเป็น โอกาสทางธุรกิจหรือไม่ โดยอาจจำเป็นต้องเจาะพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงตลาดเป้าหมายมากที่สุด ซึ่งแต่ละพื้นที่ในแต่ละประเทศก็อาจมีความแตกต่างหลากหลายทั้งรายได้ รสนิยม และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น ในเมืองย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ เป็นศูนย์กลางการลงทุนของธุรกิจหลายสาขา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของพม่า ก็เป็นโอกาสสำหรับบริการท่องเที่ยวรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติและชาว พม่าที่มีรายได้ระดับบน ขณะที่นครเนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่าที่กำลังเตรียมความพร้อมเป็นสถานที่จัดงานซีเกมส์ปี 2556 ซึ่งพม่าเป็นเจ้าภาพ ก็นับเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจในการรองรับธุรกิจบริการท่องเที่ยว ธุรกิจโลจิสติกส์ และบริการอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

• รู้จักคู่แข่งในตลาด: การก้าวออกไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ยังไม่คุ้นเคยนัก ก็ควรทำการศึกษาและรู้จักภาพรวมตลาดและ คู่แข่งอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจทราบถึงสิ่งที่เป็นจุดแข็ง-จุดอ่อนของคู่แข่ง เพื่อนำมาประกอบการวางกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจ โดยเฉพาะศักยภาพของผู้ประกอบการท้องถิ่นใน ประเทศนั้นๆ รวมไปถึงผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้าไปดำเนินธุรกิจนั้นๆ มาก่อนที่ย่อมจะมีความคุ้นเคยและเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคได้มากกว่า

• ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดเป้าหมายและพัฒนาบริการให้สอดรับกับความต้องการผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคในแต่ละประเทศมีลักษณะรสนิยมที่แตกต่างกัน ขณะเดียวกันผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ของประเทศนั้นๆ ก็ยังมีความหลากหลายในพฤติกรรมและธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบริการ SMEs ไทยควรเข้าใจถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดเป้าหมายให้ลึกซึ้ง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงบริการให้เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า อาทิ เช่น ชาวเวียดนามทางตอนใต้อาจพิจารณาซื้อสินค้าจากปัจจัยด้านมูลค่าเป็นสำคัญ ขณะที่ทางตอนกลางให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าค่อนข้างมาก ส่วนทางตอนเหนือของเวียดนามจะค่อนข้างมัธยัสถ์และพิจารณาประโยชน์และความ คงทนของสินค้าเป็นสำคัญ

• ศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในแต่ละประเทศ เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนเหลือเวลาเพียงไม่ถึง 3 ปีในการปรับปรุงกฎระเบียบ ด้านการลงทุนในประเทศเพื่อดำเนินการเปิดเสรีตามกรอบเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้ในช่วงเวลานับจากนี้ หลายประเทศอาเซียนน่าจะมีความคืบหน้าในการปรับปรุงระเบียบ/นโยบายด้านการ ลงทุนภายในประเทศให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับข้อผูกพันที่แต่ละประเทศได้ ผูกพันไว้ภายใต้กรอบอาเซียนที่มีระดับความเป็นเสรีขึ้นเป็นลำดับ โดยล่าสุดคาดว่าจะมีการใช้ข้อผูกพันการเปิดเสรีบริการอาเซียนชุดที่ 8 ภายในปี 2555 นี้ ซึ่งปัจจุบันไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้ยื่นข้อผูกพันชุดที่ 8 แล้ว และอยู่ระหว่างรอความคืบหน้าจากสมาชิกอาเซียนอื่น อาทิ เวียดนามซึ่งกำลัง อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำข้อผูกพัน เป็นต้น สำหรับความเคลื่อนไหวในการเปิดเสรีบริการของประเทศสมาชิกอาเซียนที่สำคัญ อาทิ

