ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ปี 2558 : ผลด้านบวกและด้านลบต่อธุรกิจท่องเที่ยว

ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ซึ่งการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นมาจากแนวคิดที่ว่า อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นตลาดหรือฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base) โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายเสรี (Free Flow) ใน 5 สาขา ได้แก่ (1) การเปิดเสรีการค้าสินค้า คือ มีเป้าหมายที่จะดำเนินการยกเลิกภาษีสินค้า (2) การเปิดเสรีการค้าบริการ โดยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในสาขาบริการที่สำคัญ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่สนใจเข้าไปลงทุนในประเทศที่เป็น สมาชิกได้อย่างเสรีมากขึ้น เช่นเดียวกับผู้ประกอบการจากประเทศที่เป็นสมาชิกก็จะสามารถเข้ามาลงทุนใน ประเทศไทยได้อย่างเสรีเช่นกัน ซึ่งรวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวและการบริการที่เกี่ยวเนื่อง (3) การเปิดเสรีการลงทุน ในสาขาอุตสาหกรรมที่ตกลงกัน โดยมี การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรีเหมือนอยู่ในประเทศเดียวกัน ผู้ประกอบการในประเทศสมาชิกสามารถดำเนินกระบวนการผลิตในประเทศใดก็ได้ (4) การเปิดเสรีด้านเงินทุน เคลื่อนย้าย และ (5) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ

ภายใต้กรอบ AEC การเปิดเสรีด้านบริการ ซึ่งรวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจจำหน่ายสินค้าของที่ระลึกนักท่องเที่ยว ธุรกิจร้านอาหารและสถานบันเทิง ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เป็นต้น จัดอยู่ในกลุ่มเร่งรัด ที่กำหนดยกเลิกเงื่อนไขข้อจำกัดทั้งหมด และขยายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนเป็นร้อยละ 70 ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ดี การเปิดเสรีบริการด้านท่องเที่ยว ทำให้หลายประเทศในอาเซียนต่างตื่นตัวและเร่งปรับกลยุทธ์ โดยเฉพาะการวางแผนนโยบายท่องเที่ยว ระดับประเทศ อาทิ รัฐบาลสิงคโปร์ทุ่มงบประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก และเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว ที่คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์รายได้จากภาคท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 200 หรือ 30 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ในปี 2558 รวมไปถึงบรรดาประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีนของไทย ที่เพิ่งเปิดประเทศไม่นาน ได้แก่ ลาว กัมพูชา และพม่า ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากนานาประเทศ และรัฐบาลของประเทศเหล่านี้กำลังเร่งพัฒนาบริการขั้นพื้นฐาน เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการลงทุนที่หลั่งไหลเข้ามาจากต่างประเทศ รวมทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ตลาดอาเซียน : สร้างรายได้ท่องเที่ยวให้ไทยปีละ 1.3 แสนล้านบาท

สำหรับประเทศไทยนั้น ภาครัฐโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีนโยบายเร่งพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของ ผู้ปฏิบัติงาน และอยู่ระหว่างการผลักดัน ให้มีสภาวิชาชีพของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพเป็นที่ ยอมรับในระดับสากล เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่าง มาก โดยในปี 2553 รายได้ท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมี มูลค่า 5.931 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ที่มีมูลค่า 10,1052 พันล้านบาท และในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551-2554) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.5 จาก จำนวน 14.46 ล้านคนในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 19.10 ล้านคนในปี 2554 ขณะที่นักท่องเที่ยวจากตลาดอาเซียน ขยายตัวอย่างรวดเร็วเฉลี่ยร้อยละ 9.3 ต่อปีในช่วงปี 2543-2554 จากที่มีจำนวนเพียง 1.94 ล้านคนในปี 2542 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 22.6 ของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยรวมของไทย ที่มีจำนวน 8.58 ล้านคนในปีเดียวกัน เพิ่มขึ้นเป็น 5.53 ล้านคนในปี 2554 และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29.0 ในปี 2554

นอกจากจะเติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว ตลาดนักท่องเที่ยวอาเซียนยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าตัว จากที่มีมูลค่าเพียง 32,381 ล้านบาทในปี 2542 เพิ่มขึ้นเป็น 97,537 ล้านบาทในปี 2553 และ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ในปี 2554 รายได้จากนักท่องเที่ยวอาเซียนจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 22 จากปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่าประมาณ 119,000 ล้านบาท ทำให้รายได้ท่องเที่ยวจากตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13.5 ต่อปีในช่วงปี 2543-2554

สำหรับในปี 2555 ช่วงไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรวมทั้งสิ้นประมาณ 5.69 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามามากอันดับหนึ่ง คือ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชีย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 53.3 (ประกอบด้วย นักท่องเที่ยวจากประเทศในอาเซียนร้อยละ 24.2 นักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกร้อยละ 24.4 และนักท่องเที่ยวจากประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ร้อยละ 4.7) รองลงมา คือ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 33.9 ภูมิภาคอเมริการ้อยละ 5.3 ภูมิภาคโอเชียเนียร้อยละ 4.2 ภูมิภาคตะวันออกกลางร้อยละ 2.5 และภูมิภาคแอฟริการ้อย ละ 0.8 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณานักท่องเที่ยวในตลาดอาเซียน พบว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 มีนักท่องเที่ยวจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรวมทั้ง สิ้นประมาณ 1.38 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยตลาดที่มีขนาดใหญ่ 3 อันดับแรกในกลุ่มอาเซียน คือ มาเลเซีย ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังประเทศไทยจำนวน 5.8 แสนคน รองลงมา คือ ลาว มีจำนวน 2.4 แสนคน และสิงคโปร์ มีจำนวน 1.7 แสนคน ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในด้านการเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าแล้ว พบว่า ตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว 3 อันดับแรก คือ เวียดนาม ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 รองลงมา คือ ลาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 และพม่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ตามลำดับ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า โดยรวมตลอดทั้งปี 2555 จะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรวมทั้ง สิ้น ประมาณ 6.0 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และก่อให้เกิดรายได้ท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 130,000 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2

แนวทางการเตรียมความพร้อมรับ … การเปิดเสรีภาคการท่องเที่ยวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การเปิดเสรีการบริการด้านท่องเที่ยวนั้น มีผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวของไทย จะต้องเตรียมวางแผนทางธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจาก AEC

การเปิดเสรีบริการด้านการท่องเที่ยว จะเป็นการเปิดในลักษณะของการเคลื่อนย้ายการลงทุน ซึ่งตามข้อตกลงใน AEC Blueprint คือ ลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดในด้านต่างๆลง และเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลสัญชาติอาเซียน โดยสามารถถือหุ้นได้สูงถึงร้อยละ 70 ซึ่งภายใต้กรอบ AEC ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องถูกจัดให้อยู่ในสาขาเร่งรัดการรวม กลุ่ม (Priority Integration Sectors : PIS) เช่นเดียวกับภาคบริการอื่นๆ อีก 4 สาขา ได้แก่ คอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม บริการสุขภาพ การขนส่งทางอากาศ และโลจิสติกส์ ซึ่งกำหนดให้ยกเลิกเงื่อนไขต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดทั้งหมด รวมทั้งทยอยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 70 ในปี 2553 แต่ในปัจจุบันก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ เช่น การกำหนดมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของแต่ละ ประเทศในอาเซียน อาทิ พนักงานทำความสะอาด ผู้จัดการแผนกต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อท้ายที่สุดจะสามารถผลักดันให้มีการเคลื่อนย้ายผู้ให้บริการที่ ได้รับการรับรองคุณสมบัติวิชาชีพ (Mutual Recognition Agreements: MRA) ภายในภูมิภาคได้อย่างเสรี
สัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนสัญชาติอาเซียน ตามแผนงานใน AEC Blueprint
(สาขาธุรกิจท่องเที่ยว)


แม้ว่าตามแผนงาน AEC Blueprint ประเทศไทยควรจะอนุญาตให้นักลงทุนชาติอาเซียนสามารถถือหุ้นได้ร้อยละ 70 ตั้งแต่ปี 2553 แต่ปัจจุบันในปี 2555 ประเทศไทยยังคงอนุญาตให้ถือหุ้นได้เพียงร้อยละ 49 เนื่องมาจากกฎหมายภายในประเทศอยู่ระหว่างการพัฒนาและการพิจารณาของรัฐสภา3

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ผลกระทบจากการเปิดเสรีบริการด้านท่องเที่ยว ที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของไทยในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้องโดยสังเขป ดังนี้

ธุรกิจโรงแรม
การเปิดเสรีในส่วนของธุรกิจโรงแรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน มีประเด็นสำคัญในเรื่องของสัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติ ที่ยังมิได้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด คือ ประเทศสมาชิกอาเซียนเปิดให้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนเป็น ร้อยละ 70 ในปี 2558 ในสาขาธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง โดยปัจจุบัน ประเทศสมาชิกตกลงในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ ดังนี้ ประเทศมาเลเซียอนุญาตให้ชาวต่างชาติร่วมทุนกับนักธุรกิจมาเลเซียและถือหุ้น ได้ไม่เกินร้อยละ 51 (เฉพาะโรงแรม ระดับ 4-5 ดาว) ส่วนประเทศสิงคโปร์ไม่มีข้อจำกัดใดๆ สำหรับการลงทุนของชาวต่างชาติในธุรกิจโรงแรม ขณะที่ประเทศไทยเองก็กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติให้ถือได้ไม่เกิน ร้อยละ 49 (กรณีที่เป็นบริษัทจำกัด)

ปัจจุบันนักลงทุนไทยสามารถเข้าไปตั้งธุรกิจท่องเที่ยวและบริการโดยเป็น เจ้าของ 100% หรือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในประเทศเวียดนามได้ แต่มี เงื่อนไขว่านักลงทุนต้องดำเนินการสร้าง ปรับปรุง ฟื้นฟู แล้วจึงจะได้กรรมสิทธิ์หลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม ภาครัฐของแต่ละประเทศก็มีแผนงานดำเนินการเพื่อผลักดันให้นักลงทุนต่างชาติ สามารถถือหุ้นได้สูงถึงร้อยละ 70 ตามเป้าหมายของประเทศอาเซียนในการเปิดเสรีการบริการด้านท่องเที่ยว

สำหรับผลของการเปิดเสรีในส่วนธุรกิจโรงแรมที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมของไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ปัจจุบันธุรกิจโรงแรม ในประเทศไทยมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นในทุกระดับราคาและทุกกลุ่มลูกค้า ซึ่งแม้แต่ผู้เล่นรายใหญ่ที่จะเน้นการพัฒนาโรงแรมระดับบนเองยังได้ลงมาทำ ตลาดโรงแรมระดับกลางเพื่อให้ครอบคลุมทุกตลาด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังได้จับมือกับเชนโรงแรมต่างประเทศ เพื่อขยายฐานตลาดให้กว้างขึ้น ส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจโรงแรมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในไทยอยู่ค่อนข้าง มาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงแรมขนาดเล็กที่มีพนักงานประมาณ 10-15 คน4

ดังนั้น เมื่อมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว จะยิ่งเพิ่มระดับความรุนแรงของการแข่งขันด้านการตลาดของธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะกลุ่ม เชนบริหารโรงแรมชั้นนำจากต่างประเทศ (ที่มีความพร้อมทั้งด้านเงินทุนและบุคลากร รวมทั้งความได้เปรียบด้านการตลาด) มีแนวโน้มจะขยายการลงทุนและขยายเครือข่ายการบริหารโรงแรม เข้ามาในตลาดระดับกลางเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมระดับกลางลงมาของไทย ซึ่งเสียเปรียบด้านการตลาด และส่วนใหญ่มีข้อจำกัดด้านเงินทุน จะประสบปัญหาอัตราการเข้าพักลดลง และนำไปสู่การแข่งขันด้านราคาห้องพักมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องได้ในที่สุด เปิดโอกาสให้คู่แข่งซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติสามารถดำเนินการซื้อหรือควบรวม กิจการได้ง่ายขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่บริหารกิจการเอง ต้องเร่งพัฒนาและปรับตัวเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเปิดเสรีฯ โดยมีแนวทางดังนี้

(1) วิเคราะห์ศักยภาพของกิจการ เพื่อชูความได้เปรียบหรือจุดแข็งของกิจการ เป็นจุดขายที่แตกต่างและโดดเด่น อาทิ คุณภาพการให้บริการของคน ไทยที่โดดเด่นในด้านการมีจิตใจในการให้บริการ ความได้เปรียบด้านราคาที่มีความคุ้มค่าการบริการ ความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่มีให้ เลือกอย่างหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค

(2) วางตำแหน่งของกิจการที่เหมาะสม และกำหนดตลาดเป้าหมายให้ชัดเจนว่า จะเน้นให้บริการลูกค้าในตลาดนักท่องเที่ยวทั่วไปซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ และมักเป็นนักท่องเที่ยวที่เพิ่งเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยเป็นครั้งแรก หรือนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม (อาทิ กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มประชุมสัมมนา กลุ่มท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กลุ่มคู่ ฮันนีมูน กลุ่มจัดงานแต่งงาน กลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กลุ่มพำนักท่องเที่ยวระยะยาว กลุ่มทัวร์กอล์ฟ กลุ่มทัวร์ดำน้ำ เป็นต้น) ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กแต่มีกำลังซื้อสูงส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยว กลุ่มเที่ยวซ้ำ (คือ เคยเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยแล้ว) และปรับแผนการบริการและแผนการตลาดให้สอดคล้องกับตลาดเป้าหมาย และการปรับเปลี่ยนของตลาด เช่นในปัจจุบันที่ตลาดยุโรปกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ และนิยมเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง บรรดาผู้ประกอบการควรหันไปขยายตลาดท่องเที่ยวระยะใกล้ในภูมิภาคเอเชีย ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง

(3) พัฒนาทักษะการใช้ภาษาสากลและภาษาในกลุ่มอาเซียน อาทิ มาเลย์ พม่า ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการมีงบประมาณไม่เพียงพอในการพัฒนาทักษะด้านภาษา อาจจะพิจารณานำแนวคิดของการรับสมัครอาสาสมัครที่มีความสามารถด้านภาษามาปรับ ใช้ แต่ต้องมีการฝึกอบรมทักษะด้านบริการให้กับกลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ก่อน

(4) การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ประกอบการทั้งในและนอกประเทศน่าจะช่วยให้ ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการแข่งขันและเพิ่มทางเลือกให้กับ ลูกค้าได้มากขึ้น เช่น นำเสนอแพ็กเกจห้องพักราคาเดียวแต่สามารถเลือกที่พักได้หลายแห่งในต่างทำเล ที่ตั้ง (อาทิ ชายทะเล เกาะ ภูเขา ป่า )แต่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรติดตามข้อมูลข่าวสาร ช่องทางการดำเนินธุรกิจ และแนวทางการปรับตัว เพื่อให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการแข่งขัน อย่างยั่งยืน เพราะการเปิดเสรียังคงจะดำเนินต่อไป ไม่ว่าจะเป็น ASEAN +3 หรือ ASEAN+ 6

ธุรกิจนำเที่ยว
ธุรกิจนำเที่ยว เป็นธุรกิจที่ให้การบริการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว อาทิ การให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเพื่อประกอบการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว การวางแผนการเดินทาง การบริการด้านที่พัก และจัดแพ็กเกจท่องเที่ยว เป็นต้น
ธุรกิจนำเที่ยวแบ่งออกตามลักษณะของการจัดบริการท่องเที่ยว ได้แก่
(1) ธุรกิจนำเที่ยวภายในประเทศ ( Domestic Tour Operator) คือ การจัดนำนักท่องเที่ยวที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยว ภายในประเทศ
(2) ธุรกิจนำนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ (Inbound Tour Operator)
(3) ธุรกิจนำนักท่องเที่ยวคนไทยเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างประเทศ (Outbound Tour Operator)

สำหรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในหมวดการนำเที่ยว ในปัจจุบันประเด็นของสัดส่วนการถือหุ้นของชาติสมาคมอาเซียนยังมีข้อจำกัด และเงื่อนไขบางประการ ได้แก่ ประเทศมาเลเซียอนุญาตให้ชาวต่างชาติร่วมทุนกับนักธุรกิจชาวมาเลเซียก่อตั้ง บริษัทนำเที่ยว โดยสามารถถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 51 ขณะที่ประเทศไทย กำหนดให้คณะผู้บริหารครึ่งหนึ่งต้องเป็นคนไทย ส่วนประเทศสิงคโปร์และเวียดนามไม่มีข้อกำหนดใดๆ สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการประกอบธุรกิจนี้

ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวในไทยมีจำนวนค่อนข้างมาก เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวให้เลือกอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะแหล่งท่อง เที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยข้อมูลล่าสุดเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 จากสำนักงานทะเบียนและธุรกิจนำเที่ยว พบว่า มีผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยมากถึง 10,507 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบขนาดเล็ก ส่วนจำนวนมัคคุเทศก์ชาวไทยมีกว่า 58,324 ราย ซึ่งร้อยละ 65 สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ปัจจุบันอาชีพมัคคุเทศก์ชาวไทยยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพนี้เป็นอาชีพอิสระ จึงค่อนข้างเป็นอุปสรรคในการพัฒนาธุรกิจนำเที่ยวของไทยให้มีความ พร้อมต่อการเปิดเสรีได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวราย ใหญ่จากต่างประเทศสามารถเข้ามาลงทุนเปิดสาขาบริษัทนำเที่ยวในประเทศไทยได้ มากขึ้น แม้จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้บริหารและอาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพที่สงวนไม่ อนุญาตให้คนต่างด้าวก็ตาม ซึ่งผู้ประกอบการจากต่างประเทศเหล่านี้อาจจะกลายมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญของ บริษัทนำเที่ยวในไทย เนื่องจากบริษัทนำเที่ยวต่างชาติจะมีจุดเด่น คือ มีฐานลูกค้าในประเทศของตน และจากการที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ทำให้อำนาจต่อรองในเรื่องของราคามีค่อนข้างสูง ซึ่งก็อาจมีผลกระทบต่อบริษัทนำเที่ยวของคนไทยได้เช่นกัน

ดังนั้น ผู้ประกอบการควรจะต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจมีผลต่อธุรกิจของตนด้วยเช่นกัน อาทิ

(1) ส่งเสริมการนำเที่ยวเฉพาะด้าน หรือเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น การนำเสนอการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแก่ลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศใน กลุ่มภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่ปัจจุบันนิยมเดินทางเข้ามารับบริการด้านการแพทย์ในประเทศไทยอยู่แล้ว หรือลูกค้ากลุ่มที่มีศักยภาพทางการเงินจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติด กับไทย ทำให้สะดวกในการเดินทาง อาทิ นักท่องเที่ยวในตลาดระดับบนของพม่าซึ่งปัจจุบันนิยมเดินทางมาเที่ยวกรุงเทพฯ และรายการนำเที่ยวที่ได้รับความนิยม คือ ไหว้พระในวัดพระแก้ว ชมพระบรมมหาราชวัง จับจ่ายซื้อสินค้าในศูนย์การค้าชั้นนำย่านราชประสงค์ และเที่ยวชายทะเลแถบพัทยา ขณะที่นักท่องเที่ยวในตลาดระดับกลางที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทั้งลาวและพม่า จะนิยมเดินทางข้ามพรมแดนมาท่องเที่ยวพักผ่อน และจับจ่ายซื้อสินค้า รวมทั้งเข้ามารับบริการด้านการแพทย์ในประเทศไทย ตามเมืองท่องเที่ยวหลักใกล้พรมแดน เช่น อุดรธานี ขอนแก่น เชียงราย เชียงใหม่ และแม่สอด เป็นต้น

(2) สร้างพันธมิตรทางธุรกิจทั้งภายในกลุ่มธุรกิจเดียวกันและกลุ่มธุรกิจอื่นที่ เกี่ยวข้อง เช่น หากมุ่งเน้นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ก็ควรจะเป็น พันธมิตรกับหลากหลายโรงพยาบาล หรือธุรกิจบริการรถเช่า เพื่อบริการรับ-ส่งลูกค้าจากสนามบินไปโรงพยาบาล หรือไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

(3) ส่งเสริมการตลาดผ่าน Social Media Marketing ที่น่าจะเหมาะกับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก เพราะสามารถลดต้นทุนการทำประชา สัมพันธ์และเข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่มได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ดี การใช้สื่อออนไลน์ก็มีข้อพึงระวังเพราะหากลูกค้าเกิดความไม่พอใจการให้ บริการก็อาจจะใช้โลกออนไลน์นี้ในการแสดงความคิดเห็นได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น การรักษาคุณภาพการบริการให้ได้มาตรฐานสากลเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการพึง ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาและให้ข้อมูลล่าสุดผ่านทางเว็บไชต์ผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการติดต่อและสื่อสารกับลูกค้าโดยตรง

ผลกระทบทางอ้อมต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว…หลังการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การเปิดเสรีอาเซียน ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่จะต้อง ปรับตัวเท่านั้น แต่การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังส่งผลในด้านบวกช่วยเกื้อหนุนต่อ ธุรกิจท่องเที่ยวเช่นกัน ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คงจะต้องศึกษาข้อมูล AEC ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจาก AEC ซึ่งนอกเหนือจากผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจการท่องเที่ยวแล้ว AEC ยังมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องในทางอ้อม ได้แก่ ธุรกิจไมซ์ (Meeting, Incentive, Convention and Exhibition: MICE)

โอกาสของธุรกิจ MICE
เมื่อเปรียบเทียบกิจกรรมไมซ์ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ไทยมีกิจกรรมไมซ์เป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ส่วนตลาดไมซ์ของมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม มีการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากว่า มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มีความได้เปรียบด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ขณะที่เวียดนามก็พยายามหาพันธมิตรเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน โดยล่าสุดได้มีการลงนามในกรอบความร่วมมือระหว่างไทยและเวียดนามในด้านการแลก เปลี่ยนข้อมูล และจัดกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมไมซ์ระหว่างกัน (Cross promotion) ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) ให้ข้อมูลการเติบโตของกิจกรรมไมซ์ในประเทศไทยและเวียดนามว่า มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 15- 20 ต่อปี

ปัจจุบัน ไทยมีศูนย์การประชุมและศูนย์จัดแสดงสินค้าในระดับนานาชาติที่เปิดให้บริการ รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง ได้แก่ 1) ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติกรุงเทพ มหานคร (BITEC) 2) ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) และ 3) IMPACT Convention Center

นอกจากนี้ ยังมีศูนย์การประชุมนานาชาติที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จ ในปี 2555 คือ ศูนย์การประชุมนานาชาติที่เชียงใหม่ ขณะที่มีการขยายบริการในด้านการจัดประชุมสัมมนา ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ของบรรดาผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และขอนแก่น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเพิ่มความร่วมมือด้านกิจกรรมไมซ์กับ ประเทศสมาชิกในกลุ่มประชาคมอาเซียน ให้มีศักยภาพในการแข่งขัน และสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้ากิจกรรมไมซ์จากฝั่งยุโรปและอเมริกาให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพการบริการให้ได้มาตรฐานสากล และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นทักษะในด้านภาษาให้มีความหลากหลาย และเข้าร่วมการทำ Road Show กับภาครัฐเพื่อกระตุ้นการรับรู้จากนานาประเทศ

