แลงเซส เติบโตอย่างต่อเนื่อง : LANXESS continues on growth path

กำไรเบื้องต้น ของไตรมาส 1 อยู่ที่ 369 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด
ยอดขายของไตรมาส 1 อยู่ที่ 2.4 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 15
กําไรสุทธิของไตรมาส 1 อยู่ที่ 193 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 16
คาดการณ์สำหรับปี 2012: คาด กำไรเบื้องต้นทั้งปีการเงิน เติบโตร้อยละ 5-10 เมื่อเทียบกับปี 2011

แลงเซส (LANXESS) เริ่มต้นธุรกิจในปี พ.ศ. 2555 อย่างสดใส โดยบริษัทชั้นนำด้านเคมีภัณฑ์เฉพาะทางแห่งนี้มีกำไรเบื้องต้น ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ซึ่งขยับไปอยู่ที่ 369 ล้านยูโรในไตรมาสแรก

ยอดขายเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีล่าสุดไปอยู่ที่ 2.4 พันล้านยูโร ทั้งนี้ เป็นผลจากการขึ้นราคาสินค้าร้อยละ 9 ซึ่งชดเชยต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นได้ทั้งหมด ส่วนที่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 7 ส่วนใหญ่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการยางสังเคราะห์ เอธีลีน โพรพิลีน ไดอีน โมโนเมอร์ (Ethylene Propylene Diene Monomer: EPDM) ยี่ห้อ เคลตัน (Keltan) จาก บริษัท ดีเอสเอ็ม จำกัด (DSM N.V.) ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้สถานการณ์ที่เป็นบวกนั้นส่งผลที่ดีต่อยอดขาย ขณะที่ปริมาณการขายลดลงร้อยละ 3 จากไตรมาสแรกที่แข็งแกร่งมากในปีที่ผ่านมา

อัตราส่วนต่างรายได้ของกำไรเบื้องต้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ร้อยละ 15.5 และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 193 ล้านยูโร

“ในแง่ของการเริ่มต้นที่ดีมากในปีนี้ แลงเซสคาดว่ากำไรเบื้องต้น จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 ปีพ.ศ. 2555 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด” มร. เอ็กเซิล เซ ไฮท์มันน์ ประธานกรรมการบริหารของแลงเซส (LANXESS)  กล่าว “ความเชื่อมั่นของเราเกิดจากการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ในผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยมและเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม ซึ่งตอบสนองแนวโน้มธุรกิจของโลกและตลาดเกิดใหม่”

กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (operating cash flow) เพิ่มขึ้นเป็น 129 ล้านยูโรจาก 36 ล้านยูโรในปีที่ผ่านมา อัตราส่วนหนี้สินสุทธิ ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีพ.ศ. 2555 อยู่ที่ประมาณ 1.5 พันล้านยูโร” ในทางปฏิบัติ ผลประกอบการดังกล่าวไม่เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงสุดท้ายของปี พ.ศ. 2554 แม้ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (net working capital) จะเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับกิจกรรมทางธุรกิจที่เข้มข้นขึ้น” มร. เบียนฮาร์ด ดุตต์มันน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินของแลงเซส กล่าว “การเติบโตที่ให้ผลกำไร ควบคู่กับฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ยังคงเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินธุรกิจของเรา”

ผลประกอบการแยกตามภูมิภาค

ตลาด EMEA อันได้แก่ ยุโรป (ไม่รวมเยอรมนี) ตะวันออกกลาง และอัฟริกา ยังคงเป็นภูมิภาคที่มียอดขายสูงสุดในไตรมาสแรก โดยครองสัดส่วนร้อยละ 29 ของยอดขายโดยรวมของทั้งกลุ่มบริษัท ยอดขายในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ไปอยู่ที่ 699 ล้านยูโร โดยมีรัสเซียและโปแลนด์อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด

ยอดขายในเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ไปอยู่ที่ 416 ล้านยูโรในไตรมาสแรก และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17 ของยอดขายโดยรวมของทั้งกลุ่มบริษัท
ตลาดอเมริกาเหนือมีอัตราเติบโตของยอดขาย (top-line growth) สูงสุด โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 423 ล้านยูโรหรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของยอดขายรวมของกลุ่ม
ละตินอเมริกามียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด   ไปอยู่ที่ 301 ล้านยูโร ในไตรมาสแรก เนื่องจากบริษัทมีฐานที่มั่นที่แข็งแกร่งในบราซิล โดยยอดขายในภูมิภาคนี้คิดเป็นร้อยละ 13 ของยอดขายรวมของกลุ่ม
เอเชียแปซิฟิกมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด   ไปอยู่ที่ 549 ล้านยูโร ในไตรมาสแรก ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 23 ของยอดขายรวมของกลุ่ม โดยมีจีนและไทยเป็นตลาดที่มีอัตราเติบโตของยอดขายสูงสุด
ยอดขายใน 5 ประเทศในกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และอัฟริกาใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 554 ล้านยูโร และคิดเป็นร้อยละ 23 ของยอดขายรวมของกลุ่มในไตรมาสแรก