ธุรกิจ ความเคลื่อนไหว
   ธุรกิจโรงแรม หลาย ประเทศอาเซียนสามารถเปิดเสรีได้เกินเป้าหมาย โดยสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา และพม่า อนุญาตให้นักลงทุนสัญชาติอาเซียนถือหุ้นได้ถึง 100% (ส่วน ใหญ่เป็นโรงแรมระดับ 3-5 ดาว) ส่วนอินโดนีเซียกำหนดให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นในโรงแรม 3-5 ดาวได้สูงสุด 100% ในบางพื้นที่ นอกนั้นกำหนดให้ต่างชาติถือหุ้นได้สูงสุด 51% สำหรับไทยจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 49%
   ธุรกิจร้านอาหาร หลาย ประเทศอนุญาตให้นักลงทุนสัญชาติอาเซียนถือหุ้นได้สูงสุด 100% ยกเว้นมาเลเซียให้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 51% อินโดนีเซียให้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ในบางพื้นที่ที่กำหนด และไทยจำกัด การถือหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 49%
   ธุรกิจนำเที่ยว สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม และพม่า อนุญาตให้นักลงทุนสัญชาติอาเซียนถือหุ้นได้สูงสุด 100%
มาเลเซียอนุญาตให้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 51% อินโดนีเซีย อนุญาตให้ถือหุ้นได้สูงสุด 100% แต่จำกัดพื้นที่เฉพาะในบาหลี และจำนวนไม่เกิน 55 แห่ง
ฟิลิปปินส์ อนุญาตให้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 60%
กัมพูชา อนุญาตให้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 51%
และไทยจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 49% (พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศน์ พ.ศ.2535)
   ธุรกิจก่อสร้าง สิงคโปร์ และ CLMV เปิดเสรีอนุญาตให้นักลงทุนสัญชาติอาเซียนถือหุ้นได้สูงสุด 100% ยกเว้น ไทย (จำกัดการถือหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 49%) และฟิลิปปินส์ (จำกัดไม่เกิน 40%)

ที่มา: รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

• ตั้งรับ : ผู้ประกอบการไทยจำต้องเร่งเตรียมความพร้อมรับการแข่งขัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดเป้าหมายขยายธุรกิจบริการของประเทศอาเซียน ด้วยปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงเป็นอันดับ 4 เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น (รองจากสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย) ด้วยระดับรายได้เฉลี่ยราว 4,800 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศยังมีการเติบโตต่อเนื่อง ทำให้มีความต้องการด้านบริการรองรับความต้องการของผู้บริโภคและการขยายตัว ของกิจกรรมเศรษฐกิจอีกมาก ซึ่งดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาเจาะตลาดธุรกิจ บริการของไทยค่อนข้างมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEs ไทยควรมีการเตรียมพร้อมเพื่อตั้งรับภาวะการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงและ ท้าทายมากขึ้น อาทิ:-

วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน เพื่อกำจัดจุดอ่อนของธุรกิจให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด จุดเริ่มต้นของการเตรียมตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในตลาด คือ ผู้ประกอบการ SMEs ไทยจำเป็นต้องรู้จักธุรกิจของตนอย่างชัดเจนว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนในด้านใดบ้าง เพื่อจะได้ทราบถึงสิ่งที่ต้องทำในลำดับต่อไปในการแก้ไขจุดอ่อนของธุรกิจให้ มีความเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจมีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจภายใต้แรงกดดันด้านการ แข่งขันในตลาดมากขึ้น

หาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างจุดยืนในตลาดให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากคู่แข่งทั้งในประเทศและคู่แข่งจากต่าง ชาติ ผู้ประกอบการ SMEs ไทยจำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจและขยายเครือข่ายเพื่อรักษา จุดยืนในตลาดให้มั่นคงมากขึ้น ซึ่งแนวทางหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่ค่อนข้างมีข้อจำกัดด้านเม็ดเงินลงทุนและทรัพยากรทางธุรกิจ อาจพิจารณาหาพันธมิตรทางธุรกิจที่เกื้อหนุนธุรกิจที่มีอยู่ของตนเอง เพื่อให้ธุรกิจมีความน่าสนใจและมีบริการที่รองรับความต้องการที่หลากหลายของ ผู้บริโภค อันจะเพิ่มโอกาสการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการมากขึ้นที่อาจจะเป็นสมาชิก อาเซียนก็ได้ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ที่ยังมีความพร้อมด้านทรัพยากรวัตถุดิบและแรงงาน ที่ถูกกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียนโดยเปรียบเทียบ

สร้างความประทับใจมัดใจลูกค้าด้วยการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการ ธุรกิจบริการเป็นธุรกิจที่ส่งมอบบริการถึงผู้บริโภคโดยตรง และความอยู่รอดของธุรกิจบริการก็มักจะขึ้นอยู่กับการตอบสนองและความพึงพอใจ ของผู้บริโภคเป็นหลัก นอกจากนี้ ด้วยภาวะปัจจุบันที่เป็นสังคมออนไลน์และผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทำให้ความประทับใจของผู้บริโภคคนหนึ่ง จะส่งต่อไปยังผู้บริโภครายอื่นได้รวดเร็วผ่านการบอกต่อและแชร์ข้อมูลออนไลน์ จากเพื่อนถึงเพื่อนต่อเนื่องไป ดังนั้น การมัดใจลูกค้าจึงเป็นหัวใจสำคัญ ของธุรกิจบริการที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรให้ความสำคัญและพยายามรักษาคุณภาพในการให้บริการอยู่เสมอ

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจ ความคล่องตัวและความทันสมัยกลายเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการเลือกใช้บริการ ของผู้บริโภค ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ไทยคงยากที่จะหลีกเลี่ยงการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อสร้างความคล่องตัว ในธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอาจประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในส่วนที่จำเป็นต่อบริการเป็นอันดับ ต้นๆ อาทิ นำเทคโนโลยีมาใช้ในส่วนของการสั่งจองหรือสำรองสิทธิการใช้บริการ การตอบรับหรือการยืนยันการใช้บริการ ซึ่งจะสร้างความคล่องตัวและสร้างความเชื่อมั่นในการใช้บริการของลูกค้าได้ ระดับหนึ่ง เป็นต้น

รักษาฐานลูกค้าเดิม พร้อมมองหาลูกค้ากลุ่มใหม่เพื่อกระจายความเสี่ยง ภาวะการแข่งขันที่รุกคืบเข้าใกล้ตัวมากขึ้น อาจมีส่วนแย่งชิงเค้กส่วนแบ่งในตลาดของธุรกิจ SMEs ไทย ซึ่งแนวทางหนึ่งที่อาจช่วยลดความกดดันคือ การพยายามรักษาความพึงพอใจของฐานลูกค้าเดิม ขณะเดียวกันควรมองหาโอกาสขยายฐานลูกค้าใหม่โดยอาจใช้กลยุทธ์ดังกล่าวมาแล้ว ข้างต้นมาประมวลใช้ด้วยกัน อาทิ การมีบริการที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อกระจายกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และการหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อขยายฐานลูกค้าภายใต้งบประมาณที่จำกัด เป็นต้น

ศึกษาคู่แข่งที่ก้าวเข้ามาในตลาด เพื่อหากลยุทธ์รับมือการแข่งขัน การเตรียมความพร้อมเฉพาะตัวธุรกิจฝั่งเดียวคงไม่เพียงพอ แต่ผู้ประกอบการ SMEs ไทยคงต้องทำการศึกษาคู่แข่งทางธุรกิจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพราะทุกธุรกิจย่อมมีจุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละธุรกิจ ซึ่งหากผู้ประกอบการสามารถมองเห็นจุดอ่อนของคู่แข่งได้ ก็ย่อมได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มโอกาสในการรักษาจุดยืนในตลาดได้มากขึ้น

สำหรับธุรกิจบริการของ SMEs ไทยที่มีโอกาสเผชิญการแข่งขันสูงขึ้นจากการเปิดเสรีบริการอาเซียน อาทิ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพและความงามเช่น สปา และการบำบัดอื่นๆ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจโลจิสติกส์ และธุรกิจบริการการศึกษา สำหรับตลาดที่มีโอกาส ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา ในสาขาธุรกิจค้าปลีก/ก่อสร้าง มาเลเซีย/สิงคโปร์ ในกลุ่มธุรกิจสุขภาพ (สปาและการบำบัด) เป็นต้น

————————————————————————————–
1 สมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
2 WTO จำแนกสาขาบริการไว้ 12 สาขา ได้แก่ บริการด้านธุรกิจ บริการด้านสื่อสารคมนาคม บริการด้านการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่อง บริการด้านการจัดจำหน่าย บริการด้านการ ศึกษา บริการด้านสิ่งแวดล้อม บริการด้านการเงิน บริการด้านสุขภาพและบริการทางสังคม บริการด้านการท่องเที่ยว บริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และการกีฬา บริการด้านการขนส่ง และบริการอื่นๆ

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือน ม.ค. 2555 บ่งชี้สัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม 2555 สะท้อนภาพการฟื้นตัวจากวิกฤติอุทกภัยที่ชัดเจนขึ้นจากเดือนก่อน ดังจะเห็นได้จากการปรับตัวดีขึ้นของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจทั้งด้านอุตสาหกรรม การบริโภค และการลงทุน สอดคล้องกับความเชื่อมั่นที่ฟื้นตัวขึ้น หลังจากลดลงมากในช่วงปลายปี 2554