บทสรุป



ปัจจุบัน การท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศไทย ทั้งนี้ด้วยความโดดเด่นของคุณภาพการให้บริการซึ่งเป็นที่ยอมรับและน่าประทับ ใจ รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนค่าครองชีพที่อยู่ในระดับต่ำกว่าคู่แข่งหลายประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว พักผ่อน หรือใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณที่ประเทศไทย นับเป็นความได้เปรียบด้านการแข่งขันในธุรกิจนี้ของผู้ประกอบการไทย

อย่างไรก็ตาม คงยากจะหลีกเลี่ยงการรวมกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่มีการเปิดเสรีภาคบริการขึ้นในปี 2553 ซึ่งจะนำไปสู่ทั้งผลบวกและผลลบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ของไทย ดังนั้น ผู้ประกอบการเองคงต้องปรับมุมมองนี้ ให้เป็นโอกาสในการขยายธุรกิจไปยังประเทศสมาชิกอื่นๆ และการเร่งพัฒนาศักยภาพ ด้านการบริหาร ทักษะการให้บริการ ทักษะด้านภาษา (ภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศสมาชิก) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหลังการเปิดเสรีแบบเต็มรูปแบบ กล่าวคือ การรวมกลุ่มจะช่วยขยายฐานลูกค้าจากจำนวนประชากรในประเทศไทยที่มีจำนวน 65 ล้านคน เป็นประชากรอาเซียนจำนวนกว่า 600 ล้านคน ฉะนั้น ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อ การปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

สำหรับการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวรองรับ การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ควรเริ่มจาก (1) วิเคราะห์จุดแข็งและเสริมจุดแข็งด้านต่างๆ อาทิ คุณภาพการให้บริการศักยภาพด้านบุคลากร เป็นต้น (2) นอกจากการวิเคราะห์จุดแข็งแล้ว ยังมีจุดอ่อนที่ควรพยายามพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น อาทิ การทำ การประชาสัมพันธ์ หรือทักษะด้านภาษาของบุคลากร และ (3) การรวมกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเดียวกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและพัฒนาทักษะของ บุคลากรให้มีคุณภาพการให้บริการได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการมีความพร้อมด้านเงินทุนและแรงงานก็น่าจะมองหาโอกาสเข้าไป ลงทุนในประเทศสมาชิกเพื่อขยายกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในธุรกิจโรงแรมหรือการขยายการบริการโรงแรมเข้าไป ในพม่า ที่เพิ่งเปิดประเทศและได้รับความสนใจจากนานาประเทศ

ขณะที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการของนักท่อง เที่ยวทั้งในและนอกกลุ่มอาเซียนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการควรจะมุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ ซึ่งกระแสกำลังมาแรงในหมู่นักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ การท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร กิจกรรมไมซ์ (MICE) และกิจกรรมด้านกีฬา (Sport Event) ทั้งนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการทำวิจัยถึงความ เป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเที่ยวแต่ละรูปแบบ และการส่งเสริมด้านการตลาดเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยรวมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการของไทยมี ความพร้อมต่อการแข่งขันอย่างเสรี และมีศักยภาพในการขยายตลาดไปยังประเทศสมาชิกภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน รวมถึงการเปิดเสรีอื่นๆในอนาคต

—————————————————————————-
1 ที่มา : กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
2 ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
3 ที่มา : กรมเจรจาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
4 ที่มา : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) พ.ศ. 2558

      ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ เป็นธุรกิจบริการห้องพักให้เช่า ที่ผสมผสานระหว่างการบริการที่คล้ายโรงแรมและอพาร์ทเม้นท์ โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ ของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จะเน้นกลุ่มนักธุรกิจชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ในระยะหลังธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ จะปรับแผนการดำเนินธุรกิจมาจับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากขึ้น ทั้งกลุ่มลูกค้าที่ต้องการพักระยะสั้นถึงระยะยาว

สำหรับภาพโดยรวมของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์นั้น ตลาดส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมีจำนวนชาวต่างชาติเข้ามาทำงานเป็น จำนวนมาก และในกรุงเทพมหานครก็เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคเอเชียของบริษัทต่างชาติรายใหญ่ๆ ทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จึงมีค่อนข้างสูง ซึ่งปกติการพัฒนาเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จะตั้งอยู่ในทำเลที่ใกล้ศูนย์กลางธุรกิจที่มีชาวต่างชาติทำงานเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ การพัฒนาเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์มีการขยายตัวออกสู่นอกเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะตามแนวรถไฟฟ้าชานเมือง ที่ทำให้การเดินทางสะดวกสบายมากขึ้น ขณะที่การพัฒนาธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในต่างจังหวัดก็จะอยู่ในจังหวัดที่มีกิจกรรมการลงทุนของต่างชาติที่สูง เช่นจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมที่มีโรงงานต่างชาติตั้งกันเป็นจำนวนมาก เป็นต้น นอกจากนี้เมืองท่องเที่ยวที่สำคัญยังมีการพัฒนาที่พักในรูปแบบเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์เช่นกัน

ทั้งนี้ จากการที่ตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์นั้น ต้องพึ่งพิงการเข้ามาทำงานของนักธุรกิจต่างชาติเป็นสำคัญ (เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์) ทำให้เมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ก็จะมีผลต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย (กลุ่มนักท่องเที่ยวจัดเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญรอง ลงมาของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์) เห็นได้จากในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2552 ที่ผ่านมา การเดินทางเข้ามาทำงานของชาวต่างชาตินั้นลดลง 27.8 เมื่อเทียบกับปี 2551 และได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในขณะนั้นค่อนข้างมาก

สำหรับสถานการณ์การเข้ามาทำงานของชาวต่างชาติในไทยในปี 2554 ที่ผ่านมา แม้จะเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ก็ตาม แต่ก็ยังเป็นอัตราเพิ่มขึ้นที่ชะลอตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว อันเนื่องมาจากปัญหาหนี้ในยุโรปที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้บริษัทต่างๆ จึงยังระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจและแผนการขยายการลงทุนใหม่ในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการขยายแผนการลงทุนในไทย ซึ่งมีผลทำให้จำนวนนักธุรกิจที่เดินทางเข้ามาในไทยยังคงไม่สูงนัก

อย่างไรก็ดี การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 (AEC) น่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ เนื่องจากการเปิดการค้าเสรี จะทำให้เกิดการโยกย้ายกำลังแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นเป้าหมายของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ นอกจากนี้การเปิดประชาคมชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สนใจเข้ามาขยายฐานการลงทุน หรือการตั้งสำนักงานใหญ่ (ระดับภูมิภาคเอเชีย) ในไทย ซึ่งที่ผ่านมา มีบริษัทต่างชาติหลายแห่ง เลือกไทยเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมองว่าประเทศไทยมีระบบสาธารณูปโภคที่เพรียบพร้อมทั้งระบบโทรคมนาคม และระบบการขนส่ง อีกทั้งเมื่อ เปรียบเทียบสภาพแวดล้อมในด้านอื่น เช่น กฎหมาย ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันของไทยยังถูกกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในสมาชิกอาเซียนด้วยกัน

ขณะเดียวกันการรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะทำให้การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่น่าจะเพิ่มขึ้น ซึ่งก็น่าจะเปิดโอกาสในการทำธุรกิจในระยะข้างหน้า

ความสำคัญของ AEC ต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ 

     ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community:AEC) ในปี 2558 ซึ่งการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนนั้นมาจากแนวคิดที่ว่า อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นตลาดหรือฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base) หมายถึงว่า จะต้องมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรีเสมือนอยู่ในประเทศเดียวกัน สามารถดำเนินกระบวนการผลิตในประเทศใดก็ได้ โดยใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ และแรงงานจากหลายประเทศเพื่อนำมาใช้ผลิต การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี เปิดโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะไปลงทุนประเทศที่เป็นสมาชิกได้เสรีมากขึ้น เช่นเดียวกับ ผู้ประกอบการประเทศที่เป็นสมาชิกสามารถที่จะเข้ามาลงทุนในไทยได้เช่นกัน โดยไม่มีอุปสรรคทางด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี ซึ่งจะมีการสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบต่างๆ ด้วยกัน

การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน … ผลต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในประเทศ 

สำหรับการเปิดการค้าเสรีที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่ผู้ประกอบการพัฒนาเซอร์วิสควรต้องศึกษานั้น ได้แก่ 

 การเปิดการค้าเสรีในด้านบริการอสังหาริมทรัพย์ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS) ได้กำหนดพันธกรณีให้ประเทศสมาชิกต้องเปิดเสรีการค้าบริการ ซึ่งรวมถึงบริการอสังหาริมทรัพย์ โดยต้อง อนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนสามารถถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ภายในปี พ.ศ. 2558 แต่ทั้งนี้ สมาชิกได้ตกลงร่วมกันว่าสามารถเลือกกิจกรรมภายใต้ CPC 8210 และ CPC 82201 เพียงอย่างละ 1 กิจกรรม มาผูกพันการเปิดตลาดก็ถือว่าบรรลุตามเป้าหมาย AEC Blueprint ในสาขา อสังหาริมทรัพย์แล้ว

โดยในส่วนของไทย ภายใต้ข้อผูกพันของ AFAS ไทยได้ผูกพัน 2 กิจกรรม คือ 1) บริการเช่าหรือทำสัญญาเช่าเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของหรือการเช่าสินทรัพย์ ที่เป็นที่พักอาศัย (CPC 82101) และ 2) การจัดการสินทรัพย์ที่พักอาศัยบนพื้นฐานของค่าธรรมเนียมหรือสัญญา (CPC 82201) โดยสัดส่วนหุ้นต่างชาติ ไม่เกินร้อยละ 49 และจำนวนผู้ถือหุ้นที่เป็นต่างชาติต้องน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด

สำหรับการเปิดบริการภาคอสังหาริมทรัพย์ใน 2 ด้านนี้ เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบที่จะมีต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์นั้น คาดว่า จะไม่ส่งผกระทบในด้านลบต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ แต่น่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการที่ผู้ประกอบการธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จะใช้ในการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น โดยเฉพาะ นักธุรกิจจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะเดินทางเข้ามาทำงานหรือประกอบธุรกิจในไทยมากขึ้น จากการเคลื่อนย้ายการลงทุน ดังนั้นการเข้ามาเพิ่มขึ้นของบริษัทนายหน้า หรือ Agency จากประเทศสมาชิกอาเซียนนั้น จะเป็นช่องทางในการทำตลาด โปรโมทห้องพักในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ดี ปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทในลักษณะนี้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยบริษัทเหล่านี้จะมีความชำนาญในด้านการตลาดต่างประเทศ

รูปช่องทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นภายใต้การเปิดการค้าเสรีภาคบริการอสังหาริมทรัพย์ 

 

 การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ (Skilled Labor) ทั้งนี้เป้าหมายหนึ่งในการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี (Free Flow of Skilled Labour) โดยหาความร่วมมือที่จะสร้างมาตรฐานที่ชัดเจนของแรงงานมีฝีมือ และอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานมีฝีมือที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในกลุ่ม ประเทศสมาชิกได้ง่ายขึ้น สำหรับแรงงานฝีมือที่เปิดให้มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีนั้น มี 7 ประเภท ได้แก่ พยาบาล นักสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ นักบัญชี วิศวกร และสถาปนิก

ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือทั้ง 7 ประเภทนั้น นับว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ เพราะแม้ว่าการเข้ารวมกลุ่มกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน หรือการประกอบกิจการหลายๆ ด้าน ได้อย่างเสรีก็ตาม แต่การที่ชาวต่างชาติจะเข้ามาซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทยก็ยังมีข้อจำกัดจากกฎหมายภายในประเทศอย่างเช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น ทำให้ความต้องการเช่าที่อยู่อาศัยมีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า

สำหรับในส่วนของการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะเข้ามาลงทุนพัฒนาธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในไทย ตามเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะให้เป็นฐานตลาดเดียวกัน คือ มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ซึ่งข้อตกลงที่น่าสนใจ คือ สมาชิกอาเซียนจะต้องเปิดให้ประเทศสมาชิกอื่นๆ สามารถถือหุ้นได้ในธุรกิจบริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 รวมทั้งยกเลิกข้อจำกัดในด้านอื่นๆ นั้น

อย่างไรก็ดี การที่ชาวต่างชาติจะเข้ามาพัฒนาธุรกิจธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในไทยนั้น ยังคงมีข้อจำกัดเนื่องจากตามกฎหมายไทยยังไม่เปิดกว้างให้แก่ชาวต่างชาติในการประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาถือครอง และซื้อขายที่ดิน โดยไทยได้ขอสงวนกฎหมายไว้เพื่อปฏิบัติระหว่างต่างชาติกับไทย คือ ประมวลกฎหมายที่ดิน (ตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินได้กำหนดว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นที่เป็นต่างด้าวไม่เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นและถือหุ้นไม่ เกินกว่าร้อยละ 49 ของทุนทั้งหมด) และพรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 (การค้าที่ดิน เป็นธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ (บัญชี 1)) เป็นต้น

ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในการที่นักลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนจะเข้ามาพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไทยก็ตาม แต่ผู้ประกอบการ พัฒนาธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ระดับเอสเอ็มอียังคงต้องติดตามประเด็นดังกล่าวนี้จากทางรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายในประเด็นของการให้ต่าง ชาติสามารถถือหุ้นได้ในธุรกิจบริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ได้ในระยะข้างหน้า

การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน … ผลต่อตลาดนอกประเทศ 

ทั้งนี้ในหลายๆ ประเทศ ยังไม่มีการเปิดภาคบริการในด้านอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากเป็นประเด็นที่อ่อนไหว ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนหลายๆ ประเทศ ก็มีกฎหมายที่จะปกป้องมิให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองที่ดินในประเทศ ซึ่งความสามารถในการเป็นเจ้าของที่ดินของชาวต่างชาติจะแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศที่เปิดบริการ ด้านนี้นอกจากไทยแล้วจะมีเพียงสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ที่มีข้อผูกพันบริการอสังหาริมทรัพย์ ส่วนอีก 7 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เหลือยังไม่มีข้อผูกพันในสาขานี้ โดยสิงคโปร์ ผูกพันบริการจัดการสินทรัพย์ บนพื้นฐานของค่าธรรมเนียมและสัญญา ทั้งสินทรัพย์ที่เป็นที่พักอาศัย และไม่ใช่ที่พักอาศัย (CPC 82201 + 82202) โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ

ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ ผูกพันบริการเช่าหรือทำสัญญาเช่าเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของหรือการเช่าสินทรัพย์ที่พักอาศัย (CPC 82101) และบริการ จัดการสินทรัพย์ที่พักอาศัยบนพื้นฐานของค่าธรรมเนียมหรือสัญญา (CPC 82201) แต่การที่จะเข้าไปทำธุรกิจในฟิลิปปินส์ภายใต้ข้อตกลงยังได้ถูกจำกัดด้วยกฎเกณฑ์การลงทุนอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

จากการที่หลายๆ ประเทศยังไม่ได้เปิดให้สมาชิกอาเซียนเข้าไปพัฒนาธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ระดับเอสเอ็มอี ที่ต้องการเข้าไปทำธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในประเทศสมาชิกอาเซียน ยังคงต้องดำเนินธุรกิจภายใต้กฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นๆ เช่น การลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศมาเลเซีย บริษัทจะต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวมาเลเซียอย่างน้อยร้อยละ 70 ของผู้ถือหุ้นในบริษัท เป็นต้น

การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน … ผลทางอ้อมต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ 

การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายใต้เป้าหมายหนึ่ง คือ ไม่มีอุปสรรคทางด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีนั้น ทำให้ประเทศในอาเซียน กลายเป็นที่สนใจของบริษัทต่างชาติอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกในอาเซียน ที่จะเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อใช้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน หรือตั้งฐานการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศ สมาชิกอาเซียนด้วยกัน จะทำให้ในระยะข้างหน้าจะมีจำนวนชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ของไทยในระยะข้างหน้า เช่นกัน

ภาวะตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ 

     สำหรับภาวะตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ขณะนี้มีการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อผู้ประกอบการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์หลายรายรวมถึงผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่มีความชำนาญในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยรายใหญ่ก็ได้หันมาพัฒนาลงทุนในธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ทำให้มีจำนวนห้องชุดออกสู่ตลาดจำนวนมาก โดยเฉพาะตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งนอกจากจะต้องเผชิญการแข่งขันระหว่างธุรกิจเองแล้ว ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ยังต้องผจญการแข่งขันกับธุรกิจอพาร์ทเม้นท์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อจับลูกค้ากลุ่มชาวต่างชาติ รวมทั้งตลาดห้องชุดคอนโดมิเนียมให้เช่า ที่มีจำนวนห้องชุดคอนโดมิเนียมที่ผู้ซื้อมีวัตถุประสงค์ต้อง การปล่อยให้เช่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดตัวในทำเลที่มีชาวต่างชาติอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งห้องชุดคอนโดมิเนียมได้กลายมาเป็นคู่แข่งทางอ้อมที่สำคัญต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์

      สำหรับภาพรวมของตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในกรุงเทพมหานครในปี 2554 ที่ผ่านมา (ตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในกรุงเทพมหานครเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.5 ของชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศ) การเข้าพักอาศัยในเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์นั้นปรับตัวสูงขึ้น จากผลสำรวจของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด พบว่า โดยในปี 2554 ที่ผ่านมา อัตราการเข้าพักเติบโตประมาณร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่จำนวนห้องพักในปี 2554 ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ประมาณ 18,762 หน่วย โดยในปี 2554 มีจำนวนห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเข้าสู่ตลาด 300 หน่วย

ทั้งนี้ การปรับเพิ่มขึ้นของจำนวนห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่ชะลอตัวลงนั้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากอุปสงค์ในตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ยังอ่อนตัวอยู่ เนื่องมาจากเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความกดดันจากปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศยุโรป ทำให้การขยายการลงทุนของบริษัทต่างชาติยังคงอยู่ในขอบเขตจำกัด ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีผลต่ออัตราการเข้าพักและอัตราค่าเช่ายังคงปรับตัวในระดับที่ไม่สูงนัก

สำหรับแนวโน้มของตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อันเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อเสถียรภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จะยังคงกดดันบรรยากาศการลงทุน อีกทั้งปัญหาวิกฤติมหาอุทกภัยในไทยเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ได้สร้างความกังวลต่อการการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทยค่อนข้างมาก ซึ่งขณะนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงติดตามความคืบหน้าในแผนการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากในปี 2555 นี้ เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอีกครั้งก็อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติได้

อย่างไรก็ดี จำนวนนักธุรกิจต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาทำงานในไทยในปี 2555 นี้ น่าจะยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเข้าใกล้การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มมีการปรับแผนการดำเนินธุรกิจ มีการโยกย้ายฐานการลงทุนมายังประเทศ ไทยเพิ่มขึ้น

เห็นได้จากสถิติของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI รายงานแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI) พบว่า ในปี 2554 ที่ผ่านมา มีบริษัทต่างชาติขอรับการส่งเสริมการลงทุน 1,059 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่เม็ดเงินลงทุน 396,348 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.9 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งหากการขอการส่งเสริมการลงทุนยังมีแนวโน้มขยายตัว จะส่งผลดีต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในระยะข้างหน้าเช่นกัน

สำหรับแนวโน้มของนักท่องเที่ยวในปี 2555 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในไทยประมาณ 19.2 – 20.2 ล้านคน หรือหดตัวประมาณร้อยละ 0.2 ถึงเติบโตร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่ผ่านมา ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 19.23 ล้านคน แม้ว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวจะไม่ใช่เป้าหมายหลัก ของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ก็ตาม แต่ก็เป็นกลุ่มลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในปี 2555 มีประเด็นที่ผู้ประกอบการคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ

♠ กฎหมายผังเมืองกรุงเทพมหานคร สำหรับประเด็นการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับ ใหม่ที่คาดว่าจะประกาศใช้ในปี 2555 นี้ น่าจะเป็นในส่วนของข้อจำกัดในการพัฒนาอาคารที่พักอาศัยขนาดใหญ่ในย่านธุรกิจ เช่น ในเขตตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค(บางส่วน) สายไหม คลองสามวา(บางส่วน) มีนบุรี(บางส่วน) สะพานสูง(บางส่วน) หนองจอก(บางส่วน) ได้เปลี่ยนแปลงความสูงในการสร้างอาคารจากเดิมคือ ไม่เกิน 23 เมตร เปลี่ยนเป็น 12 เมตร ส่วนทาง ด้านในเขตตัวเมืองนั้น ต่อไปนี้ห้ามสร้างอาคารที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่เกินกว่า 2,000 ตารางเมตร ส่วนพื้นที่วังทองหลาง ลาดพร้าว บึงกุ่ม บางเขน และบางเขตอื่นๆ ร่างผังเมืองได้กำหนดให้สามารถก่อสร้างอาคารขนาด 2,000-4,999 ตารางเมตร และต้องตั้งอยู่บนถนนที่มีเขตทางเกินกว่า 16 เมตร จากที่ปัจจุบันกำหนดไว้เพียง 10 เมตร ส่วนอาคารขนาดใหญ่กว่านี้ห้ามสร้าง

อย่างไรก็ดี กฎเกณฑ์ของกฎหมายผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ ก็อาจส่งผลดีต่อเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่ตั้งอยู่ในทำเลดังกล่าว โดยเฉพาะเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่อยู่ในย่านธุรกิจตามซอยต่างๆ ให้มีอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า เนื่องจากการเข้ามาใหม่ของอุปทานห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จะลดลง โดยเฉพาะการควบคุมการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในพื้นที่ถนนความกว้างขนาดไม่ถึง 16 เมตร

♠ ประเด็นเรื่องของการเปิดให้บริการของเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ที่ให้บริการแบบเดียวกับโรงแรม ทั้งนี้ในปัจจุบัน ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ สามารถเปิดให้บริการห้องพักที่คล้ายกับโรงแรม คือ การเปิดให้บริการห้องพักทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้โดยไม่ได้ถูกจำกัดหรือต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. โรงแรม พ.ศ. 2547 ซึ่งทำให้ขณะนี้ เริ่มมีการกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวมากขึ้น เนื่องจากภาวะการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมเองที่รุนแรงอยู่แล้ว และยังต้องแข่งขันกับธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ทำให้ในระยะข้างหน้าอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ให้เข้มงวดขึ้น

บทสรุป

ปัจจุบัน ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น จากเดิมที่เคยจับกลุ่มลูกค้าเฉพาะนักธุรกิจต่างชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานในไทยก็ต้องขยับขยายฐานลูกค้ามายังกลุ่มนักท่องเที่ยว ซึ่งการแข่งขันนั้นมาจากทั้งคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันและธุรกิจใกล้เคียงอย่างห้องชุดคอนโดมิเนียมและอพาร์ทเม้นท์ที่พัฒนาเพื่อชาวต่างชาติ

ทั้งนี้ ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในเขตกรุงเทพมหานคร ในปี 2554 ที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตทั้งในด้านของอัตราการเข้าพ้กที่เพิ่มขึ้น แต่ยังเป็นไปในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากจำนวนนักธุรกิจที่เข้ามาทำงานในไทยยังไม่ฟื้นตัวดีเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤติซับไพร์มในปี 2552 โดยอัตราการเข้าพักอยู่ที่ร้อยละ 85.0 ของ จำนวนอุปทานห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่มีอยู่ในตลาด ขณะที่อุปทานห้องพักสร้างเสร็จในตลาดมีปริมาณที่ชะลอลง ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อความสมดุลของตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์