 ผลประกอบการแยกตามเซ็กเม้นท์

ยอดขายในส่วนของธุรกิจ โพลิเมอร์ (Performance Polymers) เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ไปอยู่ที่ 1.4 พันล้านยูโร เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นและผลจากการเข้าซื้อกิจการยางสังเคราะห์ เอธีลีน โพรพิลีน ไดอีน โมโนเมอร์ (Ethylene Propylene Diene Monomer: EPDM) ยี่ห้อ เคลตัน (Keltan) จาก บริษัท ดีเอสเอ็ม จำกัด (DSM N.V.) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ด้านกำไรเบื้องต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 255 ล้านยูโร โดยธุรกิจ ยางสังเคราะห์ประสิทธิภาพสูง (High-Performance Synthetic Rubbers) และ พลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) ของแลงเซสยังคงมีความต้องการสูงจากอุตสาหกรรมยางและยานยนต์ตามลำดับ

หน่วยธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ (Semi-Crystalline Products) ซึ่งเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์ชั้นนำด้าน พลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น หน่วยธุรกิจ ไฮ เพอร์ฟอร์มานส์ แมทธีเรียลส์ (High Performance Materials: HPM) โดยมีผลในทันที ชื่อใหม่นี้ให้ประโยชน์หลายด้านด้วยขอบข่ายผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอให้แก่ลูกค้า ตัวอย่างหนึ่ง คือ พลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) ที่ช่วยให้ชิ้นส่วนยานยนต์มีน้ำหนักเบาลงและส่งผลให้สามารถลดการใช้น้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยอดขายไตรมาสแรกในส่วนของผลิตภัณฑ์กลุ่ม สารที่เกิดระหว่างการผลิตขั้นสูง (Advanced Intermediates) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 429 ล้านยูโร ทั้งหน่วยธุรกิจ แอดวานซ์ อินดัสเรียล อินเตอร์มีเดียทส์ (Advanced Industrial Intermediates) และ ซัลติโก้ (Saltigo) ได้รับอานิสงส์จากความต้องการที่สูงต่อเนื่องในอุตสาหกรรมเคมีเกษตร ขณะที่รายได้ของกำไรเบื้องต้นลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 70 ล้านยูโร เนื่องจากความต้องการที่ชะลอตัวลงในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การเคลือบและยา

ยอดขายในส่วนของธุรกิจ เคมีภัณฑ์ (Performance Chemicals) ในช่วงไตรมาสแรกคงที่เมื่อเทียบกับปีล่าสุด โดยอยู่ที่ 558 ล้านยูโร อันเป็นผลจากการขึ้นราคาและการเข้าซื้อกิจการใหม่ๆ ที่มาช่วยชดเชยปริมาณการขายสินค้าที่ลดลง ขณะเดียวกันอัตรารายได้กำไรเบื้องต้น ได้ลดลงร้อยละ 8 ไปอยู่ที่ 83 ล้านยูโร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความต้องการที่ชะลอตัวลงในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอิเล็กทรอนิกส์

คาดการณ์ผลประกอบการ

“ด้วยการเริ่มต้นที่ดีในปีนี้ แลงเซสได้สร้างพื้นฐานที่ดีต่อไปในเส้นทางการเติบโตที่ประสบผลสำเร็จตามเป้าของเราในปี พ.ศ. 2555” มร. ไฮท์มันน์ กล่าว แลงเซสคาดว่า อัตรากำไรเบื้องต้นทั้งปี พ.ศ. 2555 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 จาก 1,146 ล้านยูโรในปี พ.ศ. 2554

แลงเซสยังคงคาดหวังว่า ระดับของหนี้สาธารณะ (sovereign debt) ที่สูงในบางประเทศ ประกอบกับนโยบายการปรับลดการใช้จ่าย (austerity program) ที่ออกมาเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว อาจเป็นปัจจัยที่บั่นทอนการพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่ให้เกิดเสถียรภาพ นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน น่าจะยังคงผันผวน ด้วยเหตุนี้ แลงเซสจะยังคงใช้กลยุทธ์ด้านราคา หรือ Price-Before-Volume Strategy ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีเช่นนี้ต่อไป

“นอกจากนี้ แลงเซสกำลังสานต่อการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ๆ ในสามเซ็กเม้นท์ และจะมุ่งเน้นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีล่าสุดให้มากขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยมให้แก่ลูกค้า ยางสังเคราะห์และพลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) หรือ ไฮเทคพลาสติก จะมีบทบาทนำ โดยเฉพาะสำหรับกระแสอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียว (Green Mobility)” มร. ไฮท์มันน์ กล่าวสรุป

ตัวเลขสำคัญๆ ของไตรมาส 1 ปี พ.ศ. 2555

(หน่วยเป็นล้านยูโร อัตราเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ)

ไตรมาส 1 พ.ศ. 2554 ไตรมาส 1 พ.ศ. 2555 เปลี่ยนแปลง (%)
ยอดขาย 2,073 2,388 15.2
กำไรเบื้องต้น  322 369 14.6
สัดส่วนกำไรเบื้องต้น ต่อ รายได้ (%) 15.5 15.5
รายได้สุทธิ 166 193 16.3
กำไรต่อหุ้น  €2.00 €2.32 16.3 

———————

Q1 EBITDA pre EUR 369 million, up 15% yr-on-yr
Q1 sales EUR 2.4 billion, up 15%
Q1 net profit EUR 193 million, up 16%
Outlook 2012: FY EBITDA pre expected to grow 5-10% vs. 2011

LANXESS has made a promising start to the business year 2012. The specialty chemicals company increased EBITDA pre exceptionals by nearly 15 percent year-on-year to EUR 369 million in the first quarter.