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนมกราคม 2555

   ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
ยกเว้น ดัชนีการผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตร ใช้ตัวเลขของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต ใช้ตัวเลขของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญจากเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือนมกราคม 2555 และอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรเดือนมกราคม 2555 ด้านผลผลิต ขยายตัวเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.9 (YoY) และ 1.0 (MoM) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนตามลำดับ โดยการขยายตัวของผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ยางพารา อ้อย และมันสำปะหลัง ช่วยชดเชยผลผลิตข้าวที่หดตัวเนื่องจากปัญหาอุทกภัย ส่วนด้านราคา เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 12.0 (YoY) และ 5.2 (MoM) ตามลำดับ เป็นผลมาจากราคายางพาราที่ปรับตัวลดลงตามภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และราคาปาล์มน้ำมันที่ปรับตัวลดลงจากฐานที่สูงในปีก่อนตามระดับผลผลิตที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

Source: OAE, KResearch

ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมนั้น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index) หดตัวร้อยละ 15.2 (YoY) หดตัวในอัตราที่ลดลง จากร้อยละ 25.3 (YoY) ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขยายตัวร้อยละ 19.1 (MoM) ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง สะท้อนภาพการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรม โดยหมวดอุตสาหกรรมที่มีการฟื้นตัวชัดเจน ได้แก่ ปิโตรเลียม พลาสติก เหล็ก ปูนซีเมนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถจักยานยนต์ ส่วนหมวดอุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งมากขึ้น สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) อยู่ที่ร้อยละ 58.5 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี ก่อน แต่สูงกว่าเดือนก่อน โดยหมวดอุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งได้รับความเสียหายมากจากอุทกภัยเมื่อปลายปีก่อน มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงก่อนอุทกภัย

Source: OIE, KResearch

ด้านการบริโภคภาคเอกชนนั้นได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการผลิต เห็นได้จากการที่ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Index) ขยายตัวร้อยละ 2.6 (YoY) และ 0.4 (MoM) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนตามลำดับ เป็นการขยายตัวติดต่อเป็นเดือนที่สอง โดยเครื่องชี้การบริโภคที่สำคัญ อาทิ ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถจักรยานยนต์ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ขยายตัวตามพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่กลับสู่ภาวะปกติ จากที่มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเพื่อกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นในช่วงที่เกิดอุทกภัย

การลงทุนภาคเอกชนก็มีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยแม้ว่าดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Index) จะหดตัวร้อยละ 0.4 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากพิจารณาเปรียบเทียบกับเดือนก่อน พบว่ามีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 8.0 (MoM) สูงสุดในรอบเกือบ 12 ปีเป็นอย่างน้อย ตามปัจจัยบวก ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้เพื่อการซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างที่เสียหายจากอุทกภัย และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นหลังจากการผลิตเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ

ในส่วนของความเชื่อมั่นภาคเอกชนนั้น พบว่า ทั้งดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (CCI) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ล้วนปรับตัวดีขึ้น แม้จะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดอุทกภัย แต่ก็สะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นที่เริ่มกลับคืนมาหลังจากปัญหาอุทกภัยเริ่มคลี่คลาย สำหรับเดือน กุมภาพันธ์ 2555 ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (CCI) ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม และสูงสุดในรอบ 5 เดือน อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการยังคงมีความกังวล ได้แก่ ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ความชัดเจนของนโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำ และสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศ

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมศุลกากรที่รายงานโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังรายเดือน แสดงให้เห็นว่า มูลค่าการส่งออก ขยายตัวร้อยละ 1.2 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ที่หดตัวร้อยละ 2.0 (YoY) สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสินค้าที่เน้นผลิตเพื่อการส่งออก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ปรับตัวดีขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้า ส่วนมูลค่าการนำเข้า หดตัวร้อยละ 0.2 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แย่กว่า เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.1 (YoY) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่สูงของช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้า ขาดดุล 626.2 ล้านดอลลาร์ฯ

สำหรับอัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม โดยหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.35 (YoY) และ 0.37 (MoM) ตามลำดับ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.72 (YoY) และ 0.11 (MoM) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบในตะกร้าดัชนีราคาผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยสำคัญที่หนุนระดับราคาสินค้ามาจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและการขนส่ง หลังจากที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันตลาดโลก และการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันตามนโยบายรัฐบาล

เงินบาทในประเทศ (Onshore) ปิดตลาด ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ระดับ 30.26 บาทต่อดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นจากระดับ 30.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2555 สอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย ภายหลังจากที่แผนการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซมีข้อตกลงที่ชัดเจนขึ้น ทำให้นักลงทุนคลายความกังวล และกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งการถือครองเงินและหลักทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น

Source: Reuters, MOC and Kresearch

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของเครื่องชี้สำคัญต่างๆ ทั้งในด้านอุตสาหกรรมการบริโภค การลงทุน ตลอดจนความเชื่อมั่นในภาคเอกชน เป็นการตอกย้ำความชัดเจนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ดังนั้นจึงยังคงประเมินในภาพเดิมว่า กิจกรรมการซ่อมแซมและฟื้นฟู รวมถึงการลงทุนใหม่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียหายไป จากอุทกภัยทั้งในระดับครัวเรือน ธุรกิจ และประเทศ จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้อีกครั้งตั้งแต่ช่วงต้นปี 2555 เป็นต้นไป โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยใน ไตรมาส 1/2555 จะขยายตัวร้อยละ 1.0-1.5 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งดีขึ้นจากที่หดตัวอย่างรุนแรงในช่วงไตรมาส 4/2554 อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามปัจจัยที่มีผล กระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ได้แก่ ความเปราะบางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิหร่าน กับชาติตะวันตก ซึ่งย่อมมีผลต่อค่าครองชีพของประชาชน และเพิ่มแรงกดดันด้านต้นทุนของผู้ประกอบการ รวมถึงความต่อเนื่องในการเบิกจ่ายงบประมาณและการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงาน การบริหารจัดการน้ำ และราคาพลังงานของรัฐบาล ซึ่งจะมีผลต่อบรรยากาศการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไป

Accordion-shaped solar tower captures more light

Because the cost of solar panels has dropped so much, designing three-dimensional structures to take in more light intake and boost power output now makes sense, according to researchers at MIT.


Small prototype solar towers were used to measure how 3-D shapes can improve solar output. (Credit: Allegra Boverman/MIT)
To get more light in a tight spot, solar panels should be three dimensional, according to a study detailed today.

Researchers at the Massachusetts Institute of Technology published a paper in the journal Energy and Environmental Science this week which found that building a solar array with panels at different angles can significantly improve performance. The best improvements were in cloudy conditions, in winter months, and in locations far from the equator.

Using simulations and small test structures, the group found power increased between two to 20 times compared to a set of flat panels. In initial tests, though, it found an accordion-like structure made up of multiple cubes stacked so that the sides face different directions appears to get better light without adding dramatically higher costs.


This artist’s drawing shows how a 3-D solar tower could be used in city centers to charge electric bicycles. (Credit: MIT)

Studying the placement of solar panels to optimize light makes more sense now because the cost of solar modules, or panels, has dropped dramatically in the past few years.

“Even 10 years ago, this idea wouldn’t have been economically justified because the modules cost so much,” said MIT researcher Jeffrey Grossman in a statement. “(Now) the cost for silicon cells is a fraction of the total cost, a trend that will continue downward in the near future.”

For utility-scale solar farms, solar panels are equipped with trackers that change panels’ positions over the course of the day. Since they add significantly to the cost and complexity of installation, residential or even commercial solar arrays don’t typically use trackers.

But making solar structures with panels at different angles can work in places where space is at a premium, such as cities, according to MIT.

Last year, a middle school student won a Young Natural Award for an essay and science project that found that placing solar panels like tree branches boosted their performance. Basic flaws in the project, which brought a deluge of media coverage, later came to light.

Grossman said the MIT group is different from previous attempts to optimize light through architecture because it has taken a systematic approach that will let designs predict power increases with 3-D shapes. Its next step is to test several solar structures in a group to measure the effects of shading.

Europe’s premier wind energy event EWEA Annual 2012

16 – 19 April 2012 Copenhagen, Denmark

 Innovating today, shaping tomorrow

Focusing on innovation – the major driver of the wind energy industry – tracks will cover 6 topics from policies and markets to financing grids and science. Bringing together the brightest minds in the industry to exchange the latest knowledge, forge meaningful business relationships and create connections with influential people around the world.