ขณะที่แนวโน้มของตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในปี 2555 นี้ คาดว่า อัตราการเข้าพักน่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5-6.5 เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่คาดว่าอัตราการเข้าพักจะอยู่ที่ร้อยละ 5.0 สำหรับปริมาณห้องพักเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ที่จะเข้าสู่ตลาดในปี 2555 นี้ คาดว่าจะยังอยู่ในระดับประมาณ 19,500 หน่วย เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่ มีจำนวน 18,762 หน่วย

สำหรับประเด็นการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ระดับเอสเอ็มอี เพื่อรองรับการแข่งขันเมื่อมีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นั้น ในด้านหนึ่งน่าจะเป็นโอกาสในการขยายฐานลูกค้า โดยเฉพาะจำนวนนักธุรกิจชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการเข้าพักที่สูงขึ้น นอกจากนี้การเปิดบริการเสรีด้านอสังหาริมทรัพย์ในส่วนของการบริการเช่าหรือทำสัญญาเช่าเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของหรือการเช่าสินทรัพย์ ที่เป็นที่พักอาศัย (CPC 82101) และ 2) การจัดการสินทรัพย์ที่พักอาศัยบนพื้นฐานของค่าธรรมเนียมหรือสัญญา (CPC 82201) น่าจะเป็นช่องทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์

ขณะที่การเข้าไปลงทุนพัฒนาเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นยังคงมีข้อจำกัด เนื่องจากการเปิดบริการในภาคอสังหาริมทรัพย์ยัง คงถูกจำกัดในหลายๆประเทศ ซึ่งหากผู้ประกอบการต้องการเข้าไปพัฒนาอาจต้องศึกษากฎระเบียบต่างๆให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์เอง คงจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพและการให้บริการของตนให้ดีขึ้น เพื่อที่จะได้สร้างความประทับใจ ให้กับลูกค้าที่มาเข้าพัก และใช้จุดนี้ในการพัฒนาและเสริมสร้างแบร์ดเนมของตนเองให้เป็นที่ติดปากของแขกที่มาพัก ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการตลาดของผู้ประกอบการเองด้วยเช่นกัน
—————————————————————————-

1 รหัสภายใต้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ 8210 คือ บริการอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของหรือการเช่าสินทรัพย์ (Real Estate Services Involving Own or leased Property: CPC 8210) และรหัสภายใต้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ 8220 คือ บริการอสังหาริมทรัพย์บนพื้นฐานของค่าธรรมเนียมหรือสัญญา (Real Estate Services on a Free or Contact Basis: COC 8220)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กับ ธุรกิจบริการ : “รู้จัก-พร้อมรุก-ตั้งรับ”

ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่มีกำหนดจะรวมตัวเป็นประชาคมอันหนึ่งอัน เดียวกันในปี 2558 ซึ่งจะเอื้อให้เศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ1 มีความเป็นปึกแผ่นมากขึ้น มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคมและประชากรภายในอาเซียนมากขึ้น โดยผ่านกลไกการเปิดเสรี 5 ด้าน ได้แก่ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การเปิดเสรีการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรียิ่งขึ้น และการเปิดเสรีการค้าบริการ นั่นหมายความว่า ผู้ประกอบการ SMEs ของไทยในสาขาธุรกิจบริการควรจะรู้จัก ความสำคัญของการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินศักยภาพธุรกิจและวางกลยุทธ์การดำเนิน ธุรกิจรองรับสภาวะตลาดที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่การตั้งรับการแข่งขันที่จะทวีความเข้มข้นมากขึ้นเพื่อรักษาส่วน แบ่งในตลาด รวมทั้งในแง่การมองหาลู่ทางขยายธุรกิจรุกตลาดอาเซียนที่มีแนวโน้มเปิดกว้าง รับธุรกิจบริการของชาวอาเซียนมากขึ้น

• รู้จัก : ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับการเปิดเสรีบริการอาเซียน

ความตกลงว่าด้วยการบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS) มีประเด็นสำคัญคือ การยกเลิกข้อจำกัดในการค้า บริการระหว่างกันในภูมิภาคอาเซียนให้มากกว่าที่ประเทศสมาชิกได้ผูกพันไว้ใน ความตกลงการค้าบริการภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (GATS)2 ทั้งการเปิดเสรีในเชิงลึกมาก ขึ้นซึ่งก็คือการขยายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนชาติอาเซียนอื่นใน แต่ละประเทศอาเซียน ซึ่งกำหนดเป้าหมายการเปิดเสรีไว้ที่สูงสุดร้อยละ 70 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด โดยมีสาขาบริการเร่งรัดการ เปิดเสรีในปี 2553 จำนวน 4 สาขาได้แก่ สาขาโทรคมนาคมและสาขาคอมพิวเตอร์ (e-ASEAN) สาขาบริการสุขภาพ สาขาท่องเที่ยว และสาขาบริการขนส่งทางอากาศ จากนั้นจะมีการเปิดเสรี สาขาบริการโลจิสติกส์ในปี 2556 และทยอยเปิดเสรีสาขาบริการอื่นๆ ภายในปี 2558 นอกจากนี้ กรอบการเปิดเสรีบริการอาเซียนยังตั้งเป้าขยายการเปิดเสรีในเชิงกว้างซึ่งจะทยอยเปิดเสรีบริการสาขาย่อยในแต่ละสาขาบริการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

สำหรับความคืบหน้าในการเปิดเสรีภาคบริการตามเป้าหมายที่สมาชิกอาเซียน ได้ตกลงกันไว้นั้น พบว่า หลายประเทศอาเซียนค่อนข้างเปิดเสรีธุรกิจบริการในประเทศรับการลงทุนจากต่าง ประเทศ โดยเฉพาะ CLM ซึ่งเปิดเสรีการลงทุนธุรกิจบริการให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้เป็นสัดส่วน สูงสุด 100% ขณะที่สิงคโปร์ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ค่อนข้างเปิดกว้างรับการลงทุนจากต่าง ชาติโดยธุรกิจส่วนใหญ่ พบว่า นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้เป็นสัดส่วนสูงสุดถึง 100% ยกเว้นบางสาขาธุรกิจ อาทิ สาขาธุรกิจ Media เป็นต้น สำหรับประเทศอื่นๆ ยังไม่มีความคืบหน้าในการผ่อนคลายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่าง ชาติชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ล่าสุดธนาคารโลกได้ทำการศึกษาระดับการเปิดเสรีการถือหุ้นของนักลงทุนต่าง ชาติใน สาขาธุรกิจสำคัญของ 87 ประเทศทั่วโลกในรายงาน Investing Across Borders 2010 พบว่า ประเทศอาเซียนมีระดับการเปิดเสรีการลงทุนของต่างชาติในระดับที่แตกต่างกัน โดยจากสาขาธุรกิจบริการ 5 สาขาสำคัญ อาทิ โทรคมนาคม การขนส่ง มีเดีย การก่อสร้าง/ท่องเที่ยว/ค้าปลีก และบริการสุขภาพ/การกำจัดขยะ พบว่า กัมพูชามีระดับการเปิดให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นในธุรกิจบริการเป็นสัดส่วน สูงสุด รองลงมาคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย ตามลำดับ

ที่มา: Investing Across Borders Database

• รุกตลาดอาเซียน : มองโอกาสจากข้อได้เปรียบในฐานะนักลงทุนอาเซียน

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าหลายประเทศค่อนข้างเปิดเสรีรับการลงทุนจากต่าง ชาติ ประกอบกับมีการเปิดเสรีบริการภายใต้กรอบอาเซียน จึงนับเป็น โอกาสสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่จะก้าวออกไปขยายตลาดในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะประเทศ CLMV ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย และค่อนข้างเชื่อมั่นคุณภาพสินค้าและบริการของไทย ประกอบกับประเทศ CLMV ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาประเทศหลายด้าน ขณะที่ตลาดผู้บริโภคในประเทศดังกล่าวมีแนวโน้มความต้องการสินค้าและบริการใน ระดับที่มีคุณภาพ มากขึ้น จึงเป็นโอกาสการเข้าไปลงทุนของธุรกิจบริการไทยโดยอาศัยประสบการณ์และศักยภาพ ในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นก่อนออกไปรุกตลาดต่างประเทศ ผู้ประกอบการ SMEs ควรทราบถึงธุรกิจบริการที่น่าสนใจเข้าไปลงทุนในแต่ละประเทศเพื่อประกอบการ พิจารณาตลาดเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับวางแผนขยายธุรกิจต่อไป

• สาขาบริการที่น่าสนใจในแต่ละประเทศอาเซียน

ภาคบริการจัดว่าเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญในประเทศอาเซียนมากพอสมควร โดยเป็นภาคเศรษฐกิจที่สามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ได้ราวครึ่งหนึ่งของมูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั้งหมดของอาเซียน ซึ่งสะท้อนความต้องการการลงทุนเพื่อพัฒนาภาคบริการรองรับความต้องการในตลาด และการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังพบว่าภาคบริการมีขนาดเศรษฐกิจต่างกันไปในแต่ละประเทศอาเซียน โดยภาคบริการในสิงคโปร์มีขนาดเศรษฐกิจสูงสุดด้วยสัดส่วนร้อยละ 71.7 ของ GDP ขณะที่บทบาทของภาคบริการในไทยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 42.9 ของ GDP ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนสูงเป็นอันดับ 4 ของอาเซียน ทั้งนี้ สาขาธุรกิจสำคัญที่มีบทบาทในเกือบทุกตลาดอาเซียน อาทิ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจขนส่งและคลังสินค้า เป็นต้น ซึ่งบางสาขาธุรกิจมีความจำเป็นต่อการพัฒนาและยกระดับความพร้อมด้านโครงสร้าง พื้นฐานของประเทศ อาทิ ธุรกิจก่อ สร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ความต้องการบริโภคของชาวอาเซียนที่เริ่มมีกำลังซื้อสูงขึ้นตามการ เติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจบริการประเภทธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจขนส่งและคลังสินค้า รวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวมีศักยภาพในการเติบโตสูงตามไปด้วย

อนึ่ง การที่ประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน นับเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่มีศักยภาพขยายธุรกิจออกไปต่างแดนมากขึ้น โดยอาศัยสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการมีสัญชาติอาเซียนเข้าไปดำเนิน ธุรกิจในชาติอาเซียนอื่นๆ ทั้งโอกาสจากการขยายเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของธุรกิจอาเซียนในประเทศอาเซียน ด้วยกัน ซึ่งจะเอื้อให้ธุรกิจ SMEs ไทยมีทางเลือกออกสู่ตลาดอาเซียนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจ SMEs ไทยที่ออกไปลงทุนในตลาดอาเซียนยังมีโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์การลดภาษีนำ เข้าสินค้า/วัตถุดิบที่ใช้ในธุรกิจภายใต้กรอบการลดภาษีสินค้าอาเซียนอีกด้วย ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การรุกเปิดตลาดอาเซียนของ SMEs ไทยเป็นทางเลือกขยายธุรกิจที่ SMEs ไทย ไม่ควรมองข้าม ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองโอกาสการลงทุนธุรกิจบริการในตลาดอาเซียนที่สำคัญ อาทิ:-

ธุรกิจท่องเที่ยว หลายประเทศอาเซียนนับว่ามีศักยภาพในฐานะแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญ ของอาเซียน โดยมาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ เวียดนาม เป็นประเทศที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้สูงสุด 5 อันดับแรกของอาเซียน คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 89 ของจำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมของอาเซียน นอกจากนี้ ประเทศ CLMV ยัง นับเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวด้วย เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวมีการเติบโตต่อเนื่องและเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และท่องเที่ยวธรรมชาติ ขณะที่ผู้ให้บริการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องยังมีค่อนข้างจำกัด จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยในการขยายการลงทุนไปยังประเทศดังกล่าวเพื่อรองรับการเติบโตของ ธุรกิจท่องเที่ยวในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนปี 2558 ซึ่งน่าจะดึงดูดความสนใจให้นักท่องเที่ยวในอาเซียนและนักท่องเที่ยวจาก ภูมิภาคอื่นเดินทางเข้ามาเที่ยวมากขึ้น จากความสะดวกในการเดินทางและกฎระเบียบต่างๆที่เอื้อให้การท่องเที่ยวใน ภูมิภาคอาเซียนสะดวกและง่ายขึ้น ทั้งการเปิดเสรีน่านฟ้า และแผนการใช้วีซ่าร่วมกัน (Common Visa) สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปในแต่ละประเทศอาเซียน ซึ่งจะเป็นรูปธรรมมากขึ้นในปี 2558 ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนอาจเป็นได้ทั้งการขยายการลงทุนธุรกิจในประเทศ CLMV ที่เปิดเสรีให้ลงทุนได้สูงสุด 100% รวมทั้งยังอาจขยายธุรกิจในแง่ขยายเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ประกอบ การท้องถิ่นในประเทศเป้าหมาย เพื่อสร้างเครือข่ายลูกค้า/นักท่องเที่ยวที่เดินทางต่อไปยังประเทศอาเซียน อื่น อันอาจเพิ่มช่องทางรายได้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทยได้ทางหนึ่ง ด้วย

• ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจโลจิสติกส์เป็นสาขาธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของ แต่ละประเทศอาเซียน โดยเป็นธุรกิจที่มีส่วนสนับสนุนและเกี่ยวพันกับกิจกรรมเศรษฐกิจอื่นๆ และยังเป็น Key Factor ที่เกี่ยวโยงถึงผลิตภาพและประสิทธิภาพของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งยังเป็นปัจจัยพื้นฐานในการสร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศโดยรวมอีกด้วย โดยประเทศเป้าหมายการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยน่าจะเป็นกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะสาขาธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ทางถนน เนื่องจากประเทศ CLMV เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ไทยมีการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบระหว่างประเทศทาง เส้นทางถนนเป็นหลัก ผ่านการค้าชายแดนและผ่านแดนอยู่แล้ว นอกจากนี้ ประเทศ CLMV ยังเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ยังมีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจ และกำลังต้องการการลงทุนในการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อเตรียมพร้อม รองรับการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนในอนาคต อีกทั้งประเทศเหล่านี้ยังเปิดกว้างรับการลงทุนจากนักลงทุนอาเซียนโดยสามารถ ถือหุ้นได้ในสูงสุด 100%

• ธุรกิจค้าปลีก การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 นับเป็นการเปิดตลาดอาเซียนขนาดใหญ่จำนวนราว 600 ล้านคน ให้เชื่อมโยงเข้าถึงกันมากขึ้น ผ่านการขยายการค้าและการลงทุนระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางในแต่ละประเทศอาเซียนก็มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น เกื้อหนุนให้เกิดการขยายตัวทางการค้าเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคใน แต่ละประเทศตามไปด้วย ซึ่งธุรกิจค้าปลีกก็เป็นหนึ่งช่องทางการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคที่สำคัญ โดยมีรูปแบบค้าปลีกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศอาเซียน สำหรับโอกาสขยายธุรกิจค้าปลีกของผู้ประกอบการ SMEs ไทยในอาเซียน อาจพิจารณาการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งค่อนข้างมีรสนิยมการบริโภคคล้ายคลึงกับไทยและยังรับรู้พฤติกรรมการ บริโภคผ่านสื่อไทยอีกด้วย ทั้งยังค่อนข้างเชื่อถือสินค้าไทย โดยอาจลงทุนในรูปแบบการเป็นตัวแทนจำหน่าย รวมถึงร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เพื่อตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสนใจซื้อสินค้าในช่องทางดังกล่าวมาก ขึ้น นอกจากนี้ ตลาดอินโดนีเซียและเวียดนามก็เป็นตลาดอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าจะเป็นโอกาสขยาย ธุรกิจค้าปลีกของ SMEs ไทย โดยอาจลงทุนได้ทั้งในรูปแบบการค้าสมัยใหม่และค้าปลีกแบบดั้งเดิม เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังนิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางดังกล่าว ที่เข้าถึงได้ค่อนข้างง่าย ขณะเดียวกันก็เริ่มมีกระแสนิยมร้านค้าสมัยใหม่เพิ่มขึ้น

• ธุรกิจก่อสร้าง AEC จะเปิดโอกาสแก่ธุรกิจก่อสร้างอย่างมากโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ที่กำลังพัฒนาประเทศ และอินโดนีเซียที่ภาครัฐบาลมีความมุ่งมั่นอย่างมากในการขจัดอุปสรรคด้านการ ลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศและยกระดับเศรษฐกิจประเทศในระยะ ข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจในกลุ่มวัสดุก่อสร้างและบริการเช่นรับเหมา ก่อสร้างของไทยที่น่าจะได้ประโยชน์จากการขยายธุรกิจรองรับกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มคึกคักในอนาคต แต่กระนั้นก็ดี ผู้ประกอบการ SMEs ไทยอาจเผชิญอุปสรรคด้านเงินลงทุน แต่อาจอาศัยความสัมพันธ์ในการรับงานก่อสร้างต่อจากผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือการรับงานจากบริษัทไทยในประเทศดังกล่าวได้

สำหรับการเริ่มต้นรุกตลาดอาเซียน ผู้ประกอบการ SMEs ไทยควรเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ อาทิ:-
  Key Success Factors:

กรณีที่ผู้ประกอบการ SMEs มีสายสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือเครือข่ายพันธมิตรในต่างประเทศอยู่แล้ว อาจสามารถขยายการลงทุนในต่างประเทศผ่านเครือข่ายทางธุรกิจในประเทศนั้นๆ ซึ่งน่าจะเอื้อให้เกิดความสะดวก และราบรื่นมากขึ้น

กรณีที่ผู้ประกอบการ SMEs ไม่มีสายสัมพันธ์หรือ Partner ในต่างประเทศ ควรเสาะหาโอกาสในการขยายธุรกิจโดยอาศัยช่องทางความสัมพันธ์กับผู้ประกอบการ รายใหญ่ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจตน ซึ่งค่อนข้างมีศักยภาพในการทำธุรกิจในต่างประเทศ อันจะเกื้อหนุนให้ธุรกิจ SMEs มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการก้าวออกไปลงทุนในต่างประเทศโดยไม่มีพื้น ฐานความสัมพันธ์หรือความพร้อมรองรับ ซึ่งล่าสุดผู้ประกอบการรายใหญ่ในหลายสาขาธุรกิจมีแผนที่จะขยายการลงทุนออกไป ต่างประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียน ชัดเจนมากขึ้น

• ประเมินความพร้อมของธุรกิจในการออกไปลงทุนต่างประเทศ: ผู้ประกอบการ SMEs ควรทราบถึงจุดแข็ง-จุดอ่อน ความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางธุรกิจ ศักยภาพในการแข่งขัน ต้นทุนงบประมาณ และความพร้อมด้านต่างๆในการดำเนินธุรกิจ ในเบื้องต้นธุรกิจควรประเมินศักยภาพของธุรกิจว่ามีเงินทุนงบประมาณเพียงพอใน การดำเนินกิจการในต่างประเทศหรือไม่ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทั้งค่าใช้จ่ายดำเนินการจัดตั้ง ค่าใช้จ่ายการดำเนินธุรกิจ ค่าเช่า/ค่าจ้างแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานฝีมือในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย

• วิเคราะห์ตลาดที่ต้องการลงทุนให้ลึกซึ้ง เพื่อเลือกพื้นที่ลงทุนที่เหมาะสมและเอื้อให้ธุรกิจเข้าถึงตลาดได้ถูกจุดและ เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ไทยอาจต้องเริ่มทำความรู้จักแต่ละประเทศอาเซียนว่ามีความเหมาะสมและเป็น โอกาสทางธุรกิจหรือไม่ โดยอาจจำเป็นต้องเจาะพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงตลาดเป้าหมายมากที่สุด ซึ่งแต่ละพื้นที่ในแต่ละประเทศก็อาจมีความแตกต่างหลากหลายทั้งรายได้ รสนิยม และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น ในเมืองย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ เป็นศูนย์กลางการลงทุนของธุรกิจหลายสาขา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของพม่า ก็เป็นโอกาสสำหรับบริการท่องเที่ยวรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติและชาว พม่าที่มีรายได้ระดับบน ขณะที่นครเนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่าที่กำลังเตรียมความพร้อมเป็นสถานที่จัดงานซีเกมส์ปี 2556 ซึ่งพม่าเป็นเจ้าภาพ ก็นับเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจในการรองรับธุรกิจบริการท่องเที่ยว ธุรกิจโลจิสติกส์ และบริการอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

• รู้จักคู่แข่งในตลาด: การก้าวออกไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ยังไม่คุ้นเคยนัก ก็ควรทำการศึกษาและรู้จักภาพรวมตลาดและ คู่แข่งอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจทราบถึงสิ่งที่เป็นจุดแข็ง-จุดอ่อนของคู่แข่ง เพื่อนำมาประกอบการวางกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจ โดยเฉพาะศักยภาพของผู้ประกอบการท้องถิ่นใน ประเทศนั้นๆ รวมไปถึงผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้าไปดำเนินธุรกิจนั้นๆ มาก่อนที่ย่อมจะมีความคุ้นเคยและเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคได้มากกว่า

• ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดเป้าหมายและพัฒนาบริการให้สอดรับกับความต้องการผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคในแต่ละประเทศมีลักษณะรสนิยมที่แตกต่างกัน ขณะเดียวกันผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ของประเทศนั้นๆ ก็ยังมีความหลากหลายในพฤติกรรมและธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบริการ SMEs ไทยควรเข้าใจถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดเป้าหมายให้ลึกซึ้ง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงบริการให้เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า อาทิ เช่น ชาวเวียดนามทางตอนใต้อาจพิจารณาซื้อสินค้าจากปัจจัยด้านมูลค่าเป็นสำคัญ ขณะที่ทางตอนกลางให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าค่อนข้างมาก ส่วนทางตอนเหนือของเวียดนามจะค่อนข้างมัธยัสถ์และพิจารณาประโยชน์และความ คงทนของสินค้าเป็นสำคัญ

• ศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในแต่ละประเทศ เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนเหลือเวลาเพียงไม่ถึง 3 ปีในการปรับปรุงกฎระเบียบ ด้านการลงทุนในประเทศเพื่อดำเนินการเปิดเสรีตามกรอบเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้ในช่วงเวลานับจากนี้ หลายประเทศอาเซียนน่าจะมีความคืบหน้าในการปรับปรุงระเบียบ/นโยบายด้านการ ลงทุนภายในประเทศให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับข้อผูกพันที่แต่ละประเทศได้ ผูกพันไว้ภายใต้กรอบอาเซียนที่มีระดับความเป็นเสรีขึ้นเป็นลำดับ โดยล่าสุดคาดว่าจะมีการใช้ข้อผูกพันการเปิดเสรีบริการอาเซียนชุดที่ 8 ภายในปี 2555 นี้ ซึ่งปัจจุบันไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้ยื่นข้อผูกพันชุดที่ 8 แล้ว และอยู่ระหว่างรอความคืบหน้าจากสมาชิกอาเซียนอื่น อาทิ เวียดนามซึ่งกำลัง อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำข้อผูกพัน เป็นต้น สำหรับความเคลื่อนไหวในการเปิดเสรีบริการของประเทศสมาชิกอาเซียนที่สำคัญ อาทิ