Sales increased roughly 15 percent year-on-year to EUR 2.4 billion. This was mainly due to price increases of nine percent that fully offset rising raw material costs. Positive portfolio effects of seven percent were mainly attributed to the Keltan-EPDM-business acquired from DSM. In addition, positive currency effects of two percent supported sales. Volumes declined by three percent from the very strong first quarter a year earlier.

The EBITDA pre exceptionals margin remained unchanged at 15.5 percent and net profit increased by 16 percent year-on-year to EUR 193 million.

“In view of our very good start to the year, we expect EBITDA pre exceptionals to increase five to ten percent year-on-year in 2012,” said Axel C. Heitmann, LANXESS’ Chairman of the Board of Management. “Our confidence is based on our strategic focus on premium products and innovative technologies, which serve the megatrends and emerging markets.”

Operating cash flow rose to EUR 129 million from EUR 36 million a year ago. Net debt at the end of the first quarter 2012 was roughly EUR 1.5 billion. “It was thus practically unchanged from the end of 2011 despite increased net working capital needs in line with stronger business activity,” said Chief Financial Officer Bernhard Duettmann. “Profitable growth, coupled with a solid financial position, remains central to our business.”

Performance by region

EMEA (Europe excluding Germany, Middle East, Africa) remained the largest sales region in the first quarter, with 29 percent of overall Group sales. The region increased sales by nine percent to EUR 699 million. Russia and Poland were among the countries with the strongest growth rates.

Sales in Germany rose five percent to EUR 416 million in the first quarter and represented 17 percent of Group sales.

North America showed the strongest top-line growth, with sales up 29 percent year-on-year to EUR 423 million, representing 18 percent of Group sales.

Latin America increased sales by 23 percent year-on-year to EUR 301 million in the first quarter due to the company’s strong foothold in Brazil. The region represented 13 percent of Group sales.

Asia-Pacific increased sales by 19 percent year-on-year to EUR 549 million in the first quarter, representing 23 percent of Group sales. China and Thailand showed the strongest sales growth.

Sales in the five BRICS countries (Brazil, Russia, India, China, South Africa) rose 21 percent year-on-year to EUR 554 million and represented 23 percent of Group sales in the first quarter.

Performance by segment

Sales of the Performance Polymers segment rose 28 percent year-on-year to EUR 1.4 billion due to higher prices and a strong contribution from the Keltan-EPDM-business acquired in May 2011. EBITDA pre exceptionals also rose 28 percent year-on-year to EUR 255 million. LANXESS’ high-performance synthetic rubbers and high-tech plastics remained in high demand from the tire and automotive industries respectively.

The business unit Semi-Crystalline Products (SCP), one of the leading suppliers of high-tech plastics for the automotive and electronic industries, has been renamed High Performance Materials (HPM), with immediate effect. The new name reflects the numerous advantages provided by the business unit’s product portfolio to its customers. One example is high-tech plastics that lower the weight of automotive parts and thus reduce fuel consumption.

First-quarter sales in the Advanced Intermediates segment rose three percent year-on-year to EUR 429 million. Both Advanced Industrial Intermediates and Saltigo benefited from ongoing strong demand in the agrochemical industry. EBITDA pre exceptionals fell seven percent year-on-year to EUR 70 million due to weaker demand in the construction, coatings and pharmaceutical industries.

Sales of the Performance Chemicals segment were practically flat year-on-year in the first quarter at EUR 558 million, with price increases and contributions from newly-acquired businesses helping to offset volume declines. EBITDA pre exceptionals in the segment fell eight percent year-on-year to EUR 83 million mainly due to weaker demand in the construction and electronic industries.

Outlook 

“With the pleasing start to the year, we have created a good basis to continue on our successful growth path also in 2012,” said Heitmann. LANXESS expects for the full-year 2012 EBITDA pre exceptionals to rise by five to ten percent from EUR 1,146 million in 2011.

LANXESS still expects that the high levels of sovereign debt in some of the established countries, along with the austerity programs launched as a result, could detract from steady economic development. Currency exchange rates, as well as raw material and energy costs, will remain volatile. LANXESS will continue to stick to its proven price-before-volume strategy.

“Furthermore, LANXESS is bringing on stream new capacities in all three segments. We will also sharpen our focus on innovation and the latest technologies in order to develop premium products for our customers. Our synthetic rubbers and high-tech plastics will play a leading role especially in the “Green Mobility”,” added Heitmann.

Q1 2012 Key Data

(EUR million, changes in percent)

  Q1 2011 Q1 2012 Change
Sales  2,073 2,388 15.2
EBITDA pre exceptionals  322 369 14.6
EBITDA margin pre exceptionals (percent)

 

15.5 15.5  
Net income 

 

166 193 16.3
Earnings per share (EPS) €2.00 €2.32 16.3

LANXESS is a leading specialty chemicals company with sales of EUR 8.8 billion in 2011 and currently around 16,700 employees in 30 countries. The company is at present represented at 48 production sites worldwide. The core business of LANXESS is the development, manufacturing and marketing of plastics, rubber, intermediates and specialty chemicals. LANXESS is a member of the leading sustainable indices Dow Jones Sustainability Index (DJSI) World and FTSE4Good.