The EWEA 2012 conference and exhibition will build on the huge success of the 2011 edition, which attracted a record-breaking 9,000+ participants, coming from a total of 84 countries.

Representing an unmissable opportunity to:

  • Discover the latest industry best practices
  • Learn about the latest innovations in over 40 conference sessions
  • Create new business opportunities with global contacts in a flourishing market
  • Network with international leaders shaping tomorrow’s energy market

Don’t miss out, register today!

Fresh cutting-edge ideas in a 4-day conference programme

With over 40 informative sessions, a host of expert industry speakers, lively debates, and new interactive format allowing you to have your say and influence the agenda, the conference will provide you with the latest information and ideas.

Unequalled business opportunities on the exhibition floor

With 12,000m2 of total exhibition space and over 450 exhibiting companies expected, this exhibition is set to be bigger and busier than ever before. Organised by the industry for the industry it is a unique gathering of the industry’s top companies, representing the entire supply chain.

EWEA 2012 is gearing up to be the most stimulating arena Europe-wide for dynamic networking and achieving great business performance.

You can now book your accommodation in Copenhagen online. Select your preferred hotel from the official list and benefit from the specially negotiated rates for participants at EWEA 2012.

For more information please visit: http://events.ewea.org/annual2012/

เยอรมนีจับมืออาเซียนพัฒนาระบบเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน

สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดตัวโครงการควบคุมศัตรูพืชสำหรับพืชอาหารโดยชีววิธีในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมนีและภูมิภาคอาเซียน เพื่อพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน โดยเน้นการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช (Biocontrol agents) และการจัดการพืชอย่างยั่งยืน ในประเทศสมาชิกอาเซียนภาคการเกษตรและอาหารเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความต้องการอาหารทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัด ได้ผลักดันให้เกิดนโยบายการพัฒนาการเกษตรแบบ “ระบบเกษตรและอาหารยั่งยืน”

นายสุริยัน วิจิตรเลขการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการและหัวหน้าแผนกอุตสาหกรรมเกษตรและทรัพยากร ธรรมชาติ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า “แนวโน้มของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใส่ใจในเรื่องอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น รวมทั้งข้อกำหนดของตลาดส่งออกที่ทวีความเข้มงวด ได้ส่งผลให้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการผลิตอย่างยั่งยืนมากขึ้นตามลำดับ ความร่วมมือกับประเทศเยอรมนีในโครงการควบคุมศัตรูพืชสำหรับพืชอาหารโดยชีววิธีในภูมิภาคอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช และการจัดการพืชอย่างยั่งยืน”

นาย จิรากร โกศัยเสวี อธิบดี กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า “ประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืชอาหารที่ปลอดภัย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายในการเป็นครัวโลก โครงการฯ นี้ จะช่วยสนับสนุนแผนงานในการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการใช้ชีววิธีเพื่อกำจัดศัตรูพืชในระบบการผลิตอาหาร ซึ่งจะนำไปขยายผลใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียนอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตอาหารที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืนสู่ตลาดโลกต่อไป”

มร. มาธีอัส บิคเคล ผู้อำนวยการ โครงการควบคุมศัตรูพืชสำหรับพืชอาหารโดยชีววิธีในภูมิภาคอาเซียน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) กล่าวว่า “โครงการฯ ได้รับงบประมาณจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดย GIZ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินโครงการร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน จนถึงเดือนธันวาคม 2560 โดยมุ่งเน้นใน 3 แนวทางหลักคือการปรับแนวทางและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิตชีวภาพของประเทศต่างๆ ในอาเซียนให้มีความสอดคล้องกัน การส่งเสริมระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน ด้วยการสร้างความตระหนักให้แก่เกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ และการพัฒนาศักยภาพ ด้วยการจัดอบรมการจัดการพืชอย่างยั่งยืน”
ข้อมูลองค์กร
สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พศ. 2519 โดยกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงาน รวมทั้งการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มประเทศสมาชิก โดยมีภารกิจสำคัญคือการทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับหลักการตามกฎบัตรอาเซียน

กรมวิชาการเกษตร เป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจสำคัญคือทำงานวิจัยเพื่อการพัฒนาทางการเกษตร ให้บริการด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบ รับรองมาตรฐานสินค้า รวมทั้งให้คำแนะนำเรื่องดิน น้ำ ปุ๋ย ผลิตผลทางการเกษตร มาตรฐานสินค้าเพื่อส่งเสริมการส่งออก นอกจากนี้ยังถ่ายทอดทางการเษตรแก่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เกษตรกรและภาคเอกชน