ธุรกิจ ความเคลื่อนไหว
   ธุรกิจโรงแรม หลาย ประเทศอาเซียนสามารถเปิดเสรีได้เกินเป้าหมาย โดยสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา และพม่า อนุญาตให้นักลงทุนสัญชาติอาเซียนถือหุ้นได้ถึง 100% (ส่วน ใหญ่เป็นโรงแรมระดับ 3-5 ดาว) ส่วนอินโดนีเซียกำหนดให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นในโรงแรม 3-5 ดาวได้สูงสุด 100% ในบางพื้นที่ นอกนั้นกำหนดให้ต่างชาติถือหุ้นได้สูงสุด 51% สำหรับไทยจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 49%
   ธุรกิจร้านอาหาร หลาย ประเทศอนุญาตให้นักลงทุนสัญชาติอาเซียนถือหุ้นได้สูงสุด 100% ยกเว้นมาเลเซียให้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 51% อินโดนีเซียให้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ในบางพื้นที่ที่กำหนด และไทยจำกัด การถือหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 49%
   ธุรกิจนำเที่ยว สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม และพม่า อนุญาตให้นักลงทุนสัญชาติอาเซียนถือหุ้นได้สูงสุด 100%
มาเลเซียอนุญาตให้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 51% อินโดนีเซีย อนุญาตให้ถือหุ้นได้สูงสุด 100% แต่จำกัดพื้นที่เฉพาะในบาหลี และจำนวนไม่เกิน 55 แห่ง
ฟิลิปปินส์ อนุญาตให้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 60%
กัมพูชา อนุญาตให้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 51%
และไทยจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 49% (พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศน์ พ.ศ.2535)
   ธุรกิจก่อสร้าง สิงคโปร์ และ CLMV เปิดเสรีอนุญาตให้นักลงทุนสัญชาติอาเซียนถือหุ้นได้สูงสุด 100% ยกเว้น ไทย (จำกัดการถือหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 49%) และฟิลิปปินส์ (จำกัดไม่เกิน 40%)

ที่มา: รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

• ตั้งรับ : ผู้ประกอบการไทยจำต้องเร่งเตรียมความพร้อมรับการแข่งขัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดเป้าหมายขยายธุรกิจบริการของประเทศอาเซียน ด้วยปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงเป็นอันดับ 4 เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น (รองจากสิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย) ด้วยระดับรายได้เฉลี่ยราว 4,800 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อคนต่อปี ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศยังมีการเติบโตต่อเนื่อง ทำให้มีความต้องการด้านบริการรองรับความต้องการของผู้บริโภคและการขยายตัว ของกิจกรรมเศรษฐกิจอีกมาก ซึ่งดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาเจาะตลาดธุรกิจ บริการของไทยค่อนข้างมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEs ไทยควรมีการเตรียมพร้อมเพื่อตั้งรับภาวะการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงและ ท้าทายมากขึ้น อาทิ:-

วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อน เพื่อกำจัดจุดอ่อนของธุรกิจให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด จุดเริ่มต้นของการเตรียมตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในตลาด คือ ผู้ประกอบการ SMEs ไทยจำเป็นต้องรู้จักธุรกิจของตนอย่างชัดเจนว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนในด้านใดบ้าง เพื่อจะได้ทราบถึงสิ่งที่ต้องทำในลำดับต่อไปในการแก้ไขจุดอ่อนของธุรกิจให้ มีความเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจมีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจภายใต้แรงกดดันด้านการ แข่งขันในตลาดมากขึ้น

หาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างจุดยืนในตลาดให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากคู่แข่งทั้งในประเทศและคู่แข่งจากต่าง ชาติ ผู้ประกอบการ SMEs ไทยจำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจและขยายเครือข่ายเพื่อรักษา จุดยืนในตลาดให้มั่นคงมากขึ้น ซึ่งแนวทางหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่ค่อนข้างมีข้อจำกัดด้านเม็ดเงินลงทุนและทรัพยากรทางธุรกิจ อาจพิจารณาหาพันธมิตรทางธุรกิจที่เกื้อหนุนธุรกิจที่มีอยู่ของตนเอง เพื่อให้ธุรกิจมีความน่าสนใจและมีบริการที่รองรับความต้องการที่หลากหลายของ ผู้บริโภค อันจะเพิ่มโอกาสการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการมากขึ้นที่อาจจะเป็นสมาชิก อาเซียนก็ได้ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ที่ยังมีความพร้อมด้านทรัพยากรวัตถุดิบและแรงงาน ที่ถูกกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียนโดยเปรียบเทียบ

สร้างความประทับใจมัดใจลูกค้าด้วยการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการ ธุรกิจบริการเป็นธุรกิจที่ส่งมอบบริการถึงผู้บริโภคโดยตรง และความอยู่รอดของธุรกิจบริการก็มักจะขึ้นอยู่กับการตอบสนองและความพึงพอใจ ของผู้บริโภคเป็นหลัก นอกจากนี้ ด้วยภาวะปัจจุบันที่เป็นสังคมออนไลน์และผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ทำให้ความประทับใจของผู้บริโภคคนหนึ่ง จะส่งต่อไปยังผู้บริโภครายอื่นได้รวดเร็วผ่านการบอกต่อและแชร์ข้อมูลออนไลน์ จากเพื่อนถึงเพื่อนต่อเนื่องไป ดังนั้น การมัดใจลูกค้าจึงเป็นหัวใจสำคัญ ของธุรกิจบริการที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรให้ความสำคัญและพยายามรักษาคุณภาพในการให้บริการอยู่เสมอ

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจ ความคล่องตัวและความทันสมัยกลายเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการเลือกใช้บริการ ของผู้บริโภค ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ไทยคงยากที่จะหลีกเลี่ยงการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อสร้างความคล่องตัว ในธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอาจประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในส่วนที่จำเป็นต่อบริการเป็นอันดับ ต้นๆ อาทิ นำเทคโนโลยีมาใช้ในส่วนของการสั่งจองหรือสำรองสิทธิการใช้บริการ การตอบรับหรือการยืนยันการใช้บริการ ซึ่งจะสร้างความคล่องตัวและสร้างความเชื่อมั่นในการใช้บริการของลูกค้าได้ ระดับหนึ่ง เป็นต้น

รักษาฐานลูกค้าเดิม พร้อมมองหาลูกค้ากลุ่มใหม่เพื่อกระจายความเสี่ยง ภาวะการแข่งขันที่รุกคืบเข้าใกล้ตัวมากขึ้น อาจมีส่วนแย่งชิงเค้กส่วนแบ่งในตลาดของธุรกิจ SMEs ไทย ซึ่งแนวทางหนึ่งที่อาจช่วยลดความกดดันคือ การพยายามรักษาความพึงพอใจของฐานลูกค้าเดิม ขณะเดียวกันควรมองหาโอกาสขยายฐานลูกค้าใหม่โดยอาจใช้กลยุทธ์ดังกล่าวมาแล้ว ข้างต้นมาประมวลใช้ด้วยกัน อาทิ การมีบริการที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อกระจายกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และการหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อขยายฐานลูกค้าภายใต้งบประมาณที่จำกัด เป็นต้น

ศึกษาคู่แข่งที่ก้าวเข้ามาในตลาด เพื่อหากลยุทธ์รับมือการแข่งขัน การเตรียมความพร้อมเฉพาะตัวธุรกิจฝั่งเดียวคงไม่เพียงพอ แต่ผู้ประกอบการ SMEs ไทยคงต้องทำการศึกษาคู่แข่งทางธุรกิจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพราะทุกธุรกิจย่อมมีจุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละธุรกิจ ซึ่งหากผู้ประกอบการสามารถมองเห็นจุดอ่อนของคู่แข่งได้ ก็ย่อมได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มโอกาสในการรักษาจุดยืนในตลาดได้มากขึ้น

สำหรับธุรกิจบริการของ SMEs ไทยที่มีโอกาสเผชิญการแข่งขันสูงขึ้นจากการเปิดเสรีบริการอาเซียน อาทิ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพและความงามเช่น สปา และการบำบัดอื่นๆ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจโลจิสติกส์ และธุรกิจบริการการศึกษา สำหรับตลาดที่มีโอกาส ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา ในสาขาธุรกิจค้าปลีก/ก่อสร้าง มาเลเซีย/สิงคโปร์ ในกลุ่มธุรกิจสุขภาพ (สปาและการบำบัด) เป็นต้น

————————————————————————————–
1 สมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
2 WTO จำแนกสาขาบริการไว้ 12 สาขา ได้แก่ บริการด้านธุรกิจ บริการด้านสื่อสารคมนาคม บริการด้านการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่อง บริการด้านการจัดจำหน่าย บริการด้านการ ศึกษา บริการด้านสิ่งแวดล้อม บริการด้านการเงิน บริการด้านสุขภาพและบริการทางสังคม บริการด้านการท่องเที่ยว บริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และการกีฬา บริการด้านการขนส่ง และบริการอื่นๆ

AEC : ASEAN Economic Community บทบาทของศุลกากรไทยภายใต้กรอบ

ในการดำเนินการไปสู่ยุทธศาสตร์ด้านการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันนั้น พันธกิจหนึ่งที่สำคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงกับบทบาทศุลกากรคือ พันธกิจด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี ภายใต้ยุทธศาสตร์การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ได้คำนึงถึงการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกเป็นหลัก โดยในการเปิดเสรีเน้นการลดอุปสรรคด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี การยกเลิกภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าภายในอาเซียนจะถูกยกเลิกให้สอดคล้องกับ กรอบเวลาและพันธกรณีที่ระบุไว้ภายใต้ความตกลง CEPT และความตกลงหรือพิธีสารอื่นที่เกี่ยวข้อง การยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBS) อาเซียนได้จัดทำหลักเกณฑ์ (criteria) การจำแนกมาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศสมาชิกแล้ว ซึ่งใช้พื้นฐานหลักเกณฑ์การจำแนกตาม WTO และได้เห็นชอบแผนงานการขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี (Work Programme on elimination of NTBS) ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 5 ประเทศ มีกำหนดที่จะขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษีทั้งหมดภายในปี 2010 สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ภายในปี 2012 และประเทศ CLMV ภายในปี 2015 ส่วนในด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า มีการพัฒนามาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น การบูรณาการด้านพิธีการศุลกากร การจัดตั้งระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวของอาเซียน และการส่งเสริมกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ CEPT อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงระเบียบพิธีการในทางปฏิบัติภายใต้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า และการปรับประสานมาตรฐานและความสอดคล้องในด้านพิธีการ เป็นต้น

การดำเนินงานของกรมศุลกากร
1. การลดอุปสรรคด้านภาษี
1.1 การลดหรือยกเว้นอากรขาเข้าให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนด อัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area : ความตกลง CEPT)
1.2 การออกกฎหมายเพื่อให้สัตยาบันให้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA)

2. กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

2.1 การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตัวเอง
2.2 การปรับปรุงกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าให้มีความโปร่งใส

3. ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature
ระบบการจำแนกพิกัดอัตราศุลกากรที่ชัดเจนและเป็นรูปแบบเดียวกันเป็นเครื่อง มือหนึ่งที่ช่วยให้การดำเนินการด้านพิธีการศุลกากรมีความเรียบง่าย ก่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ การ ปรับปรุงระบบอาร์โมไนซ์ข้างต้น มีผลทำให้สมาชิกอาเซียนต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข AHTN ให้สอดคล้องกับ HS 2012 และดำเนินการทบทวนแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการร่วมกันของสมาชิกอาเซียน โดยมุ่งหมายให้ระบบการแบ่งกลุ่มสินค้าง่ายขึ้น เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งปัจจุบันกรมศุลกากรอยู่ระหว่างดำเนินการร่วมกับอาเซียนโดยกำหนดเป้าหมาย ให้สามารถนำมาใช้ได้ทันพร้อมกับ HS 2012 คือ วันที่ 1 มกราคม 2555

4. Develop the advance ruling systems
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการให้สามารถผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า สินค้าได้อย่างถูกต้อง สร้างความชัดเจนในการชำระค่าภาษีอากร และสามารถเลือกใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีได้ อย่างถูกต้อง กรมศุลกากรจึงจัดให้มีบริการให้คำวินิจฉัยล่วงหน้า ได้แก่
   4.1 Advanced Ruling On Tariff Classification
การให้บริการจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรล่วงหน้า เป็นการให้บริการจำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรแก่ผู้นำเข้าที่ต้องการทราบ ประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้าก่อนที่จะมีการนำเข้าตามที่ได้ร้องขอ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศกรมศุลกากรที่ 13/2553 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับคือ ทำให้เกิดความแน่นอนและคาดการณ์ล่วงหน้าสำหรับสินค้าที่มีปัญหาได้ ทำให้มั่นใจได้ว่ามีการจำแนกพิกัดสินค้าที่เหมือนกันไปในแนวทางเดียวกัน สะดวกรวดเร็ว ลดเวลาและค่าใช้จ่าย สามารถวางแผนการดำเนินงานกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายสินค้า ผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ในปี 2551 (ก.ค.-ก.ย.) จำนวน 27 คำร้อง ปี 2552 จำนวน 88 คำร้อง และในปี 2553 (ต.ค. 52-มิ.ย. 53) จำนวน 106 คำร้อง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
   4.2 การวินิจฉัยถิ่นกำเนิดสินค้าล่วงหน้า
เป็นการให้บริการวินิจฉัยถิ่นกำเนิดสินค้าล่วงหน้าแก่ผู้ที่มีความประสงค์จะ นำของเข้ามาจากประเทศที่มีพันธกรณีภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีร่วมกัน ที่ต้องการทราบถิ่นกำเนิดของสินค้าก่อนที่จะมีการนำเข้าตามที่ได้ร้องขอ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศกรมที่ 7/2553 และคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 3/2553 ลงวันที่ 21 มกราคม 2553 ปัจจุบันยังไม่มีผู้ขอใช้บริการ
4.3 Advance Ruling on Valuation
การให้บริการวินิจฉัยราคาศุลกากรล่วงหน้า เป็นอีกโครงการหนึ่งที่พัฒนาระบบพิธีการและราคาศุลกากร ด้วยการรับคำร้องขอให้วินิจฉัยราคาศุลกากรล่วงหน้าตามประกาศกรมศุลกากรที่ 67/2552 และปฏิบัติงานตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 18/2552 ในปีที่ผ่านมามีผู้สนใจยื่นคำร้องขอดังกล่าวจำนวนหนึ่ง ส่วนในปีงบประมาณ 2554 นี้ กรมฯ ได้มีการพัฒนาการให้บริการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำโครงการวินิจฉัยราคาศุลกากรล่วงหน้าทาง อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2553 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการยื่นคำร้องของผู้ประกอบการให้มากขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการวิเคราะห์ กำหนดรูปแบบงาน เพื่อออกแบบระบบให้สามารถดำเนินการได้ภายใต้งบประมาณที่มีอยู่
5. ASEAN Customs Declaration Document : ACDD
การใช้เอกสารใบขนสินค้าอาเซียน ในการประชุมผู้เชี่ยวชาญศุลกากรอาเซียน (ECCM) ครั้งที่ 11 (กันยายน 2546) สำนักเลขาธิการอาเซียนได้นำเสนอแนวคิดที่จะให้ประเทศสมาชิกใช้ใบขนสินค้าที่ มีรูปแบบเหมือนกัน เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกทางการค้าและลดเอกสารในการผ่านพิธีการ จึงได้กำหนดจำนวนรายการ (items) ของข้อมูลที่จำเป็นในใบขนสินค้าอาเซียนขึ้นมา เพื่อให้ประเทศสมาชิกนำมาใช้ผ่านพิธีการศุลกากร สำหรับการนำเข้า/ส่งออก และผ่านแดนภายในอาเซียน
6. การใช้ระบบ ASEAN Single Window
การพัฒนาระบบ Single Window ขององค์การสหประชาชาติ และความตกลงอาเซียนสำหรับการพัฒนา ASEAN Single Window กล่าวถึงการค้าระหว่างประเทศในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการขนส่งระหว่างประเทศ จะต้องจัดเตรียมและส่งข้อมูลหรือเอกสารต่างๆ จำนวนหลายชุดให้กับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับ การตรวจสอบและควบคุม การนำเข้า การส่งออก และการขนส่งตามข้อกำหนดและความต้องการของแต่ละหน่วยงาน และบ่อยครั้งที่ข้อมูลเอกสารคำขอและเอกสารแนบต่างๆ ต้องถูกจัดส่งไปยังหลายหน่วยงาน เพื่อยื่นแสดงการขออนุมัติต่างๆ ในขณะที่หน่วยงานแต่ละแห่งมีระบบการทำงานแตกต่างกัน ข้อกำหนดและความต้องการที่แตกต่างกันของหลายหน่วยงานเหล่านี้ก่อให้เกิด ปัญหาความล่าช้า และเป็นภาระค่าใช้จ่ายแก่ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ อันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนในระยะยาว
7. ASEAN Cargo Processing Model
การนำแบบจำลองการผ่านพิธีการตรวจปล่อยสินค้าอาเซียน (ASEAN Cargo Processing Model) มาใช้กับงานด้านศุลกากร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างอาเซียนและ ออสเตรเลีย (ASEAN-Australia Development Cooperation Program : AADCP) โดยมีการลงนามระหว่างประเทศสมาชิกในความตกลงว่าด้วยเรื่องศุลกากร (ASEAN Agreement on Customs) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งได้เห็นชอบในหลักการด้านความสอดคล้อง (Consistency) เรียบง่าย (Simplicity) โปร่งใส (Transparency) มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) รวมถึงการจัดให้มีกลไกที่เหมาะสมในการอุทธรณ์ในการบริหารงานด้านศุลกากรด้วย
8. การบริหารจัดการชายแดน
กรมศุลกากรมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการชายแดนเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการ ขนส่งสินค้าและบุคคลข้ามแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีการดำเนินการตามความตกลงร่วมกันในประเด็นที่สำคัญ อาทิเช่น การอำนวยความสะดวกสำหรับการขนส่งข้ามแดน การข้ามแดนของบุคคล การนำเข้ารถยนต์ชั่วคราว และการให้บริการอื่นๆ เป็นต้น การจัดตั้งระบบผ่านแดนของศุลกากรอาเซียน (ASEAN Customs Transit System: ACTS) เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปภายใต้โครงการ ASEAN-EU Program for Regional Integration Support Phase II โดยการส่งคณะผู้เชี่ยวชาญเข้ามาให้ความช่วยเหลือกับสำนักเลขาธิการอาเซียนใน การพัฒนาระบบผ่านแดนของศุลกากร
9. Authorized Economic Operators: AEOs
การเปิดรับสมัครผู้ส่งของออกเพื่อคัดเลือกให้เป็นผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจ ที่ได้รับอนุญาต จากการที่กรมศุลกากรได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตนารมณ์ (Letter of Intent) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 ในการนำ WCO Framework of Standard มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อกระตุ้นให้ศุลกากร และภาคเอกชนตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน กรมฯ ได้มีคำสั่งกรมฯ ที่ 410/2550 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 จัดตั้งคณะทำงานจัดทำโครงการนำร่อง Authorized Economic Operators (AEOs Program) เพื่อทำการศึกษาและกำหนดรูปแบบ AEOs รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการนำ AEOs มาใช้ในงานศุลกากร
ที่มา freightmaxad.com

AEC : การจัดทำมาตรฐานอาเซียนเพื่อรองรับการเปิด AEC

ในปี 2015 ที่อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนจะกลายเป็นเขตการผลิตเดียว ตลาดเดียว ซึ่งจะสามารถเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี สามารถดำเนินกระบวนการผลิตที่ไหนก็ได้ สามารถใช้ทรัพยากรจากแต่ละประเทศ ทั้งวัตถุดิบ แรงงานร่วมกันในการผลิต มีมาตรฐาน และกฎระเบียบเดียวกัน
โดยในการเตรียมความพร้อมในส่วนของประเทศไทยที่จะก้าวสู่ AEC นั้น หลายๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนได้พยายามสร้างความตื่นตัวแก่ผู้ประกอบการเพื่อให้พร้อมรับการการ แข่งขันอย่างเสรีที่จะเกิดขึ้นในปี 2015 ที่กำลังจะมาถึงไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเรื่อง สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ผู้ประกอบการจะได้รับซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างกัน, การปรับปรุงการบริหารงานภายในบริษัทเพื่อให้พร้อมกับการเข้ามาแข่งขันของ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่จะเข้ามาลงทุนมากขึ้นเพื่อมิให้เกิดการผูกขาดทางธุรกิจ, การเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารงาน และสร้างความได้เปรียบ หรือแม้กระทั่งการยกระดับการบริหารงานในด้านต่างๆ ให้มีความเป็นสากล และมีมาตรฐานซึ่งจะเป็นเสมือนกลไกในการควบคุมสินค้า และบริการภายในอาเซียน
ดังนั้นการจัดทำมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ในระดับอาเซียนก็จะถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่ จะช่วยสนับสนุนให้เปิด AEC เป็นไปอย่างมีแบบแผน และเกิดประสิทธิภาพ โดยหากคิดง่ายๆ ถ้าประเทศต่างๆ ในอาเซียนมีมาตรฐานด้านโลจิสติกส์เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายสินค้าที่เป็นมาตรฐาน มีระบบการสื่อสารและการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเป็นระบบเดียวกัน ทั้งอาเซียน รวมถึงมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายด้านโลจิสติกส์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นกรอบการดำเนินงาน และเป็นเสมือนข้อกำหนดเบื้องต้นในการทำธุรกิจร่วมกัน และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยลดความยุ่งยากซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดทำมาตรฐานดังกล่าว ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยส่งเสริมการค้า และการเปิด AEC ที่กำลังจะถึง ดังนั้น กพร. จึงได้มีการจัดทำโครงการยกระดับมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยสู่ มาตรฐานระดับสากล ซึ่งสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออกฯ) ได้ร่วมกับสถาบันวิทยาการ โซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เห็นถึงความสำคัญในการจัดทำมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ จึงได้เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาของโครงการโดยเนื้อหาของโครงการนั้นจะศึกษามาตร ฐานด้านโลจิสติกส์ด้านต่างๆ ของประเทศไทยใน 3 หมวดหมู่ได้แก่
– มาตรฐานด้านอุปกรณ์โลจิสติกส์เพื่อการขนย้ายสินค้าข้ามพรมแดน อาทิ มาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ในการขนส่ง, มาตรฐานของแท่นรองรับสินค้า, มาตรฐานของตู้คอนเทนเนอร์ รวมถึงมาตรฐานอุปกรณ์ในการขนส่งสินค้าอันตราย
– มาตรฐานของระบบเครื่องมือสื่อสารเพื่อการจัดการข้อมูล ได้แก่ บาร์โค้ด, มาตรฐานระบบ NSW , RFID และมาตรฐานด้านฐานข้อมูลโลจิสติกส์
– มาตรฐานด้านกฎระเบียบ/ข้อบังคับ ในการขนส่งสินค้าข้ามแดน ซึ่งจะรวมถึงกฎระเบียบทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และ กฎหมายขนส่งต่อเนื่อง (MTO) รวมถึงกฎหมายของการขนส่งสินค้าอันตราย
โดยจะการศึกษานั้นจะพิจารณามาตรฐานโลจิสติกส์ในส่วนของประเทศไทยทั้ง 3 ด้านโดยดูว่าประเทศไทยมีมาตรฐานในด้านใดบ้าง พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลมาตรฐานโลจิสติกส์ในทั้ง 3 ด้านของประเทศในกลุ่มอาเซียน และอาเซียน+6 และเปรียบเทียบมาตรฐานทั้ง 3 ด้านของไทยกับประเทศอื่นๆ และคัดเลือกมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ของไทยที่ควรปรับปรุง และจัดทำเป็นมาตรฐานนำร่อง (Pilot Standard) ที่จะนำมาจัดทำเป็นต้นแบบเพื่อเสนอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องของไทย พิจารณากำหนดเป็นมาตรฐานของประเทศไทยต่อไป
นอกจากนี้จะมีการจัดทำในลักษณะของฐานข้อมูลด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทย (Database of International Standardization System) เพื่อให้สะดวกต่อผู้ส่งออก และนำเข้าในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะมีส่วนช่วยส่งเสริมการค้าการส่งออกของไทยได้
โดยขณะนี้ สภาผู้ส่งออกฯ และสถาบันวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลมาตรฐานในส่วนของประเทศไทย และประเทศในกลุ่มอาเซียน และอาเซียน+6 ซึ่งตามกรอบระยะเวลาการดำเนินงานโครงการดังกล่าว คาดว่าโครงการฯ นี้จะแล้วเสร็จภายในเดือน เมษายน 2555 ซึ่งหากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ เชื่อว่าข้อมูลต่างๆ จะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการในระดับ SMEs ที่ต้องการบุกตลาดอาเซียน และอาเซียน+6 เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ผุ้ประกอบการได้มีโอกาสตั้งรับ และพร้อมรุก สำหรับการเปิดตลาด AEC ในปี 2015 ที่กำลังจะถึง ซึ่งเชื่อว่า ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยสร้างแต้มต่อให้แก่ผู้ประกอบการไทยได้ไม่มากก็น้อย
ที่มา freightmaxad.com