Forward-Looking Statements.

This news release may contain forward-looking statements based on current assumptions and forecasts made by LANXESS AG management. Various known and unknown risks, uncertainties and other factors could lead to material differences between the actual future results, financial situation, development or performance of the company and the estimates given here. The company assumes no liability whatsoever to update these forward-looking statements or to conform them to future events or developments.

…TTME NEWS

แลงเซส มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว / LANXESS powering Green Mobility

แลงเซส  มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว
แลงเซส ประกาศให้ ปีพ.ศ. 2555 เป็นปีแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว หรือ กรีน โมบิลิตี้ (Green Mobility) มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ซึ่งบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำแห่งนี้ได้ยกระดับการพัฒนายานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับแนวคิดการดำเนินงานของบริษัท โดยแลงเซสได้จัดแสดงนวัตกรรมล้ำสมัยจากหน่วยธุรกิจอันหลากหลายของบริษัท ได้แก่ หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ (Semi-Crystalline Products)  หน่วยธุรกิจ สารสีอนิน-ทรีย์ (Inorganic Pigments) หน่วยธุรกิจ ไรน์ เคมี (Rhein Chemi) และ หน่วยธุรกิจ ฟังชันนัล เคมิคัลส์ (Functional Chemicals) ณ งานไชน่าพลาส 2012 (Chinaplas 2012) ระหว่างวันที่ 18 – 21 เมษายน ที่ผ่านมา ที่ศูนย์นิทรรศการนานาชาติแห่งใหม่ “เซี่ยงไฮ้ ผู่ตง” ซึ่งนักลงทุนที่เข้าเยี่ยมชมบูธของแลงเซส ได้รับทราบถึงการส่งเสริมตลาดพลาสติกของหน่วยธุรกิจทั้งสี่ของบริษัทฯ ซึ่งแลงเซสได้นำเสนอวัตถุดิบ

มร. มาร์ติน เครเมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แลงเซส ประจำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน


พิธีเปิดบูทของแลงเซส ณ งาน ไชน่าพลาส 2012 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-21 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
บุคคลในภาพ (จากซ้าย) มร. มาริโอ เนกริ ผู้อำนวยการ หน่วยธุรกิจ ไรน์ เคมี ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก ดร. คริสทอฟ คร็อกมันน์ รองประธาน หน่วยธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก มร. มาร์ติน เครเมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แลงเซส ประจำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ดร. วูล์ฟกัง อือห์เลิร์ท รองประธาน หน่วยธุรกิจ สารสีอนินทรีย์ ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก และ มร. ชก ฮัก เลียง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย หน่วยธุรกิจ ฟังชันนัล เคมิคัลส์ ประจำภาคพื้นเอเชีย


ภาพบูทของแลงเซส ณ งานไชน่าพลาส 2012


นักลงทุนจากหลากหลายประเทศเข้าชมบูทของแลงเซส ที่นำเสนอนวัตกรรมล่าสุดสำหรับเทรนด์อุตสาหกรรมระดับโลก นั่นคือ ยานยนต์สีเขียว หรือ กรีน โมบิลิตี้ (Green Mobility)

สมรรถนะสูง ที่ช่วยสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  
เพื่อกระชับความร่วมมือกับลูกค้าและแสดงให้เห็นถึงกรอบของพันธกิจในการดำเนินงาน ในภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แลงเซสได้ประกาศแผนการจัดตั้ง ‘ศูนย์พัฒนาแอพพลิเคชั่นแห่งเอเชีย แปซิฟิก’ หรือ ‘Asia-Pacific Application Development Center’ โดยศูนย์แห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง จะเริ่มเปิดดำเนินงานตั้งแต่ครึ่งปีหลังของ ปีพ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ฮ่องกงจะเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีพลาสติกชั้นสูงของแลงเซส ได้แก่ ดูรีเทน (Durethan) และ โพแคน (Pocan) ซึ่งมาพร้อมกับเทคโนโลยีการผลิตที่ครอบคลุมและมีคุณภาพสูง รวมถึงการออกแบบและพัฒนาระบบวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ ตลอดจนศูนย์การทดสอบชิ้นส่วนระดับโลก สำหรับลูกค้าทั้งหมดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

ศูนย์พัฒนาแอพพลิเคชั่นแห่งเอเชีย แปซิฟิก’ สะท้อนถึงเจตนารมณ์ของแลงเซสในการเป็นพันธมิตรและทำงานร่วมกับ นักวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต และลูกค้า พร้อมกับช่วยส่งเสริม ‘ศูนย์วิจัยและพัฒนา’ ที่มีอยู่เดิม ณ เมืองอู๋ซี ประเทศจีน เพื่อการพัฒนาและทดสอบวัตถุดิบ สำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อไป” มร. มาร์ติน เครเมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แลงเซส ประจำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน กล่าว