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ เป็นองค์กรของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่ปฏิบัติงานในนามของรัฐบาลเยอรมันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและร่วมมือด้านการศึกษากับนานาประเทศ GIZ ยังปฏิบัติภารกิจในนามของรัฐบาลของประเทศต่างๆ และองค์กรนานาชาติ อาทิ สหภาพยุโรป องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย รวมทั้งบริษัทเอกชนต่างๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศิริพร ตรีพรไพรัช ผู้จัดการฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ GIZ
โทรศัพท์ 02 661 9273 ต่อ 33 หรือ 087 022 7526 อีเมล์ siriporn.treepornpairat@giz.de

————————-

GERMANY COOPERATES WITH ASEAN TOWARDS SUSTAINABLE AGRI-FOOD SYSTEM

Bangkok, 27 March 2012: ASEAN Secretariat together with Department of Agriculture of Thailand’s Ministry of Agriculture and Cooperatives announce the launch of the ‘ASEAN Biocontrol for Sustainable Agri-food Systems’ project, a German – ASEAN cooperation to develop regionally coordinated policies and strategies for sustainable agriculture and the food sector by promoting the use of biocontrol agents and sustainable crop management practices in ASEAN countries.

The agri-food sector is of critical importance in Southeast Asia and beyond. The demand for food products of greater quality and quantity to supply both domestic and international markets, along with the need to manage scarce natural resources, has driven agricultural development policies towards the concept of “sustainable agri-food systems”.

Mr. Suriyan Vitchitlekarn, Assistant Director and Head of Agriculture Industries & Natural Resources Division, ASEAN Secretariat said ‘Increased consumer and industry interest in food safety issues, combined with stricter export regulations, have shifted agricultural policy across Southeast Asia towards more sustainable production techniques.  The cooperation with Germany in ‘ASEAN Biocontrol for Sustainable Agri-food Systems’ project aims to develop regionally coordinated policies and strategies for sustainable agriculture and the food sector.  Under this project, agri-food systems will be advanced by promoting sustainable inputs and their management through the implementation of biocontrol agents and sustainable crop management practices.’

Mr. Jirakorn Kosaisawe, Director General, Department of Agriculture said ‘Farmers in Thailand are supported to produce safe food since Thailand has a policy to become the ‘Kitchen of the World’.  The project will enhance our plan to promote research and development and the use of biocontrol measures.  Lesson learned will be shared to other ASEAN countries to sustainably promote safe food production for the world.’

Mr. Matthias Bickel, Director of ‘ASEAN Biocontrol for Sustainable Agri-food Systems’ project, GIZ said ‘Financed by the German Federal Ministry for Economic Cooperation and Development, the project is implemented by German International Cooperation (GIZ) and is planned until December 2017. Project activities cover three parts including harmonization to support the formulation process of ASEAN guidelines and regulatory frameworks, promotion of sustainable agri-food systems by creating awareness among farmers and stakeholders and capacity development with the training on sustainable crop management.’
The Secretariat of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) was set up in February 1976 by the Foreign Ministers of ASEAN to provide for greater efficiency in the coordination of ASEAN organs and for more effective implementation of ASEAN projects and activities.   The ASEAN Secretariat’s mission is to initiate, facilitate and coordinate ASEAN stakeholder, collaboration in realizing the purposes and principles of ASEAN as reflected in the ASEAN charter.

Department of Agriculture (DOA) is one major unit of the Ministry of Agriculture and Cooperatives in Thailand.  Its mandate is to 1) conduct research on various agricultural disciplines, 2) provide services on the analysis, inspection, quality certification and advices on soil, water, fertilizer, crops, agriculture inputs production and products quality export promotion, and to 3) transfer agricultural technology to related government officials, farmers and the private sector.

The Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH is a federal enterprise with worldwide operations. It supports the German Government in international cooperation for sustainable development and in international education work. It operates on behalf of the German Federal Ministry for Economic Cooperation and Development and other German ministries, governments of partner countries and international clients (like the EU, UN, World Bank, ADB) as well as private enterprises.

For more information, please contact:
Ms. Siriporn Treepornpairat, Public Information Manager, GIZ
Tel: 66 2 661 9273 ext. 33 E-mail: siriporn.treepornpairat@giz.de

 

https://i0.wp.com/ttmebook.com/TTMEPromotionBanner.jpg