การพัฒนาธุรกิจค้าปลีก…เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC

จากการเปิดเสรีทางการค้าในประเทศไทย ทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการค้าปลีกทั้งราย เล็กและรายใหญ่ต่างก็ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ส่งผลให้รูปแบบการค้าปลีกได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก การขยายตัวอย่างรวดเร็วของค้าปลีกสมัยใหม่ หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อที่มีจำนวนสาขามากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้ผู้บริโภคมีช่องทางในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อันส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมที่มีขนาดกลาง และขนาดเล็ก หรือผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอี

การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาคธุรกิจค้าปลีกของไทยมีการตื่นตัวกันมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลต่อการเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอี ซึ่งนอกจากจะเผชิญกับการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ในประเทศ แล้วยังต้องแข่งขันกับนักลงทุนต่างชาติที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในไทย ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยก็มีโอกาสที่จะขยายการลงทุนไปในอาเซียน ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีพร้อมที่จะรุกและรับภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจภายหลังการก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกิดขึ้นในปี 2558

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน-AEC… ผลต่อภาคธุรกิจค้าปลีกไทย 

การก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 ส่งผลให้ตลาดอาเซียนมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมี จำนวนประชากรในอาเซียนรวมกันกว่า 600 ล้านคน สามารถเคลื่อนย้ายหรือไปมาหาสู่กันได้อย่างเสรี ภาคการค้ามีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ผู้บริโภคในกลุ่มรายได้ปานกลางจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงรูปแบบในการบริโภคสินค้า/บริการของผู้บริโภคจะสอดคล้องกับสังคมสมัยใหม่มากขึ้น เช่น นิยมสินค้าที่มีคุณภาพ และให้ความคุ้มค่ามากขึ้น มีความทันสมัยและสนใจในการใช้เทคโนโลยี เป็นต้น

ในส่วนของภาคบริการของธุรกิจค้าปลีก นับเป็นภาคธุรกิจที่มีความสำคัญและมีบทบาทต่อภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจากการเปิด AEC ที่ กำลังจะมาถึงในปี 2558 นั้น อาจจะเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีของไทย โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ธุรกิจค้าปลีกมีโอกาสได้ประโยชน์จากการเปิด AEC ในหลายแง่มุม ได้แก่

• ผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีของไทยมีโอกาสขยายธุรกิจ โดยหันไปทำการลงทุนในอาเซียนได้มากขึ้น จากการขยายเพดานการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 49 เป็นร้อยละ 70 ในปี 2558

• ผู้ประกอบการมีโอกาสในการนำเข้าสินค้าจากอาเซียนมาจำหน่ายในราคาที่ถูกลงอันเนื่องมาจากการปรับลดอัตราภาษีนำเข้า

• โอกาสในการหาพันธมิตรทางธุรกิจในอาเซียน โดยแม้ว่าค้าปลีกที่เป็นแบรนด์อาเซียนอาจจะเข้ามามีบทบาทในตลาดอาเซียนมากขึ้น ส่งผลให้ การแข่งขันอาจมีแนวโน้มรุนแรง แต่ผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีของไทยอาจใช้โอกาสนี้สร้างเครือข่ายพันธมิตรกับธุรกิจในอาเซียนอื่นๆ เสริมความเข้มแข็งภายใต้สภาพแวดล้อมการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ที่มา: MOC,KResearch

ทั้งนี้ จะเห็นว่า ประเทศในอาเซียนมีความต้องการสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และผู้บริโภคในแต่ละประเทศก็เริ่มนิยมและชื่นชอบสินค้าไทย โดยจะ เห็นได้ว่าการส่งออกสินค้าไทยไปอาเซียนในปี 2554 มีมูลค่าประมาณ 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 (YoY) โดยประเทศที่มูลค่าการส่งออกมากที่สุดได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ในขณะที่ประเทศพม่า และลาวมีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สรุปข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นของแต่ละประเทศสมาชิกในอาเซียน เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าปลีกที่สนใจจะออกไปเจาะตลาดอาเซียนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน

สิงคโปร์/มาเลเซีย – เป็นกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง นิยมเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนม สินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าหรูหรามากขึ้น
– วัฒนธรรมไลฟ์สไตล์ทางตะวันตกมีอิทธิพลมาก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นสิงคโปร์มีพฤติกรรมอ่อนไหวต่อกระแสนิยมและแฟชั่นในตลาดโลกสูง และค่อนข้างให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ
– ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมาก และนิยมทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย เครื่องดื่มในกลุ่ม Functional Food เช่น เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ/ให้พลังงาน
– มีการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกอย่างต่อเนื่อง อาทิ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ดังนั้น ช่องทางในการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการค้าปลีกของไทยอาจจะเป็นไปในลักษณะของการ เช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า หรือการตั้งซูเปอร์มาร์เก็ตจำหน่ายสินค้าตามชุมชนต่างๆ แต่ค่าเช่าจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง และต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง
อินโดนีเซีย/เวียดนาม – เป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้ระดับปานกลาง-ต่ำ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังค่อนข้างอ่อนไหวกับราคาสินค้า ทำให้ไม่ค่อยนิยมสินค้านำเข้าที่ราคาแพงหรือสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ราคาสูง
– มีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าอาหารค่อนข้างสูง
– พฤติกรรมการซื้อสินค้าอาหารหันมานิยมซื้ออาหารสำเร็จรูป อาหารพร้อมปรุง และอาหารพร้อมรับประทานที่เก็บไว้ได้นานมากขึ้น
– อาหารสไตล์ตะวันตกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะอาหารฟาสฟู้ดที่เข้ามาในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์
– ช่องทางการค้าปลีกของผู้ประกอบการไทยในอินโดนีเซีย และเวียดนามอาจเป็นการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางร้านปลีกแบบดั้งเดิม เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่จะนิยมซื้อสินค้า ตามร้านค้าปลีกรายย่อยมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ช่องทาง Modern Trade ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น
พม่า / สปป.ลาว / กัมพูชา – ส่วนใหญ่ยังมีกำลังซื้อไม่สูงนัก ทำให้การตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เน้นพิจารณาจากประโยชน์ของสินค้าเป็นสำคัญ และมักซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น อย่างไรก็ดี สำหรับกลุ่มวัยรุ่นชาวลาว พบว่า กระแสแฟชั่นสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างมาก โดยเฉพาสินค้าด้าน เครื่องแต่งกายและการดูแลสุขภาพ
– ประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 3 มีรสนิยมค่อนข้างคล้ายคลึงกับไทย จากประเพณีและวัฒนธรรม และพรมแดนที่อยู่ติดกัน ทั้งยังนิยมเลียนแบบการบริโภคสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ของไทย
– ผู้บริโภคทั้ง 3 ประเทศ ส่วนใหญ่ยังเน้นบริโภคสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน ขณะที่สินค้าฟุ่มเฟือยหรือสิ่งอำนวยความสะดวกยังได้รับความนิยมในวงจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้สูง / นักการเมือง
– ช่องทางการค้าปลีกของผู้ประกอบการไทยในประเทศกลุ่มนี้ น่าจะเป็นลักษณะของร้านค้าปลีกย่อยที่เป็นตัวแทนจำหน่าย เพราะผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าผ่านตัวแทนจำ นอกจากนี้ การเข้าไปเช่าพื้นที่ขายผ่านช่องทาง Modern Trade ก็เริ่มน่าสนใจ เพราะผู้บริโภคเริ่มมีพฤติกรรมซื้อสินค้าผ่านทาง Modern Trade มากขึ้น ในขณะที่บางสินค้าก็อาจจะนิยมซื้อขายโดยตรงเลย (ขาย ตรง) เช่น เครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น

ทั้งนี้ ประเภทของธุรกิจค้าปลีกที่คาดว่า จะมีโอกาสขยายตัวได้มากขึ้นจากการเปิดเสรี AEC ดังกล่าว ได้แก่

ประเภทของธุรกิจ รายละเอียด
ค้าปลีกสินค้ากลุ่มแฟชั่น – กระแสอุตสาหกรรมบันเทิงของไทย กำลังเป็นที่นิยมและชื่นชอบอย่างมากในประเทศเพื่อนบ้าน
– กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องประดับ รองเท้าและกระเป๋า ที่อิงกระแสดาราไทย จะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ดังนั้น นอกจากผู้ประกอบการสินค้าแฟชั่นของไทยจะต้องคอยตามพฤติกรรม ของผู้บริโภคอาเซียนแล้ว ยังต้องติดตามกระแสละครของไทยด้วย
– ด้วยความพร้อมทางด้านวัตถุดิบตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ประกอบกับมั่นใจในคุณภาพและภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าไทยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และคาดว่า สินค้าแฟชั่นของไทย น่าจะเป็นที่นิยมในอาเซียนมากขึ้น
– ประเทศที่น่าลงทุนในกลุ่มค้าปลีกสินค้าแฟชั่น ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า
ค้าปลีกสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ – กำลังซื้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับจำนวนประชากรในวัยทำงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพมีมากขึ้น
– ความมีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน ก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สินค้าของไทยเป็นที่ต้องการในอาเซียน
ค้าปลีกอาหารและเครื่องดื่ม – ด้วยจุดแข็งทางด้านวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีความหลากหลาย ประกอบกับรสชาติของอาหารที่เป็นที่นิยม และลักษณะของรสชาติอาหารใกล้เคียงกับไทย เช่น ลาว ฟิลิปปินส์ เป็นต้น
– เป็นภูมิภาคที่มีมุสลิมอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ค้าปลีกประเภทอาหารฮาลาลน่าจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น
– ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคในอาเซียนที่มีการปรับเปลี่ยนตามสมัยสังคมในปัจจุบันมากขึ้น ร้านค้าปลีกจำหน่ายอาหารพร้อมปรุง และอาหารพร้อมรับประทาน (ready to eat) ก็น่าจะมีโอกาสในการขยายตัวในอาเซียนมากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ พวกอาหารเสริมหรืออาหารออร์แกนิกหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพก็น่าจะมีโอกาสขยายตัวตามกระแสการหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นของผู้บริโภค
ค้าปลีกสินค้า/ของที่ระลึก/สินค้า OTOP – มีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่า จะสามารถรองรับกับจำนวนนักท่องเที่ยวจากอาเซียนที่เพิ่มขึ้นภายหลังเปิด AEC ในปี 2558
– อาศัยฝีมือแรงงาน รวมถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทยในการเจาะตลาดผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวให้หันมาสนใจซื้อสินค้า/ของที่ระลึกมากขึ้น โดยผู้ประกอบการค้าปลีก สินค้ากลุ่มดังกล่าวอาจจะร่วมมือกับภาคการท่องเที่ยว เช่น กลุ่มบริษัททัวร์นำเที่ยว ให้มีการเชิญชวนหรือพานักท่องเที่ยวมาแวะจับจ่ายสินค้าดังกล่าว เป็นต้น
ค้าปลีกสินค้ากลุ่มชิ้นส่วนและอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์/จักรยานยนต์ – ผลจากเศรษฐกิจที่เติบโต กำลังซื้อของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน เช่น เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์/จักรยานยนต์ในประเทศดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้น
– ส่งผลต่อเนื่องถึงความต้องการชิ้นส่วนและอุปกรณ์ รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมด้านนี้ไทยมีความสามารถในการแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม อาจจะมีประเภทของกลุ่มสินค้า/บริการอีกหลากหลายรูปแบบที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยมีโอกาสที่จะขยายตลาดในอาเซียน ซึ่งทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยมีการเตรียมความพร้อมในการแข่งขันภายหลัง AEC เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 มากน้อยเพียงใด เพราะในขณะเดียวกัน การเปิด AEC ก็อาจจะจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติในอาเซียนสนใจที่จะเข้ามาขยายธุรกิจในไทยเช่นกัน ซึ่งนับเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่จะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่คาดว่าจะมีแนว โน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีความพร้อมทางด้านเงินทุน และมีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจค้าปลีกพอสมควรอย่างสิงคโปร์ หรือแม้แต่มาเลเซีย ดังนั้น ในช่วงเวลาอีก 3 ปีข้างหน้าก่อน ที่จะเข้าสู่ประตู AEC อย่างเต็มรูปแบบ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยจะต้องมีการปรับตัว และเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาธุรกิจค้าปลีกให้มีศักยภาพในการแข่งขัน

การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ…เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

นอกจากการวางแผนดำเนินธุรกิจในขั้นพื้นฐานแล้ว ผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอียังควรเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของ ธุรกิจให้แข็งแกร่ง ท่ามกลางภาวะการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า โดยการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีของไทย มีดังนี้

การศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็น AEC

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยส่วนใหญ่ยังคงขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและรายละเอียดเกี่ยวกับ AEC อยู่มาก ดังนั้น ผู้ประกอบการเอส เอ็มอีของไทยควรที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ AEC ให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน ทั้งทางด้านกฎระเบียบ เงื่อนไข การลงทุน ภาษี และกฎหมายแรงงาน โดยอาจจะเข้าร่วมรับฟังสัมมนากับ ทางหน่วยงานภาครัฐที่จัดสัมมนาเกี่ยวกับ AEC หรือสอบถามไปทางหน่วยงานของภาครัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องดังกล่าว เช่น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก สมาคมค้าปลีก เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยมีพื้นฐาน และมีความเข้าใจที่ชัดเจน ซึ่งเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการ แข่งขันในลำดับถัดไป

การบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อุปสรรคที่สำคัญอีกหนึ่งประการสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คือ การบริหารต้นทุนให้ต่ำที่สุด เพราะจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น ร้านค้าปลีกจำเป็นต้องมีการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านการสั่งซื้อสินค้า การบริหารสต็อกสินค้า ควรมีการจัดทำบัญชีรายการสินค้าเข้าออก และบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการจัดซื้อสินค้า และการทำสต็อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้เพิ่มขึ้นภายหลังเปิด AEC ในปี 2558

พัฒนาสินค้าและบริการ

ผู้ประกอบการการเอสเอ็มอีควรที่จะผูกมัดใจลูกค้าในทุกรูปแบบ ด้วยการพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความหลากหลายและเกิดความแตกต่าง มีการพัฒนาสินค้าให้เกิดเป็นแบรนด์ของตนเอง ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ทั้งนี้ เนื่องด้วยสินค้าและบริการของไทยมีข้อเสียเปรียบในเรื่องของต้นทุนที่สูงกว่าอีกหลายๆ ประเทศในอาเซียน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยควรหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางด้านราคา และหันมายกระดับสินค้าและบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐานเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่า จะทำให้สินค้าและบริการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยเป็นที่สนใจมากขึ้นในอาเซียน

พัฒนาคุณภาพของบุคลากร

การจ้างบุคลากรที่ดี การพัฒนาความสัมพันธ์ที่เหมาะสม และทำให้พนักงานเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานเป็นกุญแจสำคัญสำหรับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะ และความชำนาญเหมาะสมกับตำแหน่งงาน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าคุณจะจ้างแรงงานที่มีความเหมาะสมแล้ว การที่นายจ้างสามารถดูแลพนักงาน ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ก็จะทำให้พนักงานมีขวัญ และกำลังใจที่ดีในการทำงาน ผลที่ตามมา คือ กิจการก็จะประสบผลสำเร็จตามที่วางไว้

รักษาฐานลูกค้าเก่าให้มั่น ไปพร้อมๆกับการสร้างฐานลูกค้าใหม่

ภายหลังจากการเปิด AEC จะทำให้มีคู่แข่งเข้ามาทำการแข่งขันมากขึ้น รวมถึงมีโอกาสที่จะขยายฐานลูกค้าใหม่ๆได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ด้วยความได้เปรียบของผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีที่มีความน่าเชื่อถือ มีความใกล้ชิดและผูกพันกับกลุ่มลูกค้าเก่ามายาวนาน อาจจะง่ายต่อการเข้าใจในพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งผู้ประกอบการควรที่จะรักษาจุดแข็งตรงนี้ อีกทั้งการใส่ใจในเรื่องของการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย ก็นับเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจค้าปลีกที่ทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดี และอยากที่จะกลับมาใช้บริการซ้ำ ซึ่งลูกค้าเก่าที่รู้สึกดีจากการให้บริการ จนเกิดการบอกกล่าวแบบปากต่อปากจนกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้เกิดลูกค้าใหม่ๆมากขึ้น นอกเหนือจากการจูงใจกลุ่มลูกค้าด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่างๆ

นำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น Wireless Technology และเว็บไซต์ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรนำมาใช้ เพื่อเป็นช่องทางในการขายสินค้าและ บริการ รวมถึงการใช้ดิจิตอลคอนเทนท์เพื่อการโฆษณาเป็นภาพเคลื่อนไหวดึงดูดใจผู้ใช้บริการ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที โดยในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีเพิ่ม เติมเข้ามาในร้านค้าเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเป็นสิ่งที่ต่างประเทศมีความตื่นตัวมากขึ้น ดังนั้น จากที่เคยขายผ่านหน้าร้านธรรมดา ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยควรหันมาใช้ Internet ที่มีเว็บไซต์ 2 ภาษา ในการเจาะกลุ่มลูกค้าให้กว้างขวางมากขึ้น หรือที่เรียกว่า E-Commerce ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวก และสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั้งในและต่างประเทศเกิดได้เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันพบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เริ่มหันมาซื้อขายสินค้าและบริการผ่านทางช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น

เตรียมความพร้อมทางด้านภาษา

เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังคงต้องพัฒนาทักษะทางด้านภาษาให้พร้อมที่จะทำการค้าขายกับคนต่างชาติ ซึ่งภายหลังจากการเปิด AEC ในปี 2558 การค้าขายจะสะดวกมากขึ้น จะกว้างขวางขึ้นภายใต้จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นกว่า 600 ล้านคน ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในเรื่องของภาษา หากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องการที่จะขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศให้เติบโตมากขึ้น เพราะหากการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าไม่สามารถสื่อความให้เข้าใจตรงกันได้ ก็นับเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ และอาจจะทำให้สูญเสีย ลูกค้าไปให้กับคู่แข่งที่มีความพร้อมทางด้านภาษาได้อย่างง่ายดาย

ในขณะเดียวกัน นอกจากผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีจะตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงและการเข้ามาของคู่แข่งที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าแล้ว ผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีของไทยก็มีโอกาสที่จะนำพาธุรกิจค้าปลีกของไทยไปเจาะตลาดอาเซียนด้วยเช่นกัน ซึ่งหากมีการเตรียมความพร้อมที่ดี กล้าที่จะรุกออกสู่ตลาดอาเซียน การเปิด AEC ในปี 2558 ถือเป็นช่องทางสำคัญที่จะทำให้ค้าปลีกของไทยมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก ทั้งนี้ การเริ่มต้นรุกตลาดออกนอกประเทศของผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีอาจจะต้องเริ่มต้นจาก

ประเมินความพร้อมของธุรกิจ – ผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีไทยควรที่จะประเมินความพร้อมทางธุรกิจก่อนที่จะออกไปแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศ ทั้งในส่วนของเงินทุน บุคลากร รวมถึงตัวสินค้าและบริการ ว่ามี ความพร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งมากน้อยเพียงใด เงินทุนมีพอที่จะอออกไปลงทุนในต่างประเทศหรือไม่ หรือมีช่องทางและแผนที่จะหาเงินทุนมาทำธุรกิจหรือไม่ ความพร้อมของบุคลากรทาง ด้านภาษา รวมถึงจะเอาสินค้าและบริการชนิดใดไปแข่งขันกับคู่แข่ง เป็นต้น นอกจากนี้ จะต้องเตรียมความพร้อมในการแข่งขันกับคู่แข่งในอาเซียนที่อาจจะสนใจหันไปลงทุนทำธุรกิจค้าปลีก ในตลาดเดียวกับเรา
ศึกษากฎระเบียบทางการค้าของประเทศในอาเซียน – ก่อนที่เข้าไปทำธุรกิจการค้าในอาเซียน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีก็ต้องทำความเข้าใจ และศึกษาถึงกฎระเบียบ และข้อปฏิบัติของแต่ละประเทศสมาชิกให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งแต่ละประเทศก็ อาจจะมีกฏระเบียบ และข้อปฏิบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งการเข้าใจถึงกฎระเบียบ จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจได้อย่างถูกต้อง สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ศึกษาตลาดอาเซียน – กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือใคร สินค้าที่จะไปวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าหรือไม่ พร้อมทั้งวางแผนการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครง สร้างของตลาด ขนาดและอัตราการเติบโตของกลุ่มลูกค้า
– ทำเลที่ตั้ง นับเป็นปัจจัยสำคัญของการทำธุรกิจค้าปลีก ผู้ประกอบการควรมองหาทำเลที่เหมาะสมกับธุรกิจ ซึ่งแต่ละธุรกิจก็จะมีทำเลที่เหมาะสมแตกต่างกันไปตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น ย่านศูนย์การค้า ชุมชน อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้เริ่มต้นธุรกิจควรศึกษารายละเอียดของสัญญาว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ มากน้อยเพียงไร
– ทำการศึกษารสนิยม และพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละประเทศในอาเซียน การเรียนรู้และเข้าใจในรสนิยม และพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละประเทศในอาเซียนได้ก่อน นับเป็นความได้เปรียบของผู้ประกอบการที่สนใจจะขยายธุรกิจในอาเซียน ทำให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในอาเซียนได้ โดยอาจจะเริ่มจากการเข้าร่วมงานแสดง สินค้า/บริการในอาเซียน ซึ่งน่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้เรียนรู้ ความต้องการที่แท้จริงของตลาดและความเคลื่อนไหวของคู่แข่งในอาเซียนอีกด้วย
สร้างพันธมิตรทางการค้า – การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ควรให้ความสำคัญในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เพราะจะช่วยสร้างเครือข่ายธุรกิจให้มีการเชื่อมโยง เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพื่อร่วมถ่ายทอด เทคนิคการจัดการ ทักษะต่างๆ การทำการตลาด และสร้างอำนาจต่อรอง ให้มากขึ้นกว่าการดำเนินธุรกิจเพียงลำพัง
ทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง การตลาดเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จัก และตอกย้ำแบรนด์เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้

การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ก็นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจค้าค้าปลีกเอสเอ็มอี เพราะนอกจากผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีจะต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมกับการเผชิญการแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคตอันใกล้แล้ว ภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ค้าปลีกเอสเอ็มอีให้สามารถขับเคลื่อนไปได้ภายหลังเปิด AEC ในปี 2558 ด้วยเช่นกัน ซึ่งรัฐบาลควรวางมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ เร่งผลักดันการค้าตามแนวชายแดนให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการไทย และก่อให้เกิดเม็ดเงินสะพัดในบริเวณพื้นที่ แนวชายแดน หรือควรที่จะปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับค้าปลีกให้ชัดเจนตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ ซึ่งอาจจะเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกของไทย รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับ AEC ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้โดยเฉพาะในอาเซียนด้วยกัน โดยเฉพาะสิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญ

บทสรุป 

การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาคธุรกิจค้าปลีกของไทยมีการตื่นตัวกันมากขึ้น เนื่องจากประชากรกว่า 600 ล้านคนในอาเซียน สามารถเคลื่อนย้ายหรือไปมาหาสู่กันได้อย่างเสรี ภาคการค้ามีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น รวมถึงรูปแบบในการบริโภคสินค้า/บริการของผู้บริโภคจะ สอดคล้องกับสังคมสมัยใหม่มากขึ้น อาทิ นิยมสินค้าที่มีคุณภาพ มีความทันสมัยและสนใจในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกเอสเอ็มอีของไทย

โดยภายหลังจากการเปิด AEC คาดว่า แนวโน้มการแข่งขันในภาคธุรกิจค้าปลีกจะมีความรุนแรงและเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใดที่มีความพร้อมและสามารถปรับตัวได้ก่อนทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ ย่อมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ในขณะที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใดที่ไม่พร้อมที่จะปรับตัว ก็อาจจะทำให้เสียโอกาสให้กับคู่แข่งไป ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่นับตั้งแต่วันนี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยจะต้องเร่งปรับตัว โดยอาจจะเริ่มจากการมองหาจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง มาพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ควรที่จะมองหาโอกาสหรือช่องว่างในการขยายตลาดไปในอาเซียน อาทิ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและบริการของทางภาครัฐ น่าจะเป็นโอกาสที่ทำให้สามารถเรียนรู้คู่ค้าและคู่แข่งได้อย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันภาครัฐเองก็ควรที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในการผลักดันให้ธุรกิจค้าปลีกสามารถขับเคลื่อนไปได้ โดยภาครัฐจะต้องวาง มาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศภายหลังการเกิดขึ้นของ AEC ได้อย่างมีศักยภาพ

แหล่งที่มา
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

การเติบโตของตลาดเกษตรอินทรีย์ ในตลาดอาเซียน AEC

แนวโน้มการค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สอดรับกับกระแสความตื่นตัวเรื่องสุขอนามัย และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้ผู้ คนหันมาเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น แม้จะมีราคาจำหน่ายสูงกว่าราคาสินค้าโดยทั่วไป ส่งผลให้พื้นที่เกษตรอินทรีย์ขยายตัวตามไปด้วย

สถาบันวิจัยเกษตรกรรมอินทรีย์ (The Research Institute of Organic Agriculture: FiBL) และสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements: IFOAM) รายงานผลการสำรวจใน 154 ประเทศทั่วโลกในปี 2552 มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์รวม 232.35 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 12.15 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ซึ่งพื้นที่เกษตรอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 8.1 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด โดยมีจำนวนผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ 1.81 ล้านรายทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี ก่อนร้อยละ 9.4

หาก แบ่งตามภูมิภาคของโลก เขตโอเชียเนีย (กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก) มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 32.7 ของทั้งหมด รองลงมาคือทวีปยุโรปและลาตินอเมริกา ด้วยสัดส่วนร้อยละ 24.8 และร้อยละ 23.0 ตามลำดับ ขณะที่ทวีปเอเชียอยู่ในอันดับ 4 ที่ร้อยละ 9.6

สำหรับพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าจะมีสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่มาก เมื่อเทียบกับภูมิภาคโอเชียเนีย ยุโรป และลาตินอเมริกา กล่าวคือ พื้นที่เกษตรอินทรีย์ในเอเชียคิดเป็นร้อยละ 0.25 ของพื้นที่ทำการเกษตร เทียบกับพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในโอเชียเนียสูงถึงร้อยละ 2.82 ยุโรปร้อยละ1.93 และลาตินอเมริการ้อยละ 1.37 แต่ก็มีอัตราการขยายตัวที่น่าจับตามอง โดยในเอเชียพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นเป็น 32.38 ล้านไร่ หรือขยายตัวร้อยละ 5.9 และผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นเป็น 731,322 ราย หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80.7 ซึ่งประเทศที่มีการขยายตัวอย่างโดดเด่นคือ จีน และอินเดีย

อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศอาเซียนก็เป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่น่าจับตามอง เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและ อาหารที่สำคัญของโลก โดยจากข้อมูลการสำรวจพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้น เป็น 1,03 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.9 ส่วนสัดส่วนของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ต่อพื้นที่ เกษตรทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.22 จากที่เคยอยู่ในระดับร้อยละ 0.71 ในปีก่อนหน้า

เมื่อพิจารณาสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน ไทยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากเป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดย ไทยมีสัดส่วนของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ร้อยละ 17.9 ของพื้นที่เกษตรอินทรีย์ของอาเซียนทั้งหมด ส่วนอินโดนีเซียมีสัดส่วนร้อยละ 31.5 และฟิลิปปินส์มีสัดส่วนร้อยละ 31.3

สำหรับมูลค่าการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (International Trade Centre-UNCTAD/WTO) ประเมินว่าในปี 2553 มูลค่าตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 54,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15-20 โดยตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในภูมิภาค ยุโรปและอเมริกาเหนือ คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดรวมประมาณร้อยละ 97 ของการซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ทั่วโลก ส่วนตลาดรอง คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์และจีน และตลาดใหม่ที่คาดว่า จะมีการขยายตัวที่รวดเร็วคือ ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย และ อิสราเอล การบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพ ยุโรป ส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่ง (อัตราการขยายตัวเฉลี่ยต่อปีร้อยละ1-3) กลุ่มประเทศทวีปอเมริกาเหนือ (สหรัฐฯร้อยละ 2-2.5) และประเทศญี่ปุ่น (ร้อยละ 0.35-0.45)

สำหรับในประเทศไทยตลาดเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2533 โดยกระแสความตื่นตัวด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค ในการ บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารที่ปลอดภัย/มีประโยชน์ จนทำให้ธุรกิจอาหารสุขภาพเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2541 ส่งผลให้ตลาดเกษตรอินทรีย์ ประสบกับภาวะชะงักงันไประยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย เริ่มฟื้นตัวอีกครั้งตั้งแต่ปี 2546 เมื่อมีการจัดประชุมนานาชาติเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย โดย สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่ง สหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization – FAO) โดยมูลนิธิสายใยแผ่นดินและกรีนเนท เป็นเจ้าภาพหลัก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการขยายตัวของตลาดเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น เช่น การใช้ตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสำนักงานมาตรฐานเกษตร อินทรีย์ (มกท.) และของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ กับผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยได้สะดวกมากขึ้น มีผู้ ประกอบการค้าปลีกเฉพาะทางที่มีนโยบายการตลาดเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะ เช่น ร้านเลมอนฟาร์ม นอกจากนี้ ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดใหญ่เริ่มเห็นแนวโน้มทิศทางของตลาด เกษตรอินทรีย์ จึงได้เริ่มเปิดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ

การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยแบ่งเป็น

– เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเอง เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งตนเองโดยส่วนใหญ่เป็นการเกษตรแบบพื้นบ้านที่ไม่ได้มีการรับรองมาตรฐานจากหน่วย งานอิสระเกษตรกรกลุ่มนี้ทำการผลิตเพื่อการบริโภคในครอบครัวเป็นหลักและอาจมีผลผลิตส่วนเกินที่จำหน่ายในตลาดท้องถิ่น

– เกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ในกลุ่มนี้มีการทำการเกษตรที่มีผลผลิตเหลือสำหรับการขาย โดยอาจจำหน่ายผลผลิตทั้งใน ระบบการตลาดทั่วไป และการตลาดทางเลือก เกษตรกรกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะมีแรงจูงใจทางด้าน เศรษฐกิจมาช่วยเสริมกับแนวคิดและเทคนิคการผลิต ประกอบกับ การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตจากเกษตรกรในกลุ่มนี้จึงสามารถจำหน่ายออกไปยังต่างประเทศได้ ผู้ผลิตเกือบทั้งหมดจะเป็นเกษตรกรรายย่อยซึ่งเข้าร่วมในโครงการเกษตร อินทรีย์ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน โดยเกษตรกรจะต้องจัดการการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมีการรับ ประกันการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

พื้นที่เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

 

ข้าว พืชไร่ ผัก ผลไม้ อื่นๆ รวม เปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
2541 6,281.41 6,281.41
2542 5,510.13 5,510.13 -12.3
2543 7,008.26 3,518.75 10,527.01 9.1
2544 9,900.50 3,516.75 13,417.25 27.5
2545 32,841.27 22,382.30 768.75 55,992.32 317.3
2546 46,719.33 22,260.64 768.75 69,748.72 24.6
2547 52,182.75 7,859.79 13,283.60 12,777.00 768.75 86,871.89 24.5
2548 108,302.02 6,731.20 14,844.76 4,995.35 761 135,634.33 56.1
2549 113,213.04 6,546.65 15,121.21 4,981.83 1,077.25 140,939.98 3.9
2550 77,005.03 10,103.64 16,503.19 15,907.20 203.75 119,722.81 -15.1
2551 70,485.67 11,791.13 13,820.39 8,369.92 1,500.00 105,967.11 -11.5

ที่มา : กรีนเนท /มูลนิธิสายใยแผ่นดิน

สำหรับประเทศไทยกรีนเนทและมูลนิธิสายใยแผ่นดินเป็นหน่วยงานที่มีการ สำรวจข้อมูลพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ของไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่มาหดตัวในปี 2550 เนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นพื้นที่เกษตรอินทรีย์กลับมา ขยายตัวอีกครั้ง โดยการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยในปี 2553 มีพื้นที่ประมาณ 300,000 ไร่1 แต่มีฟาร์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเพียง 140,000 ไร่ ทั่วประเทศ (คิดเป็นร้อยละ 46.7 ของพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด) อย่างไรก็ตาม ถ้าแบ่งตามประเภทพืชแล้ว พบว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีการผลิตมากเป็นอันดับหนึ่งคือ ข้าว ร้อยละ 66.5 รองลงมาคือ ผักร้อยละ 13.0 และพืชไร่ร้อยละ 11.1 ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตข้าวอินทรีย์มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2550 เนื่องจากวิกฤตอาหารที่ส่งผลให้ราคาข้าวมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมาก นับเป็นแรงจูงใจสำคัญ ที่ทำให้บรรดาชาวนาหันไปสนใจขยายการปลูกข้าวแบบเดิม ในขณะที่ปริมาณการผลิตผักอินทรีย์และพืชไร่อินทรีย์ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม กระแสความนิยมบริโภคสินค้า เกษตรอินทรีย์และเกษตรธรรมชาติที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก นับว่ายังเป็นแรงผลักดันสำคัญให้บรรดาเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกสินค้าเกษตร อินทรีย์

ประเภทของสินค้าเกษตรอินทรีย์ส่งออก

 ชนิด  ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์
 ข้าว  ข้าวหอมมะลิ ข้าวมะลิแดง ข้าวเหลืองอ่อน ข้าวเหลืองปะทิว ข้าวเหนียว
 ผลิตภัณฑ์อื่นๆจากข้าวได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าวอบกรอบ น้ำนมข้าว
 ถั่วและธัญพืช  ถั่วลิสง ถั่วเหลือง งา
 ผัก  ผักสลัด  ข้าวโพดฝักอ่อนสด กระเจี๊ยบเขียว ผักสลัด มะเขือเทศ ผักกาดจีนชนิดต่างๆ หน่อไม้ฝรั่ง
 พริกเขียว มันสำปะหลัง อ้อย ผักชี คะน้า กะเพรา แครอท ผักแปรรูป โดยเฉพาะหน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน
 ผลไม้  มะม่วง กล้วย มะละกอ ลำไย มะพร้าว สับปะรด
 เครื่องดื่ม  กาแฟ ชาใบหม่อน น้ำผึ้ง
 วัตถุดิบอุตสาหกรรมอาหาร  น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม สารให้ความหวาน
 อาหารแปรรูป  กะทิ น้ำปลา น้ำส้มสายขู เนยจากงา เนยถั่ว
 สัตว์น้ำ  กุ้งกุลาดำ กุ้งขาวแวนาไม และปลาสลิด (จำหน่ายในลักษณะเป็นกุ้งแช่แข็ง กุ้งสด/แช่เย็น และกุ้งพร้อมปรุง)
 อาหารอินทรีย์ที่มีศักยภาพในการส่งออก ได้แก่ ผลไม้แห้ง ผักและผลไม้บรรจุกระป๋อง น้ำผักผลไม้ อาหารธัญพืชแปรรูป สมุนไพรและเครื่องเทศ ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อินทรีย์ โดยเฉพาะไก่ สุกร และไข่ไก่


ที่มา : รวบรวมโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ภาคเกษตรอินทรีย์ของไทยถึงแม้จะยังมีขนาดเล็ก แต่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีการประเมินว่าในปี 2548 การตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศ ไทยมีมูลค่าประมาณ 494.5 ล้านบาท (หรือ 12.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) คาดการณ์ว่าในปี 2553 มูลค่าทางการตลาดสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์สูงขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 3,600 ล้านบาท (หรือ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แยกเป็นตลาดในประเทศประมาณ 2,500-2,600 ล้านบาท และมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ประมาณ 1,000-1,100 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 0.2 ของตลาดโลก โดยสินค้าที่ส่งออกมากที่สุด คือ ข้าวอินทรีย์ประมาณร้อยละ 80 มีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และฮ่องกง รองลงมาคือ พืชผักอินทรีย์ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ส่งออกไปยังญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และผลไม้อินทรีย์ เช่น ลำไย มะม่วง สับปะรด และลองกอง เป็นต้น

ผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยมีศักยภาพในการขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตร อินทรีย์ โดยปัจจัยหนุนสำคัญ คือ ความต้องการทั้งตลาดใน ประเทศและตลาดในต่างประเทศ ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศที่มีการบังคับใช้ระเบียบสินค้าอินทรีย์ รวมทั้งไทยมีศักยภาพในการขยายการผลิตสินค้าเกษตร อินทรีย์ตอบสนองความต้องการของตลาด และยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการขยายพื้นที่การผลิตสินค้าเกษตร อินทรีย์

นโยบายรัฐบาลต่อเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยมีนโยบายชัดเจนในการสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ เพื่อพัฒนามาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ ให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล โดยในปี 2550 รัฐบาลได้บรรจุให้เกษตรอินทรีย์เป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติ จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2551 -2554) โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์รับผิดชอบยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพเกษตร อินทรีย์เชิงพาณิชย์สู่สากล ซึ่งได้มีการดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการสินค้าเกษตร อินทรีย์ การขยายตลาดสินค้าอินทรีย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสร้างมูลค่าสินค้าอินทรีย์และผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า

สำหรับนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน มีนโยบายการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรทางเลือก ภายใต้นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาค เกษตร เป็นการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ซึ่งกำหนดดำเนินการภายในระยะ 4 ปี เพื่อให้มีความต่อเนื่องของนโยบายด้านเกษตรอินทรีย์ โดยกระทรวงพาณิชย์จะ เป็นผู้ดำเนินการตามแผนและส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์ ระยะ 4 ปี ช่วงที่สอง (2554-2558) โดยมีเป้าหมาย คือ การเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคอาเซียน โดยการ ดำเนินการผ่านโครงการที่ประกอบด้วย โครงการสร้างพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศ/โครงการสร้างเครือข่าย (network) สินค้าเกษตรอินทรีย์ในอาเซียน/โครงการความร่วมมือ สินค้าเกษตรอินทรีย์กับอาเซียน/และ โครงการสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรอินทรีย์ เช่น การศึกษา งานแสดงสินค้า วัตถุดิบการผลิตและการตลาด เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็น AEC ในปี 2558 เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน ทั้งด้านการผลิต และการตลาด ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องการเน้น ก็คือ มาตรฐานรับรองเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากเกษตรอินทรีย์ คือ ระบบ จัดการด้านการเกษตรแบบองค์รวมที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศน์ วงจรชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารเคมี โดยมี การกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศ หรือระดับระหว่างประเทศ การทำตลาด ผู้ประกอบการและผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงการได้มาตรฐานรับรอง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายชัดเจนในการสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ ทัดเทียมมาตรฐานสากล และทำการส่งเสริมการขายในภาพรวม โดยการสร้างความตระหนักรู้ โดย เฉพาะสำหรับผู้บริโภคในประเทศ ให้เข้าใจถึงความแตกต่างของคุณลักษณะของสินค้าทั่วไป (Conventional product) สินค้าจากธรรมชาติ (Natural Product) และสินค้าเกษตรอินทรีย์ และจดจำภายใต้ตรา Organic Thai Produce โดยมีกลุ่มเป้าหมายตลาดระดับ Hi-end และ Niche market สำหรับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพเป็นพิเศษด้วย

ในปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์มีเป้าหมายให้ไทยเข้าไปชิงส่วนแบ่งตลาดสินค้า เกษตรอินทรีย์ของโลกที่มีมูลค่าประมาณ 54,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตสูงกว่าร้อยละ 20 ต่อปี คาดการณ์ว่าปี 2554 คาดว่า ไทยจะมีมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ประมาณ 132 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยจะใช้นโยบาย 4 บวก 2 (4+2) ซึ่งนโยบาย 4 แรก เป็นสิ่งที่ได้ดำเนินการอยู่แล้วและจะเพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินการต่อไป คือ การอบรมให้ความรู้และพัฒนาผู้ประกอบการสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้านการตลาด และการทำธุรกิจเกษตรอินทรีย์ การขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์ และการ อำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ ตลอดจนข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดและการค้า ส่วนอีก 2 นโยบายที่จะดำเนินการเพิ่มเติม คือ การส่งเสริมให้มีการบริโภคสินค้าดังกล่าวภายใน ประเทศให้มากขึ้น และผลักดันให้ไทยเป็นผู้เชื่อมโยงการผลิตและการค้าของสินค้าเกษตรอินทรีย์ อาเซียนสู่ตลาดโลก

โอกาสของประเทศ ไทยนอกจากการการเป็นผู้ผลิต และมองความร่วมมือกับประเทศในอาเซียน โดยไม่มองว่าเป็นคู่แข่งจะทำให้ประเทศ ไทยได้ โอกาสจากการที่ให้เพื่อนบ้านเป็นฐานการผลิต การเป็นที่ปรึกษาเพราะมีประสบการณ์มาก่อน และการเป็นผู้ให้การรับรอง (Certified body) หากสามารถทำให้มาตรฐาน ไทยเป็น มาตรฐานอาเซียนจะยิ่งทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเกษตรอินทรีย์

ปัจจุบัน ในแง่การผลิตถือว่าประเทศไทยเป็นผู้นำในอาเซียน แต่ต้องมุ่งการทำตลาดมากขึ้น ซึ่งนอกจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะเป็น “ศูนย์กลางออร์แกนิก” (Organic Hub) โดยพาณิชย์จังหวัดเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกษตรกรเข้าสู่ตลาดสากล ได้มากขึ้น เช่น การเริ่มต้นใน จังหวัดของตนเองก่อนด้วยการจัด ตลาดนัดสีเขียว นอกจากนี้ มีศูนย์ภาคเป็นฝ่ายติดตามผู้ประกอบการและพาไปสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งกิจกรรมทางการตลาดที่จัดขึ้นคือ งาน ORGANIC & NATURAL EXPO 2011 ซึ่งเป็น การแสดงความพร้อมด้านการค้า ด้วยการเป็นงานแสดงสินค้าและบริการอินทรีย์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติครั้งแรกในประเทศไทย การจัดกลุ่มธุรกิจสินค้าอินทรีย์ (Organic Business Community) เพื่อสร้างเครือข่ายอินทรีย์ในประเทศ การจัดทำหนังสือ Organic Mapping ซึ่งได้รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลแหล่งผลิตสินค้าอินทรีย์ทั้งหมดในประเทศ และเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้ จัดงาน Organic Symposium หรือการสัมมนาทางวิชาการเกษตรอินทรีย์ เพื่อแสดงว่าไทยมีความพร้อมด้านวิชาการและความรู้

ในปี 2555 จะมีการจัด “อาเซียนคาราวาน” เพื่อไปจัดแสดงศักยภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยให้ประเทศในอาเซียน หลังจากที่ผ่านมา การเชื่อมโยงสู่ตลาดต่างประเทศ กระทรวงฯ ได้นำคณะผู้ประกอบการเข้าร่วมงาน Biofach ที่ประเทศเยอรมนี งาน Expo West ที่สหรัฐฯ และงาน Natural & Organic Products ที่ประเทศอังกฤษ การจัดกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้า Thailand Pavilion ภายในงานแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์สำคัญของโลก รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เช่น ห้าง Whole Food Markets ประเทศอังกฤษ ห้าง Metro Cash & Carry และ Galeria Kaufhof ประเทศเยอรมนี ตลอดจนขยายเครือข่ายกับ องค์กรเกษตรอินทรีย์นานาชาติและการเข้าร่วมการประชุมสัมมนานานาชาติด้าน เกษตรอินทรีย์

โดยสรุปนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ในการสร้างศักยภาพเกษตรอินทรีย์ไทยเชิง พาณิชย์สู่สากล จะเป็นการส่งเสริมการขยายตลาดสินค้า เกษตรอินทรีย์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลุ่มสินค้าที่กระทรวงพาณิชย์ให้การสนับสนุนทั้งที่เป็นอาหาร ที่ไม่ใช่อาหารและบริการ และเพื่อเป็นการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ในกลุ่ม ประเทศอาเซียน กระทรวงพาณิชย์จะสนับสนุนความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตสินค้า เกษตรอินทรีย์ โดยให้มีการควบคุมคุณภาพเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ระหว่างประเทศอาเซียน การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน การแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และประสบการณ์ด้านการเกษตรอินทรีย์ ให้มีความต่อเนื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตร อินทรีย์สู่ตลาดโลก