ทั้งนี้ แลงเซส ได้รับรางวัล ‘นวัตกรรมสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม’ ประจำ ปี พ.ศ. 2555 หรือ ‘Green Innovation Award 2012’  ในสาขาวิศวกรรมพลาสติก อันเนื่องมาจากนวัตกรรมพลาสติกชั้นสูงอย่าง ดูรีเทน และ โพแคน ของแลงเซส จากงาน Plastic Technology China ซึ่งผลิตภัณฑ์อันล้ำสมัยนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนายานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถนำไปทดแทนชิ้นส่วนที่เป็นเหล็ก ช่วยลดน้ำหนักตัวรถ เพิ่มอัตราความประหยัดเชื้อเพลิง และลดการปล่อยมลพิษ ขณะเดียวกันยังช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประหยัดต้นทุนจากการประกอบตัวรถที่สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้นอีกด้วย

นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์แล้ว แลงเซสยังมีเทคโนโลยีพลาสติกชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมอื่น “ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมอันก้าวล้ำหน้า แลงเซสยึดมั่นที่จะสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียวให้เกิดขึ้น จากผลิตภัณฑ์อันเปี่ยมด้วยนวัตกรรมคุณภาพ อาทิ สารสีอนินทรีย์ ฟังชันนัล เคมิคัลส์ และสารเติมแต่ง ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความประหยัดเชื้อเพลิง และมีสมรรถนะที่ดีเพื่อสิ่งแวดล้อม” มร. เครเมอร์ กล่าวสรุป

ปีแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว
ในปีนี้ แลงเซส ดำเนินงานมุ่งเน้นกลยุทธ์อุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว ให้ความสำคัญที่นวัตกรรมเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำแห่งนี้ จะสามารถส่งเสริมการประหยัดทรัพยากร ให้ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์อุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียวที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการใช้แนวคิดสร้างชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์ที่มีน้ำหนักเบา และยางสมรรถนะสูงในการผลิตยางรถยนต์สีเขียว หรือ ยางกรีนไทร์ (Green tires) ที่ประหยัดเชื้อเพลิง

###
แลงเซส (LANXESS) เป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำที่มียอดขายรวม 8.8 พันล้าน   ยูโร (ประมาณ 3.61 แสนล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2554 ปัจจุบันมีพนักงานราว 16,500 คนใน 30 ประเทศ มีฐานการผลิต 48 แห่งทั่วโลก ทั้งนี้ ธุรกิจหลักของ แลงเซส (LANXESS) ได้แก่ การพัฒนา การผลิต และการจัดจำหน่ายพลาสติก ยาง สารที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต (intermediates)  และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน แลงเซส เป็นสมาชิกของ Dow Jones Sustainability Index (DJSI)  และ FTSE4Good 

——————
ที่มา : TTME NEWS

———————————–

LANXESS powering Green Mobility

Bangkok, 27 April 2012 – LANXESS, the specialty chemicals company, has declared 2012 the Year of “Green Mobility”, highlighting the premium products the specialty chemicals group develops to enable a more environmentally-friendly mobility.  As part of this themed year, LANXESS business units Semi-Crystalline Products (SCP), Inorganic Pigments (IPG), Rhein Chemie (RCH) and Functional Chemicals (FCC) displayed their state-of-the-art and innovative solutions at the Chinaplas 2012 trade fair, which was being held last week from April 18-21 at the Shanghai New International Expo Centre, Pudong.   Visitors to the LANXESS’ booth would find out how four of its business units serve the plastics market.  LANXESS supplies customers throughout the world with high-performance materials that help ensure sustainable and green mobility.


Mr Martin Kraemer, CEO, LANXESS Greater China.


LANXESS booth opening ceremony at Chinaplas 2012, during 18-21 April 2012, Shanghai, China.
(from left) Mr Mario Negri, Director Asia-Pacific, Rhein Chemie, Dr Christof Krogmann, Vice President Asia-Pacific, Semi-Crystalline Product business unit, Mr Martin Kraemer, CEO, LANXESS Greater China, Dr Wolfgang Oehlert, Vice President Asia-Pacific, Inorganic Pigments business unit, and Mr Chok Hak Leong, Sales Director Asia, Functional Chemicals business unit.


LANXESS booth at Chinaplas 2012.


Investors pay attention at LANXESS booth. Introducing a number of product innovations to support the global megatrend of Green Mobility.   

To reinforce collaboration with customers and demonstrate its rapidly increasing commitment to the Asia region, LANXESS announced it will open a new Asia-Pacific Application Development Center during Chinaplas 2012.  This new center will be located in the Hong Kong Science & Technology Park and will start up in the second half of 2012.  Hong Kong will become a technology hub for LANXESS’ Durethan and Pocan high-performance plastics by offering a comprehensive, high-value technology package including CAD and CAE facilities and a world-class parts testing center to all customers in the Asia-Pacific region.

“This application center represents our intention to be an active, eager partner with researchers, producers and customers.  It will complement our R&D center we already have in Wuxi to develop and evaluate materials solutions used in the automotive industry,” said Martin Kraemer, CEO of LANXESS Greater China.

LANXESS was honored with the green innovation awards 2012 by Plastic Technology China in the engineering plastics market for its high-performance Durethan and Pocan.  These advanced products play a vital role in the design of more environmentally responsible cars. By replacing metal components, they make cars lighter, and thus contribute to fuel efficiency and reduced emissions. In addition, Durethan and Pocan enable carmakers and car parts suppliers to achieve considerable savings through easier assembly.

Aside from the automotive segment, LANXESS has a variety of offerings for high-tech plastics solutions for a wide range of industries.  According to Kraemer, “with our cutting edge products and solutions, we are determined to help make green mobility happen here.  Our high performance materials, inorganic pigments, functional chemicals and additives are bringing added value for fuel efficiency and environmental performance.”

About the Year of Green Mobility
This year, LANXESS is focusing its activities on the core strategic subject of Green Mobility. The aim of the campaign is to focus on innovative technologies and products with which the specialty chemicals group can help to enable resource-saving, environmentally friendly, sustainable mobility. This includes such things as lightweight construction concepts for body parts and high-performance rubber for the manufacture of fuel-saving Green Tires.

###
LANXESS is a leading specialty chemicals company with sales of EUR 8.8 billion in 2011 and currently around 16,500 employees in 30 countries. The company is at present represented at 48 production sites worldwide. The core business of LANXESS is the development, manufacturing and marketing of plastics, rubber, intermediates and specialty chemicals. LANXESS is a member of the leading sustainable indices Dow Jones Sustainability Index (DJSI) World and FTSE4Good.

Forward-Looking Statements
This news release may contain forward-looking statements based on current assumptions and forecasts made by LANXESS AG management. Various known and unknown risks, uncertainties and other factors could lead to material differences between the actual future results, financial situation, development or performance of the company and the estimates given here. The company assumes no liability whatsoever to update these forward-looking statements or to conform them to future events or developments.

 

แลงเซสเข้าซื้อกิจการของ “ทีซีบี” ผู้ผลิตยางในรถยนต์จากสหรัฐอเมริกา

แลงเซสเข้าซื้อกิจการของ “ทีซีบี” ผู้ผลิตยางในรถยนต์ จากสหรัฐอเมริกา

• ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) ขยายเครือข่ายธุรกิจยางในระดับโลก
• อุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลก (Mobility megatrend) กระตุ้นความต้องการยางรถยนต์พุ่ง
• เป็นการเข้าซื้อกิจการครั้งที่สามในสหรัฐอเมริกา ในช่วง 6 เดือน

จากซ้าย) มร. อังเดร ไซมอน ผู้บริหารฝ่ายควบรวมกิจการ แลงเซส ดร. แอนโน บอร์โควสกี ประธาน ไรน์ เคมี มร. มาร์ค นัตต์ (Mark Nutt) อดีตเจ้าของ ทีซีบี (TCB) มร. แฟรงค์ ลูเอคเคน หัวหน้าฝ่ายธุรกิจยาง ไรนื เคมี 
มร. เวอร์นอน อัลมอน อดีตเจ้าของ ทีซีบี (TCB) มร.บัวเดอแวง แวน เลนท์ ประธาน ไรน์ เคมี คอร์ปอร์เรชั่น และ มร. เวส มอร์ริสัน ไรน์ เคมี คอร์ปอร์เรชั่น 

แลงเซส (LANXESS) บริษัทผู้ผลิตเคมีภัณฑ์เฉพาะด้านชั้นนำของโลก จากประเทศเยอรมนี เดินหน้าเสริมสร้างความแข็งแกร่งในฐานะซัพพลายเออร์ชั้นแนวหน้าในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ โดยล่าสุด ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) บริษัทในเครือที่แลงเซสเป็นเจ้าของเองทั้งหมด ได้เข้าซื้อกิจการของ บริษัท ไทร์ คูริ่ง เบลดเดอร์ส แอล แอล ซี จำกัด (Tire Curing Bladders LLC: TCB) หนึ่งในผู้นำด้านการผลิตยางในรถยนต์ สำหรับอุตสาหกรรมยางรถยนต์ของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขมูลค่าการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ โดยการดำเนินงานจะมีผลในทันที ที่การเข้าซื้อกิจการเสร็จสิ้น

บริษัท ไทร์ คูริ่ง เบลดเดอร์ส แอล แอล ซี จำกัด หรือ ทีซีบี (TCB) เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในเมือง ลิตเติล ร็อค รัฐอาร์คันซอ สหรัฐอเมริกา และมีโรงงานผลิตยางในรถยนต์ ด้วยกำลังการผลิตกว่า 400,000 ยูนิต บริษัทแห่งนี้มียอดขาย 21 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 646 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2554 และมีพนักงานราว 100 คน โดย ทีซีบี (TCB) ผลิตยางในเพื่อจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือเป็นหลัก

“การเข้าซื้อกิจการของ ทีซีบี (TCB) ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในกลยุทธ์การผลักดันให้ ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) ก้าวสู่ตำแหน่งผู้ผลิตยางในคุณภาพสูงระดับโลก”
มร. ไรน์เนีย แวน รอสเซล กรรมการบริหาร ของแลงเซส กล่าว “บริษัทกำลังเร่งเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับการเติบโตของฐานลูกค้าในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ และนอกจากนี้เรายังบุกตลาดยางในสำหรับยางของรถบรรทุก ออฟโร้ด (Off-road) และยานพาหนะที่ใช้ในการเกษตร รวมถึงเครื่องจักรกลก่อสร้างอีกด้วย”