———————————————————————————
1 กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ

ธุรกิจเอสเอ็มอี (SMEs) ไทย : เร่งพัฒนาตราสินค้า…สร้างความพร้อมก่อนก้าวสู่ AEC

ในปี 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ซึ่งสมาชิกทั้ง 10 ประเทศจะกลายเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่ที่มีประชากรรวมกันถึงประมาณเกือบ 600 ล้านคน โดยจากรายงานของIMF(เดือนกันยายน 2554) พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชา ชาติหรือ GDP ของประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมกันในปี 2553 มีประมาณ 1,865.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และรายได้เฉลี่ยประมาณ 9,503.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ/คน/ปี คาดว่าในปี 2558 GDP ของประเทศสมาชิกในAEC รวมกันจะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณเกือบ 3,000 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในอาเซียนคาดว่าจะอยู่ ที่ประมาณ 12,452.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ/คน/ปี ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงกำลังซื้อที่สูงของตลาดอาเซียน ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจของไทยจำเป็นต้องให้ความสนใจ เนื่องจาก เป็นโอกาสที่สินค้าไทยจะสามารถขยายมูลค่าการส่งออกได้เพิ่มขึ้น ภายใต้ข้อจำกัดและอุปสรรคที่ลดลง ทั้งในส่วนของข้อจำกัดด้านภาษีและข้อจำกัดที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งจะช่วยสร้าง ความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้กับสินค้าไทยกับสินค้านอกกลุ่มอาเซียน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบการของไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญ ในการส่งสินค้าไปยังตลาดอา เซียนก็คือ การสร้างการรับรู้ในตัวสินค้าของผู้ซื้อ ผ่านการสร้างเครื่องหมายตราสินค้า (Branding) ให้เป็นที่รู้จักและสร้างความโดดเด่น แตกต่างและเป็นที่ต้องการของผู้ซื้อมากขึ้น นอกจากนี้ตราสินค้าที่ได้รับความนิยม จะนำมาซึ่งอำนาจต่อรองด้านราคาให้กับธุรกิจ และจะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าอีกด้วย อาเซียนเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับหนึ่งของไทยแทนที่ประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี 2547 หรือเมื่อประมาณ 8 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2553 ที่ผ่านมา ไทยและอาเซียนมีมูลค่าการค้า ระหว่างกันประมาณ 74,661.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 19.8 ของมูลค่าการค้าไทย ในขณะที่มูลค่าการค้ากับญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 58,267.3 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯสัดส่วนร้อยละ 15.3 สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกปี 2554 ไทยกับอาเซียนมีมูลค่าการค้าระหว่างกันประมาณ 62,637.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3)คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 20.1 ของมูลค่าการค้าไทย โดยไทยส่งออกไปยังอาเซียนคิดเป็นมูลค่า 36,560.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 26,076.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับอาเซียน 10,483.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการส่งออกของสินค้าไทยไปยังตลาดอาเซียน ทั้งนี้ หากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC เกิดขึ้น คาดว่าสินค้าไทยจะมีโอกาสเพิ่มมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนได้อีกมาก เนื่องจากที่ผ่านมา สินค้าไทยมีการพัฒนา คุณภาพและมาตรฐานมาอย่างต่อเนื่อง จนมีชื่อเสียงเป็นที่เชื่อถือของผู้ซื้อในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ซื้อในประเทศเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็นพม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม ซึ่งต่างให้ความนิยมในสินค้าอุปโภค บริโภคที่ผลิตจากไทย จนสินค้าบางตัวสามารถสร้างความภักดีต่อตราสินค้าในกลุ่มผู้ซื้อในอาเซียน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่ผ่านมา สินค้าไทยจะได้รับความนิยมและยอมรับทางด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าจากผู้ซื้อในอาเซียน แต่ยังคงมี ผู้ประกอบการของไทยอีกเป็นจำนวนมาก ที่ละเลยหรือไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเครื่องหมายตราสินค้าเท่าที่ควร ซึ่งมีเป็นจำนวนมากที่นิยมทำธุรกิจในลักษณะการเป็นผู้ รับจ้างผลิตสินค้า ตามรูปแบบและเครื่องหมายการค้าที่ลูกค้ากำหนด(OEM : Original Equipment Manufacturer) โดยครอบคลุมสินค้าที่หลากหลาย อาทิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และสินค้าอุปโภค บริโภค เป็นต้น ทั้งที่เป็นการรับจ้างผลิตให้กับผู้ว่าจ้างในประเทศ และผู้ว่าจ้างที่เป็นเจ้าของยี่ห้อหรือตราสินค้าอันเป็นที่ยอมรับกัน ในต่างประเทศ ทั้งๆที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ตราสินค้านั้นถือว่ามีประโยชน์ต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก ทั้งการสร้างความแตกต่างให้กับตัวสินค้าของธุรกิจกับสินค้าของคู่แข่ง การสร้าง ภาพลักษณ์ภายนอกให้รู้ว่า ผู้ที่ใช้สินค้าหรือเครื่องหมายตราสินค้านี้มีรสนิยมและฐานะอย่างไร การสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ซื้อว่าได้สินค้าตรงกับบริษัทผู้ผลิตที่ต้องการ นอกจากนี้ ผู้ผลิตที่มีเครื่องหมายตราสินค้าที่แข็งแกร่ง และมีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จะมีความสามารถหรืออำนาจต่อรองทางด้านราคาได้สูงกว่าสินค้าที่ไม่มีตราสินค้า ของตนเอง ประการสำคัญ ยังช่วยให้สินค้านั้นมีความสามารถการแข่งขันที่สูงขึ้นด้วย

ทั้งนี้จากสถิติของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) พบว่า จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทยปี 2553 มี ประมาณ 2.92 ล้านราย เป็นผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลาง 2.91 ล้านราย(สัดส่วนร้อยละ 99.6 ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด) และเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ประมาณ 9 พันราย ในขณะที่เมื่อพิจารณาสถิติของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พบว่า จำนวนเครื่องหมายการค้าที่ผู้ประกอบการธุรกิจของไทยได้จดทะเบียนไว้ ตั้งแต่ปี 2542-2553 มีจำนวนรวม153,692 เครื่องหมายการค้า ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ประกอบการที่มีอยู่ ในขณะที่ผู้ประกอบการต่างประเทศที่เข้ามา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในไทยตั้งแต่ปี 2542-2553 มีจำนวนรวม 103,288 เครื่องหมายการค้า ซึ่งจำนวนมีความแตกต่างจากผู้ประกอบการไทยไม่มาก แสดงให้เห็นถึง ความตื่นตัวทางด้านการปกป้องตราสินค้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

จำนวนเครื่องหมายการค้าจำแนกไทย-ต่างประเทศ

 

หน่วย : เครื่องหมายการค้า
ปี จำนวนการจดทะเบียน
ไทย ต่างประเทศ รวม
2553 13,268 8,562 21,830
2552 11,981 10,502 22,483
2551 12,574 9,367 21,941
2550 14,769 9,871 24,640
2549 15,595 8,520 24,115
2548 18,497 8,948 27,445
2547 15,918 7,614 23,532
2546 11,440 6,543 17,983
2545 13,281 9,865 23,146
2544 11,453 8,484 19,937
2543 7,686 6,531 14,217
2542 7,230 8,481 15,711
รวม 153,692 103,288 256,980

ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัญหาของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ในการพัฒนาเครื่องหมายตราสินค้า เพื่อขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศที่สำคัญจะ มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเด็น ซึ่งมีรายละเอียดของปัญหาและแนวทางแก้ไข ดังนี้

ประเด็นแรก การไม่มีตราสินค้าของตนเอง การพัฒนาตราสินค้าของตนเองนั้น จำเป็นต้องมีภาระค่าใช้จ่ายหลายประการ ทั้งค่าใช้จ่ายทาง ด้านการพัฒนาวิจัย รูปแบบและตราสินค้า ในขณะเดียวกันก็ต้องมีแผนการตลาดและงบประมาณที่สูง ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เพื่อให้ผู้ซื้อนิยมต่อรูปแบบ คุณภาพ สินค้า รวมทั้งความพึงพอใจในตราสินค้าหรือชื่อเสียงของบริษัท ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจแบบนี้ได้จะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ส่วนผู้ประกอบการราย ย่อยจะมีอุปสรรคทางด้านเงินทุนค่อนข้างมาก บางส่วนจึงขาดความสนใจในการพัฒนาตราสินค้าของตนเอง

แนวทางแก้ไข

ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่มักวิตกเกี่ยวกับงบประมาณที่ต้องใช้ในการพัฒนาเครื่องหมายตราสินค้าของตนเอง รวมทั้งกังวลว่าตราสินค้า ของตนเองจะไม่สามารถแข่งขันได้กับคู่แข่งซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว การสร้างตราสินค้าในช่วงเริ่มต้น อาจไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณที่สูงโดยผู้ ประกอบการอาจจะเริ่มต้นสร้างการรับรู้ตราสินค้าผ่านสื่อ Social Media ที่สามารถทำให้ตราสินค้าเป็นที่รู้จักได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน ตราสินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อาจมีประสิทธิภาพในการสร้างการรับรู้ต่อผู้ซื้อได้ไม่แพ้ตราสินค้าของผู้ประกอบการรายใหญ่ หากผู้ประกอบการสามารถกำหนดตลาดได้ว่า ลูกค้าเป็นกลุ่มใด มีความต้องการสินค้าลักษณะใด รวมทั้งมีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเป็นที่เชื่อถือของผู้ซื้ออย่างสม่ำเสมอ ก็จะเกิดการสื่อสารแบบปากต่อปาก ทำให้เกิดการเชื่อถือตราสินค้าแพร่หลายออกไป

ประเด็นที่สอง ตราสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จัก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี เนื่องจากปัจจัยหลายประการ อาทิ การมีงบประมาณด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถทำตลาดได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยอดจำหน่ายของบริษัทที่ยังไม่ใหญ่มากนัก ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอี ยังไม่กล้าที่จะทุ่มเม็ดเงินโฆษณาตราสินค้าเพื่อทำตลาด ซึ่งต่างจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ซึ่งมีงบประมาณด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับและมีความภักดีต่อตราสินค้าได้ระดับหนึ่ง ซึ่งบางตราสินค้า นอกจากจะเป็นที่รู้จักและยอมรับของตลาดในประเทศแล้ว ยังเป็นที่ยอมรับในระดับ ภูมิภาคหรือระดับโลกอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่ม อาหาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

แนวทางแก้ไข

การทำให้ผู้ซื้อในตลาดอาเซียนรู้จักสินค้าและเครื่องหมายตราสินค้าของบริษัท ผู้ประกอบธุรกิจของไทย จำเป็นต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นสื่อท้องถิ่น และสื่อออนไลน์ รวมทั้งการเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ในกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศแล้วมีการถ่ายทอดไปในประเทศอาเซียน อาทิ การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ หรือกิจกรรมที่จัดขึ้นในประเทศนั้นๆ เช่น การแข่งขันกีฬา หรือกิจกรรมที่เป็นวัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่น รวมถึงการจัดงานคอนเสิร์ตของศิลปินส์ที่รู้จัก เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้อยู่ในความสนใจของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ดังนั้น การเป็นส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้ จะทำให้ผู้บริโภครู้จักตรายี่ห้อของสินค้าได้เร็วขึ้น

ประเด็นที่สาม การรักษาตราสินค้าให้อยู่ในตลาดอย่างมั่นคงในระยะยาว การทำให้สินค้าเป็นที่รับรู้และต้องการของตลาด เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่สิ่งที่ยากยิ่งกว่าก็คือ การทำให้สินค้าสามารถอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืนและยาวนาน บางตราสินค้าอยู่ในตลาดไม่นาน ก็ถูกคู่แข่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดไป ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากหลากหลายปัจจัย ได้แก่ ขาดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับพฤติกรรมการซื้อที่หลากหลาย ขาดการรักษาคุณภาพมาตรฐานของสินค้าอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อตอกย้ำหรือสร้างการรับรู้ในตัวสินค้าอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งคู่แข่งสามารถพัฒนาสินค้าให้มีความโดดเด่น เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่า

แนวทางแก้ไข 

ตราสินค้า ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยทางด้านการรับรู้ในตัวสินค้า และช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อครั้งแรกและซื้อซ้ำในครั้งต่อไป ดังนั้น การที่จะทำให้ตราสินค้าเป็นที่รู้จักเชื่อถือจากผู้ซื้อในตลาดได้ระยะยาว สิ่งสำคัญจะอยู่ที่การรักษาคุณภาพ มาตรฐานสินค้าอย่างสม่ำเสมอ การศึกษาถึงความต้องการของผู้ซื้อใน แต่ละกลุ่มที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาปรับปรุงการผลิตสินค้า ทั้งตัวสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการ ซึ่งวิธีดังกล่าวจะช่วยสร้างภาพลักษณ์สินค้าให้ เป็นที่เชื่อถือของผู้ซื้อ จนเกิดความภักดีและมีความทรงจำที่ดีต่อตัวสินค้าในระยะยาว

ประเด็นที่สี่ การถูกละเมิดเครื่องหมายหรือตราสินค้า ที่ผ่านมามีสินค้าไทยเป็นจำนวนมาก ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ตราหรือเครื่องหมายการค้า ในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งสินค้าไทยถือว่ามีชื่อเสียงทางด้านคุณภาพมาตรฐาน ทั้งทางด้านความสวยงาม ความคงทน ความปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาการละเมิดตราสินค้าของไทย ในหลายๆกลุ่มสินค้า อาทิ กลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องสำอาง รองเท้า สินค้า อุปโภค-บริโภค เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ การละเมิดเครื่องหมายตราสินค้าของไทยในต่างประเทศ จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ กรณีที่เจ้าของสินค้า และบริการของไทย ได้เข้าไปจดทะเบียนเพื่อรับการคุ้มครองแล้ว แต่สินค้าก็ยังถูกละเมิด ซึ่งอาจละเมิดโดยใช้ตราสินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงเพื่อให้ผู้ซื้อหลงผิด หรือการที่มีเจตนาลอกเลียนแบบให้เหมือนกับสินค้าไทยทั้งรูปลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ และตราสินค้า ส่วนอีกประเภทก็คือ เจ้าของสินค้าและบริการในไทยไม่ได้ใช้สิทธิ์เข้าไปจดทะเบียนคุ้มครอง ตราหรือเครื่องหมายการค้า ซึ่งอาจเกิดจากการจดทะเบียนเครื่องหมายหรือตราสินค้าในแต่ละประเทศมีภาระต้นทุน หรือไม่ก็มูลค่าตลาดในแต่ละประเทศยังไม่สูงมากนัก จึงไม่จูงใจให้มีการเข้าไปจดทะเบียนเครื่องหมายตราสินค้า จนทำให้บุคคลหรือธุรกิจในประเทศคู่ค้าเหล่านั้น นำเครื่องหมายตราสินค้าของไทยไปจดทะเบียนก่อน ซึ่งเมื่อสินค้าไทยถูกส่งออกไป ธุรกิจไทยก็จะถูกฟ้องร้องว่าละเมิดเครื่องหมายการค้าที่มีการจดไว้ก่อน ทำให้ต้องเกิดคดีความ รวมทั้งต้องเสียเวลาในการยื่นเรื่องเพื่อทวงสิทธิ์เครื่องหมายการค้าคืน นอกจากนี้ ยังทำให้สินค้าไทยต้องสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก จากการที่ไม่สามารถส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศที่มีการละเมิด

แนวทางแก้ไข

1.การเร่งจดทะเบียนเครื่องหมายตราสินค้าในตลาดต่างประเทศ หากผู้ประกอบธุรกิจของไทย มีความต้องการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยัง ต่างประเทศ เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นๆ จำเป็นต้องเร่งเข้าไปจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิในประเทศต่าง ๆ ก่อนส่งสินค้าไปจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหา การละเมิดเครื่องหมายตราสินค้า และมิให้ต่างประเทศนำเครื่องหมายการค้าของธุรกิจไปจดทะเบียนในต่างประเทศโดยมิได้เป็นเจ้าของ ซึ่งอาจนำมาซึ่งความเสียหายทางด้านภาพลักษณ์หรือชื่อเสียงของธุรกิจหรือตราสินค้า หากผู้ละเมิดผลิตสินค้าหรือบริการไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน

2.ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อรักษาสิทธิ์ทางด้านตราสินค้า ในกรณีที่รับรู้ถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ประกอบการธุรกิจต้องร่วมมือกับภาค รัฐของไทย เพื่อเร่งแจ้งไปยังหน่วยงานของประเทศต่างๆที่ถูกละเมิดสิทธิ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นมีการแก้ไขและพิสูจน์ความเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายตราสินค้าที่ถูกต้อง

3.รณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจ ผ่านสื่อของประเทศต่างๆ เพื่อให้ผู้ซื้อในประเทศอาเซียน ได้เข้าใจถึงความแตกต่างทางด้านคุณภาพ มาตรฐาน ระหว่างสินค้าที่ผลิตจากประเทศไทย ที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายตราสินค้าที่ถูกต้อง เปรียบเทียบกับสินค้าแบบเดียวกันที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งผลิตจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ อาทิ ความแตกต่างทางด้านความคงทนแข็งแรง ความปลอดภัยทางด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการลอกเลียนแบบตราสินค้าได้ระดับหนึ่ง

4.สนับสนุนให้ประเทศในกลุ่มอาเซียน มีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หากมีการจดทะเบียนในประเทศใด จะ ได้รับความคุ้มครองเครื่องหมายตราสินค้าจากประเทศสมาชิกที่เหลือ โดยอาจพิจารณาจากช่วงเวลาที่จดทะเบียนว่าใครจดก่อนจดหลัง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งทางด้านการละเมิดสิทธิ์ระหว่างประเทศสมาชิกให้ลดลงได้

กล่าวโดยสรุปแล้ว จะเห็นได้ว่าการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 ได้นำมาซึ่ง โอกาสของธุรกิจไทย ในการขยายตลาดที่มีรายได้ประชาชาติหรือ GDP ของประเทศสมาชิกในAEC รวมกันถึงประมาณเกือบ 3,000 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และรายได้เฉลี่ยต่อ หัวของประชากรอาเซียนอยู่ที่ประมาณ 12,452.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ/คน/ปี อย่างไรก็ตาม ในโลกของการค้านั้น มีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก ที่ผลิตสินค้าออกมาในรูปแบบและ ลักษณะที่ใกล้เคียงกัน หรือมีประโยชน์ใช้สอยไม่แตกต่างกัน ทำให้ยากต่อการที่ผู้ซื้อจะจดจำหรือภักดีต่อสินค้าของธุรกิจแต่ละรายได้ ดังนั้น การสรรค์สร้างตราสินค้าของตนเองขึ้นมา เพื่อให้สินค้ามีความโดดเด่นแตกต่าง เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถจดจำ ไว้วางใจ และรู้สึกภักดีต่อตราสินค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องทราบก่อนออก ไปขยายตลาดสู่ต่างประเทศก็คือ การเร่งจดทะเบียนเครื่องหมายตราสินค้าป้องกันเพื่อรักษาสิทธิ์ของตนเอง ไม่ให้ถูกละเมิดจากคู่แข่ง ซึ่งคาดว่าภายหลังจากการเกิดขึ้นของAEC ปัญหานี้จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ประการสำคัญก็คือ การวิจัยและพัฒนารูปแบบสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อ รวมถึงการรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อรักษาชื่อเสียงตราสินค้าของธุรกิจให้สามารถอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืน

AEC : อนาคตธุรกิจขนส่ง… เพื่อเปิดรับ AEC

อนาคตธุรกิจขนส่ง…เพื่อเปิดรับ AEC

อีกเพียง 3 ปีกว่า (ปี 2558) ก็จะถึงกำหนดการที่อาเซียนจะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) เพื่อให้อาเซียนเกิดการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจที่มีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base) มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ทั้งนี้ เพื่อก้าวสู่การเป็น AEC นั้น ในช่วงที่ผ่านมาอาเซียนได้ดำเนินการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนระหว่างกันตามกรอบความร่วมมือต่างๆ ที่มีอยู่เดิม เช่น การลดภาษีการนำเข้าสินค้าระหว่าง กันให้เหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกเดิม (6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) และภายในปี 2558 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ ( CLMV: กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) การยกเลิกข้อจำกัดการประกอบการด้านการค้าบริการในอาเซียน ภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าบริการอาเซียน (AFAS: ASEAN Framework Agreement on Services) การเปิดให้มีการลงทุนเสรีในอาเซียนและการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติต่อนัก ลงทุนอาเซียน ภายใต้กรอบความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน (Agreement on the ASEAN Investment Area: AIA) ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานก็มีการพัฒนาให้เกิดการเชื่อมโยงกันมากขึ้น ทั้งระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง และประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน รวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบภายในของแต่ละประเทศที่เริ่มดำเนินการเพื่อการผ่อน คลายเพิ่มขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็น ก้าวสำคัญของประเทศไทย ซึ่งย่อมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในหลายๆ มิติ

สำหรับธุรกิจขนส่ง ประเด็นที่น่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคือ การเปิดเสรีการค้าบริการในสาขาโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นสาขาบริการหนึ่งที่มีแผนจะเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบความ ตกลงอาเซียน (AFAS) ซึ่งมีเป้าหมายในการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบในปี 2556 โดยจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 49 ในปี 2551 เพิ่มเป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในปี 2553 และร้อยละ 70 ในปี 2556 ทั้งนี้ เป้าหมายในการเปิดเสรีดังกล่าวข้างต้นได้มีการยืดหยุ่น (Flexibility) ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับการข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิก อาเซียน

ปัจจุบันระดับการเปิดตลาดการค้าบริการของไทยยังมีระดับการเปิดตลาดไม่สูงมากนัก โดยจำกัดให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้ ไม่เกินร้อยละ 49 ใน ทุกสาขาที่ไทยผูกพันไว้ตามตารางข้อผูกผันการเปิดเสรีการค้าบริการชุดที่ 7 ซึ่งยังไม่เกินกว่าที่กฎหมายภายในประเทศของไทยกำหนดไว้

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อาเซียนอยู่ระหว่างการจัดทำตารางข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการชุด ที่ 8 ซึ่งในข้อผูกพันชุดนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงระดับการเปิดตลาดบริการครั้งสำคัญ ของอาเซียน ซึ่งสมาชิกอาเซียนจะต้องอนุญาตให้นักลงทุนหรือนิติบุคคลสัญชาติอาเซียนเข้า มาลงทุนได้มากกว่ากฎหมายภายในของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งคงต้องติดตามรายละเอียดของข้อผูกพัน ที่ไทยจะทำความตกลงไว้ รวมทั้งติดตามความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น

เป้าหมายการเปิดเสรีการค้าบริการเพื่อมุ่งสู่การเป็น AEC

ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

  AEC หนุนความต้องการใช้บริการขนส่งในประเทศ…และเปิดโอกาสสู่ตลาดบริการโลจิสติกส์ที่ใหญ่ขึ้น