โรงงาน ไรน์ เคมี (Rhein Chemie)  เมืองมันน์ไฮม์ ประเทศเยอรมนี

โรงงาน ไรน์ เคมี (Rhein Chemie)  เมืองมันน์ไฮม์ ประเทศเยอรมนี

“เรารู้สึกยินดีที่ ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) จะช่วยให้กลุ่มพนักงานที่มีความมุ่งมั่นทุ่มเทของเรามีโอกาสก้าวหน้าและประสบความสำเร็จมากขึ้นอีกขั้นผ่านเครือข่ายการดำเนินธุรกิจที่กระจายอยู่ทั่วโลกและแบรนด์ที่มีชื่อเสียง” มร. เวอร์นอน อัลมอน และ มร. มาร์ค นัตต์ (Mark Nutt) อดีตเจ้าของ ทีซีบี (TCB) กล่าว

ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) เริ่มผลิตยางในเมื่อปีที่แล้วโดยการเข้าซื้อกิจการของดาร์เม็กซ์ (Darmex) ในอาร์เจนตินา โดยยางในของ ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) ทำตลาดภายใต้แบรนด์ “เรโนเชป” (Rhenoshape)

“ยางใน “เรโนเชป” (Rhenoshape) รวมถึง เรโนดิฟ (Rhenodiv) ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเราอย่างครบครัน ทำหน้าที่จัดหาผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียมครบวงจรให้แก่ผู้ผลิตยางรถยนต์ทั่วโลก ซึ่งช่วยยกระดับประสิทธิภาพและคุณภาพของผู้ผลิตเหล่านั้นได้อย่างมาก ดังนั้น การพัฒนาทั้งหลายในอนาคตของเราจะช่วยขยายขอบเขตความเชี่ยวชาญเหล่านี้” ดร. แอนโน บอร์โควสกี ประธาน ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) กล่าว

ยางในมีไว้ใช้ในกระบวนการผลิตยางรถยนต์ โดยยางที่ใช้ผลิตยางรถยนต์ที่ยังไม่ได้เติมสารทำให้คงรูป (Nonvulcanized tire) จะถูกนำไปวางในแม่พิมพ์ เมื่อแม่พิมพ์ถูกปิด แรงดันภายในจะดันให้ยางนั้นแนบติดกับผนังด้านในของแม่พิมพ์ยาง ซึ่งขั้นตอนนี้ทำได้โดยใช้ยางในชนิดบิวทิล (Butyl Rubber Bladder) ที่จากนั้นจะพองขึ้นภายใต้แรงดันสูง และที่อุณหภูมิสูงเพื่อให้ได้รูปทรงของยางที่ต้องการในขั้นสุดท้าย

คาดการณ์ว่าปริมาณความต้องการยางในจะเพิ่มขึ้นตามการผลิตยางรถยนต์ทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า กระแสโลกด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังมาแรง เป็นแรงกระตุ้นการเติบโตดังกล่าว ซึ่งมีปัจจัยหนุนมาจากการขยายตัวของจำนวนประชากรชนชั้นกลาง ในหลายประเทศ เช่น บราซิล จีน และอินเดีย

นอกจากนี้ จำนวนบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็กำลังนิยมจ้างเหมาบริษัทอื่นผลิตยางในเพื่อเพิ่มผลิตผลโดยรวม และเพื่อประโยชน์ด้านการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ซึ่งผู้ผลิตยางในที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสามารถตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้ ทั้งนี้ คาดว่าขนาดตลาดยางในทั่วโลกจะมีมูลค่ากว่า 300 ล้านยูโร (ประมาณ 12.24 หมื่นล้านบาท)

ไรน์ เคมี (Rhein Chemie)  มียอดขายประมาณ 280 ล้านยูโร (ประมาณ 11.43 หมื่นล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2553 และมีพนักงานประมาณ 1,000 คนทั่วโลก บริษัทนี้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2432 ในเมืองมันน์ไฮม์ ประเทศเยอรมนี และมีฐานการผลิตในประเทศเบลเยียม สหรัฐอเมริกา อุรุกวัย บราซิล อินเดีย จีน อาร์เจนตินา และญี่ปุ่น

โรงงาน ไรน์ เคมี (Rhein Chemie)  เมืองมันน์ไฮม์ ประเทศเยอรมนี

การเข้าซื้อกิจการของ ทีซีบี (TCB) ครั้งนี้นับเป็นการเข้าซื้อกิจการครั้งที่ 3 ของ แลงเซส ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงระยะเวลาเพียง 6 เดือน โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา แลงเซสได้เข้าซื้อกิจการของยูนิเท็กซ์ (Unitex) บริษัทผู้ผลิตสารที่ใช้เติมในพลาสติกเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ทนทาน โปร่งแสงและใช้งานได้นาน โดยปราศจากสารทาร์เลส (Phthalate) หรือที่เรียกว่า Phthalate-free Plasticizers ในเมืองกรีนสโบโร รัฐนอร์ท แคโรไลนา และจากนั้นอีกหนึ่งเดือนถัดมาได้ทำการเข้าซื้อกิจการของ เวอริเคม (Verichem) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารป้องกันวัสดุที่เติมสารไบโอไซด์ อันเป็นสารกำจัดอินทรีย์สาร (Biocide Material Protection) ในเมืองพิตส์เบิร์ก รัฐเพนซิลวาเนีย

“ทวีปอเมริกาเหนือยังคงเป็นตลาดที่สำคัญอย่างมาก  สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เฉพาะทางและโซลูชั่น  ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาโดย      แลงเซส” มร. แวน รอสเซล กล่าว

แลงเซส (LANXESS) เป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำที่มียอดขายรวม 7.1 พันล้าน   ยูโร (ประมาณ 2.89 แสนล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบันมีพนักงานราว 16,100 คนใน 30 ประเทศ มีฐานการผลิต 47 แห่งทั่วโลก ทั้งนี้ ธุรกิจหลักของ แลงเซส (LANXESS) ได้แก่ การพัฒนา การผลิต และการจัดจำหน่ายพลาสติก ยาง สารที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต (intermediates)  และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน แลงเซส เป็นสมาชิกของ Dow Jones Sustainability Index (DJSI)  และ FTSE4Good

——————–

LANXESS acquires U.S. bladder producer Tire Curing Bladders LLC (TCB)

•Rhein Chemie expands global network for bladders
•Mobility megatrend underpinning demand for tires
•Third acquisition in the USA within six months

(from left) Andre Simon (Mergers & Acquisitions, LANXESS AG), Anno Borkowsky (Global Head of Rhein Chemie), Mark Nutt (former TCB owner), Frank Lueckgen (Head of Business Line Rubber, Rhein Chemie), Vernon Almon (TCB former owner), Boudewijn van Lent (President, Rhein Chemie Corporation), and Wes Morrison (Rhein Chemie Corporation). 

LANXESS is strengthening its position as a premium supplier to the tire industry. The specialty chemicals company’s wholly-owned subsidiary Rhein Chemie has acquired USA-based Tire Curing Bladders LLC (TCB) – a leading manufacturer of bladders for the tire industry. Financial details were not disclosed. The transaction will close with immediate effect.

Privately-owned TCB is based in Little Rock, Arkansas, and operates a bladder production facility with an annual capacity in excess of 400,000 units. The company achieved sales of USD 21 million (around THB 646 million) in 2011 and employs approximately 100 people. TCB serves primarily the North American market.

“The acquisition of TCB is a further cornerstone in our strategy to position Rhein Chemie as a global producer of high-quality bladders,” said Rainier van Roessel, Board Member of LANXESS. “We are gaining capacities to serve our growing list of tire customers and we also gain access to bladders for tires of trucks, off-road and agricultural vehicles, as well as building machines.”

“We are delighted that Rhein Chemie will give our committed workforce the platform to achieve even more success through its global reach and well-known brands,” said TCB’s former joint owners Vernon Almon and Mark Nutt.

Rhein Chemie gained access to bladder production last year through the acquisition of Argentina’s Darmex. Rhein Chemie bladders are marketed under the Rhenoshape brand.

“Rhenoshape bladders, together with our comprehensive portfolio of environmentally friendly Rhenodiv release agents, provide tire manufacturers worldwide with premium solutions for significantly increasing their efficiency and quality. Our future developments will continue to expand these competencies,” said Anno Borkowsky, Head of Rhein Chemie.

Bladders are used in the manufacturing process of tires. A non-vulcanized tire is placed in a press. Once the press is shut, the internal pressure forces the tire against the internal wall of the tire mold. This is done using a butyl rubber bladder that is then inflated under high pressure and at high temperatures to give the tire its final shape.

Rhein Chemie in Mannheim, Germany 


Rhein Chemie in Mannheim, Germany

The demand for bladders is expected to grow parallel to global tire production, which is expected to grow on average by five percent per year in the coming years. The megatrend of mobility is underpinning this growth, driven by a growing middle-class in countries such as Brazil, China and India.

In addition, an increasing number of tire companies are outsourcing their bladder production in order to optimize productivity and take advantage of the higher quality offered by bladder specialists. The size of the global bladder market is estimated at more than EUR 300 million (around THB 12.24 billion).

Rhein Chemie achieved sales of roughly EUR 280 million (around THB 11.43 billion) in 2010 and employs about 1,000 people worldwide. Founded in 1889, Rhein Chemie is based in Mannheim, Germany, and has production sites in Belgium, USA, Uruguay, Brazil, India, China, Argentina and Japan.

The purchase of TCB is LANXESS’ third acquisition in the USA within six months. LANXESS acquired, in October last year, the phthalate-free plasticizers company Unitex in Greensboro, North Carolina, and one month later the biocide material protection specialist Verichem in Pittsburgh, Pennsylvania.

Rhein Chemie in Mannheim, Germany

“North America remains a very important market for specialty chemicals and technology-driven solutions developed by LANXESS,” said van Roessel.

LANXESS is a leading specialty chemicals company with sales of EUR 7.1 billion in 2010 (around THB 2.89 trillion) and currently around 16,100 employees in 30 countries. The company is at present represented at 47 production sites worldwide. The core business of LANXESS is the development, manufacturing and marketing of plastics, rubber, intermediates and specialty chemicals. LANXESS is a member of the leading sustainable indices Dow Jones Sustainability Index (DJSI) World and FTSE4Good.

Forward-Looking Statements.

This news release may contain forward-looking statements based on current assumptions and forecasts made by LANXESS AG management. Various known and unknown risks, uncertainties and other factors could lead to material differences between the actual future results, financial situation, development or performance of the company and the estimates given here. The company assumes no liability whatsoever to update these forward-looking statements or to conform them to future events or developments.

TTME NEWS
T./F. 0 2726 4800