AEC จะเป็นปัจจัยหนุนที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรในอาเซียนมากขึ้น และเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจในอาเซียน ทำให้ความต้องการใช้บริการด้านโลจิสติกส์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย AEC มีเป้าหมายที่จะทำให้อาเซียนกลายเป็นตลาดเดียวกันและฐานการผลิตร่วมกัน ทำให้มีการเปิดเสรีเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงาน รวมทั้งเงินทุนมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภายในอาเซียนด้วยกันเองมากขึ้น เช่น การนำเข้าวัตถุดิบต้นทุนต่ำกว่าจากสมาชิกอาเซียนมาใช้ในการผลิตภายในประเทศ รวมทั้งขยายตลาดสินค้าและ บริการในอาเซียนเองก็น่าจะสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะหนุนความต้องการใช้บริการในธุรกิจมากขึ้น

นอกจากนี้ ในส่วนของการเปิดเสรีโลจิสติกส์ก็ยังจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการขนส่งในการ เข้าถึงตลาดการให้บริการที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งในอาเซียน และประเทศเพื่อนบ้านของอาเซียน ที่มีพรมแดนติดกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน โดยอาศัยความได้เปรียบในด้านภูมิศาสตร์ และการใช้ประโยชน์จากการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น ตลอดจนความร่วมมือเพื่อการขนส่งระหว่างกันในภูมิภาค ซึ่งจากการคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า เศรษฐกิจอาเซียนมีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากประมาณ 1.85 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2553 เป็นประมาณ 3.11 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2559 และในช่วงปี 2554-2559 เศรษฐกิจของกลุ่ม ประเทศอาเซียนน่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4.5-7.0 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกที่คาดว่าจะอยู่ที่ ระดับร้อยละ 4.4-4.7 ต่อปี โดยลาวและ เวียดนามเป็นประเทศที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงสุดในกลุ่มอาเซียนในระดับ ร้อยละ 7.6 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ ทั้งนี้ แนวโน้มดังกล่าวน่าจะส่งผลให้ตลาดโลจิสติกส์ในอาเซียนมี โอกาสขยายตัวได้อีกมาก

ประกอบกับประเทศเพื่อนบ้านของไทยบางประเทศยังเป็นตลาดที่ยังไม่เน้นการ บริการที่มีคุณภาพสูงมาก และยังมีผู้ประกอบการเข้าไปลงทุนไม่มาก จึงน่าจะเป็นอีกตลาดที่ผู้ประกอบการ SMEs ไทยมีโอกาสเข้าไปให้บริการ หรือเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานนั้น เช่น รับจ้างช่วงแก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ ทั้งในส่วนของการผลิต และการให้บริการโลจิสติกส์ สำหรับตลาดความต้องการบริการโลจิสติกส์ในประเทศไทยยังอาจเติบโตตามเศรษฐกิจ ของอาเซียน ซึ่งจะมีมากขึ้น โดยการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกอาเซียนจะสร้างความน่าสนใจใน การเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในอาเซียน รวมทั้งไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่จะเป็นฐานการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมหลายอย่าง เนื่องจากมีความพร้อมด้านโครงการสร้างพื้น ฐาน แรงงานฝีมือ และการพัฒนาในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้มีความต้องการใช้บริการในธุรกิจโลจิสติกส์ มากขึ้นตามมา โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีผู้ประกอบการชาวต่างชาติเริ่มให้ความสนใจเข้ามา ลงทุนในไทย เพื่อเตรียมรองรับการเติบโตในอาเซียนแล้ว

AEC เป็นอีกโอกาสในการเป็นพันธมิตรหรือส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานกับผู้ประกอบการต่างชาติรายใหญ่ AEC จะทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสในการหาพันธมิตร หรือรวมกิจการ หรือเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน เช่น รับจ้างช่วง กับผู้ประกอบการต่างชาติที่ให้บริการด้านโลจิสติกส์ หรือผู้ผลิตรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งเข้ามาขยายการลงทุนในประเทศไทยและอาเซียน จึงอาจเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพจะสามารถเติบโตไปพร้อมกับ ผู้ประกอบการรายใหญ่ นอกจากนี้ การได้ร่วมงานกับผู้ประกอบการรายใหญ่ยังเป็นโอกาสในการเรียนรู้ และศึกษาการดำเนินกิจการในต่างประเทศที่มีมาตรฐาน เป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ อีกด้วย

กลุ่มขนส่งยังได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายในประเทศ…แต่ยากจะหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

สภาพการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในตลาดการให้บริการโลจิสติ กส์อาจหลีกเลี่ยงได้ยาก แม้ว่าในระยะสั้นการแข่งขันอาจไม่เปลี่ยนแปลงมากหลังจากเริ่มต้นเปิดเสรีโล จิสติกส์ และเมื่อก้าวสู่การเป็น AEC ทั้งนี้ ในส่วนของการเปิดเสรีการค้าบริการโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่การเป็น AEC น่าจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในไทย ซึ่งการแข่งขัน โดยรวมหลังจากเปิดเสรีโลจิสติกส์แล้วไม่น่าแตกต่างจากช่วงก่อนการเปิดเสรี โดยทันที เนื่องจากปัจจุบันได้มีชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศเพื่อดำเนินธุรกิจโล จิสติกส์ในรูปแบบของ Nominee เช่น การขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นต้น ขณะที่สภาพการแข่งขันในตลาดปัจจุบันก็สูงอยู่แล้ว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการขนาดใหญ่มีแนวโน้มจะปรับเปลี่ยนและดำเนินธุรกิจในเชิงรุกมาก ขึ้น เพื่อเตรียมขยายตลาดการให้บริการในภูมิภาคที่จะมีการแข่งขันและขยายตัวเพิ่ม ขึ้น โดยมีการนำเสนอบริการที่มีความหลากหลาย และครบวงจร อีกทั้งตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น เช่น การบริการแบบ Door to Door รวมทั้งขยายพื้นที่การให้บริการที่มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทุนมากขึ้น รวมทั้งการแข่งขันด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้น ก็อาจเป็นภาระทางการเงินแก่ธุรกิจตามมา เช่น การให้ credit term แก่ลูกค้าที่มีระยะเวลานานขึ้น เป็นต้น โดยการแข่งขันในลักษณะดังอาจสร้างข้อจำกัดมากขึ้นแก่ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งด้านเงินทุน เทคโนโลยี และการบริหารจัดการ

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการ ขนส่งสินค้าของคนไทยยังได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายเฉพาะในประเทศ ทำให้คาดว่าจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยแม้จะมีการเปิด เสรีการค้าบริการ แต่การเปิดเสรีต้องไม่ขัดกับกฎหมายเฉพาะภายในประเทศของแต่ละธุรกิจโลจิสติ กส์ ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายที่จำกัดหรือกำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบ ธุรกิจโลจิสติกส์ของชาวต่างชาติในเฉพาะบางสาขา เช่น การขนส่งภายในประเทศทั้งการขนส่งทางบก ทางน้ำ และอากาศ ที่จำกัดการถือหุ้นและมีหลักเกณฑ์สำหรับการประกอบกิจการ ของชาวต่างชาติภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายที่มีข้อจำกัดการประกอบธุรกิจขนส่งเฉพาะสาขา เช่น การขนส่งทางบก ซึ่งมี พ.ร.บ.ขน ส่งทางบก พ.ศ.2522 รวมทั้ง กฎหมายที่กำหนดอาชีพสงวนสำหรับคนไทย 39 อาชีพ ซึ่งได้รวมอาชีพคนขับรถอยู่ด้วย (งานขับขี่ยานยนต์ ยกเว้น เครื่องบิน) ส่วนการขนส่งทางน้ำในประเทศมี พ.ร.บ. เรือไทย พ.ศ.2540 เป็นต้น

สำหรับกลุ่มบริการโลจิสติกส์ที่ไม่ใช่ขนส่งมีโอกาสได้ รับผลกระทบจากการเปิดเสรีโลจิสติกส์ เนื่องจากไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ระบุเงื่อนไขที่จำกัดการถือหุ้นของชาวต่างชาติ หรือการดำเนินธุรกิจของต่างชาติในประเทศ ซึ่งบริการในกลุ่มนี้ ได้แก่

บริการขนถ่ายสินค้าทางทะเล โดยในส่วนที่อยู่ในพื้นที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ จะไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากเป็นกิจการที่ต้องได้รับสัมปทาน จากภาครัฐ ซึ่งไม่เข้าข่ายการเปิดเสรี ส่วนกิจการที่อยู่ในท่าเรือของเอกชนอาจได้รับผลกระทบจากการเข้ามาแข่งขัน อย่างไรก็ตาม กิจการนี้เป็นเป็นกิจการที่สำนักงานคณะกรรมการส่ง เสริมการลงทุน (BOI) ส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนอยู่แล้ว สภาพการแข่งขันจึงอาจเปลี่ยนไปไม่มาก

บริการเก็บรักษาและคลังสินค้า เป็นกิจการที่ BOI ส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ซึ่งอาจส่งผลให้สภาพการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไม่มาก อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการรายเล็กที่มีทุนไม่มาก และเป็นคลังสินค้าแบบดั่งเดิม ที่ยังไม่ได้มาตรฐานก็อาจได้รับผลกระทบจากการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติ ที่มีการให้บริการที่ได้มาตรฐานกว่า ซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการ ของสายการผลิตที่ซับซ้อนได้

บริการตัวแทนขนส่งสินค้าและตัวแทนออกของรับอนุญาต ได้แก่ ธุรกิจตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้า (Freight Forwarder) ธุรกิจตัวแทนเรือ นายหน้าซื้อขายเรือ ธุรกิจตัวแทนออกของรับอนุญาต (Customs Broker) และชิปปิ้ง เป็นต้น พบว่า ธุรกิจตัวแทนขนส่งสินค้าอาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีโลจิสติกส์ เนื่องจากผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เป็น SMEs มีเงินทุนน้อย และมีผู้ประกอบการในตลาดจำนวนมาก อีกทั้งยังดำเนินธุรกิจเพียงไม่กี่ประเภท ซึ่งอาจไม่ตอบสนองกับความต้องการบริการที่เป็น One-Stop Service

บริการตรวจสอบสินค้า ได้แก่ ธุรกิจเซอร์เวย์เยอร์ (Surveyor) ธุรกิจตรวจสอบสินค้าก่อนบรรทุกขึ้นเรือ และธุรกิจตรวจสอบรับรองสินค้าก่อนทำการส่งออก เป็นต้น พบว่า ธุรกิจบริการตรวจ สอบสินค้าในไทยส่วนใหญ่จะเป็นเครือข่ายของธุรกิจข้ามชาติอยู่แล้ว เนื่องจากต้องอาศัยความน่าเชื่อถือระดับสากล และมีความเป็นมืออาชีพ และมีห้องปฏิบัติการในการตรวจสอบและ วิเคราะห์สินค้าแบบครบวงจร ซึ่งการเปิดตลาดไม่น่าจะส่งผลกระทบมากนัก

บริการบรรจุหีบห่อ ได้แก่ บริการรับทำหีบห่อ ลังโปร่ง ลังทึบ แผ่นรองไม้ การทำป้ายหรือฉลากที่จำเป็นในการขนส่ง การทำสายรัด และการห่อหุ้มสินค้าด้วยพลาสติก เป็นต้น ซึ่งพบว่าธุรกิจ นี้อาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี เนื่องจากผู้ประกอบการในประเทศส่วนใหญ่เป็น SMEs มีเงินทุน และเทคโนโลยีไม่มาก นอกจากนี้ บริการบรรจุหีบห่อมักจะเป็นบริการที่กลุ่มธุรกิจตัว แทนขนส่ง เช่น ตัวแทนรับจัดการขนส่ง (Freight Forwarder) และคลังสินค้าจัดหาให้ลูกค้าอยู่แล้ว ซึ่งอาจส่งผลให้การเปิดตลาดในส่วนนี้กระทบต่อเนื่องไปยังธุรกิจตัวแทนขนส่ง และคลัง สินค้าด้วย

อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวหลังจากการเปิดเสรีภาคโลจิสติกส์ การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นคงยากที่จะหลีกเลี่ยง โดยผู้ให้บริการต่างชาติและผู้ให้บริการขนาดใหญ่อาจมีการขยายขอบเขตบริการ ให้ครอบคลุมเครือข่ายและพื้นที่การให้บริการที่มากขึ้น รวมทั้งขยายรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบมาถึงผู้ประกอบการ SMEs ในลักษณะคล้ายกับธุรกิจค้าปลีก ในปัจจุบัน โดยผู้ประกอบการไทยอาจต้องแข่งขันกับการเข้ามาของผู้ประกอบการต่างชาติซึ่ง อาจเข้ามาในหลายรูปแบบ โดยไม่ใช่เพียงผู้ประกอบการในอาเซียนเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ประกอบการนอกอาเซียนที่อาจเข้ามาให้บริการในอาเซียนในรูปของ บริษัทจดทะเบียนนิติบุคคลสัญชาติอาเซียนในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่เปิดให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ค่อนข้างเสรี ทั้งนี้ บริษัทขนาดใหญ่ก็อาจทำให้ผู้ประกอบการไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็น SMEs และมีศักยภาพในการแข่งขันน้อยกว่าได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ยังอาจนำไปสู่ปัญหาการเคลื่อนย้ายของแรง งานที่มีทักษะไปสู่บริษัทชาวต่างชาติที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยได้ อีกด้วย

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ SMEs อาจเผชิญแรงกดดันที่หลากหลาย โดยผู้ประกอบการ SMEs ที่รับงานจากผู้ประกอบการขนาดใหญ่จะมีอำนาจในการต่อรองต่ำ อีกทั้งต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่อยู่ในตลาดอีกจำนวนมาก ทำให้การขึ้นราคาค่าบริการไม่สามารถทำ ได้โดยง่าย ขณะที่ความต้องการบริการขนส่งในอนาคตยังมีแนวโน้มจะมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคสำหรับ SMEs .ในการปรับตัว อีกทั้ง ปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศ และต่างประเทศยังมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน ค่าแรง ความต้องการในประเทศ รวมทั้งความต้องการที่เกี่ยวเนื่องกับประเทศเศรษฐกิจหลักที่ยังมีความเปราะ บาง ก็ส่งผลต่อเนื่องมายังผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศที่เกี่ยวข้องเป็นทอดๆ โดยจะทำให้การบริหารจัดการด้านต้นทุน และรายได้มีซับซ้อนมากขึ้น

การปรับตัวของผู้ประกอบการ  SMEs รับ AEC

การปรับเปลี่ยนทัศนคติ…ก้าวแรกสู่การเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ: การปรับเปลี่ยนทัศนคติเพื่อเปิดรับสิ่งใหม่ๆ จะเป็นก้าวแรกสู่การปรับตัวเพื่อรับ AEC เช่น การเปิดรับเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีมากขึ้น โดยติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของสถานการณ์รอบตัวมากขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ภัยทางธรรมชาติ ของทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่ความรู้ และความเข้าใจที่จะช่วยเชื่อมโยงกับธุรกิจของตน อีกทั้งยังจะทำให้มองเห็นโอกาส และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับตัวได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม การเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ อาจต้องอาศัยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่การช่วงชิงโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจ อาจต้องปรับทัศนคติเดิมที่มีอยู่ เช่น การกล้ารุกออกไปสู่ตลาดใหม่ๆ มากกว่าการเน้นการตั้งรับในตลาดของตนเอง หรือการทำธุรกิจด้วยการมีพันธมิตรมากขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการ เป็นต้น

การปรับปรุงศักยภาพของธุรกิจเตรียมรับความต้องการและการแข่งขัน: โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจธุรกิจของตนเอง แล้วจึงวางแผนและหามาตรการเพื่อปรับปรุงธุรกิจหรือ ใช้จุดแข็งให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรนำเทคโนโลยี และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น ซึ่งอาจเป็นแบบง่ายๆ เช่น การจัดเก็บข้อมูล การทำงานเอกสารที่มีการจัดเก็บ ด้วยโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น และสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ธุรกิจของตนได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรเร่งสร้างนวัตกรรม และความเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้กับองค์กร เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การขนส่งวัตถุดิบอันตราย ความชำนาญในพื้นที่ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในพื้นที่ ซึ่งจะ ช่วยให้ตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs อาจเร่งยกระดับมาตรฐานการให้บริการให้เป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะกลุ่มตลาดที่มีความเฉพาะตัว และควรให้ความสำคัญต่อการสร้างความน่าเชื่อถือในการให้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการให้บริการในธุรกิจโลจิสติกส์

    ผู้ประกอบการอาจพิจารณาถงปัจจัยดังต่อไปนี้ เพื่อพัฒนาการขนส่งให้มีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพสูง

      – ชนิดหรือประเภทสินค้าที่ขนส่ง โดยต้องทราบถึงลักษณะทางกายภาพและข้อพึงปฏิบัติสำหรับสินค้าชนิดนั้น รวมถึงข้อห้ามต่างๆ โดยอาจจะต้องคำนึงเป็นพิเศษสำหรับสินค้า วัตถุอันตรายและวัตถุไวไฟ ซึ่งต้องระลึกว่าต้องส่งมอบสินค้าในสภาพที่คงเดิม

      – พิจารณารูปแบบขนส่งที่เหมาะสมที่สุด เช่น ทางถนน ทางน้ำ ทางอากาศ เป็นต้น หรือในบางกรณีอาจต้องใช้รูปแบบผสมผสาน ซึ่งอาจต้องคำนึงถึงต้นทุนจากการเปลี่ยนรูป แบบการขนส่งด้วย (Double Handling) ขณะที่การขนส่งบางประเภทอย่างทางน้ำแม้จะมีต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยต่ำสุด ก็อาจเหมาะสำหรับการขนส่งในปริมาณมากและระยะทางไกล

      – พิจารณาเส้นทางการขนส่งที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาเส้นทางในการขนส่งอย่างรอบคอบ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องพิจารณาถึงเวลาในการขนส่ง และความปลอดภัย โดย บางเส้นทางอาจมีระยะทางใกล้กว่า แต่อาจต้องเผชิญปัญหาจราจร หรือเป็นเส้นทางที่มักเกิดอุบัติแหตุได้ง่ายด้วย

      – นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารการขนส่ง เช่น ระบบติดตามยานพาหนะ (GPS) โปรแกรมการบริหารงานขนส่ง (Transportation Management System: TMS) เป็นต้น

      – การปรับระบบบริหารจัดการในขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ โดยเฉพาะการลดข้อผิดพลาดและความสูญเสีย ทั้งในด้านทรัพยากร เวลาและบุคลากร เช่น การรับข้อมูลงาน ขนส่งและบันทึกข้อมูลต้องสมบูรณ์ จำนวนสินค้า การบรรจุหีบห่อ สภาพสินค้า ต้องสมบูรณ์ รวมทั้งสถานที่รับ-ส่งสินค้าถูกต้อง การวางบิล และเอกสารการขนส่งครบถ้วนสมบูรณ์ และส่ง มอบสินค้าตรงตามเวลาที่ได้ตกลงไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ขยายการให้บริการที่ครบวงจร และหาพันธมิตรทางธุรกิจ: การให้บริการโลจิสติกส์จะมีแนวโน้มเป็นการให้บริการที่ครบวงจรมากขึ้น เป็น One-stop Service และเป็นแบบ Door to Door ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต้องปรับขนาดธุรกิจให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และให้บริการที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ต้องลงทุนในสินทรัพย์ทุนมากขึ้น เช่น รถบรรทุก โกดังสินค้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากการให้บริการที่ยังไม่มีความชำนาญ ผู้ประกอบการ SMEs จึงอาจใช้วิธีการรวมตัวกันเพื่อให้บริการใน ลักษณะเป็นพันธมิตร เพื่อให้บริการได้ครบวงจรขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่ำกว่าการดำเนินการเองทั้งหมด และการรวมตัวกันจะทำให้มีอำนาจต่อรองกับผู้ให้บริการขนาดใหญ่ด้วย นอกจากนี้ อาจหาพันธมิตรทางธุรกิจโดยเฉพาะคนในท้องถิ่นและชาวต่างชาติที่มีประสบการณ์ การให้บริการในประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อสร้างเครือข่ายการขนส่งสินค้าและ บริการ และลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดใหม่ รวมถึงการเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ในประเทศที่จะออกไป ลงทุนยังต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสในการออกไปรับงานในตลาดต่างประเทศพร้อมกับพันธมิตรทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จอาจต้องอาศัยความเชื่อใจ ระหว่างกัน รวมทั้งความชัดเจนในข้อตกลง เพื่อลดปัญหาที่จะตามมา เช่น การร่วมเป็นพันธมิตรขนส่งในหลายจังหวัดหรือภูมิภาคของประเทศ โดยมีข้อตกลงกันว่าหากได้รับจ้างให้มีการบรรทุกสินค้าไปยังจังหวัดของ พันธมิตรหรือจังหวัด ใกล้เคียงก็จะให้พันธมิตรเป็นผู้รับผิดชอบในการขนส่ง โดยมีการกำหนดราคากลางไว้ เพื่อป้องกันการตัดราคา เป็นต้น

พัฒนาทรัพยากรบุคคล: การพัฒนาด้านทรัพยากร บุคคลเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการให้บริการของ ธุรกิจโลจิสติกส์ เนื่องจากจะส่งผลต่อ คุณภาพการให้บริการ โดยเฉพาะที่ต้องให้บริการกับผู้บริโภคโดยตรง นอกจากนี้ ทรัพยากรบุคคลยังจะส่งผลต่อต้นทุนในหลายด้านอีกด้วย เช่น ส่วนรั่วไหล ต้นทุนจากอุบัติเหตุ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยอาจต้องเร่งสร้างบุคลากรภายในองค์กรให้ตรงตามความต้องการของ ตน ด้วยการให้การอบรมให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่จะรองรับความต้องการในอนาคต ทั้งความรู้ ด้านภาษา โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการปลูกฝัง หรือปรับทัศนคติในการทำงานของแรงงานให้มีความรักและภาคภูมิใจในอาชีพและ องค์กร เพื่อรักษาบุคลากรที่สร้างขึ้นให้อยู่กับธุรกิจของตนควบคู่ไปด้วย

การวางแผนความพร้อมทางการเงิน: ด้วยการมองหาแหล่งเงินทุนและการสนับสนุนทางการเงิน เพื่อรองรับการให้บริการที่มีแนวโน้มมากขึ้น พร้อมๆกับการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อจะได้สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยน ไป นอกจากนี้ ยังเพื่อรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่อาจกระทบต่อสถานะทางการเงิน โดยเฉพาะด้านสภาพคล่อง

ติดตามข่าวสาร และมาตรการของรัฐ: เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กโดยทั่วไป หรือเป็นมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในสาขาโลจิสติกส์โดยตรง แต่ผู้ประกอบการขนาดเล็กบางกลุ่มยังเข้าถึงความช่วยเหลือได้ไม่เต็มที่ ทั้งนี้ อาจเนื่องจากปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ และความตระหนักของผู้ประกอบการเอง ผู้ประกอบการจึงควรติดตามข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ มาตรการความช่วยเหลือ เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งติดตามมาตรการอื่นๆ ของภาครัฐที่อาจมีประโยชน์ต่อการ ดำเนินธุรกิจ เช่น กฎหมาย และกฎระเบียบของภาครัฐ เป็นต้น

การก้าวเข้าสู่การเป็น AEC ของอาเซียนจะเป็นก้าวสำคัญที่เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่งอาจนำมาสู่ทั้งโอกาสและผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ซึ่งสิ่งแรกที่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs จะต้องมี คือการปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกมีอยู่ตลอดเวลา และสามารถกระทบต่อภาคธุรกิจได้มากขึ้น ซึ่งทัศนคติดังกล่าวจะนำมาสู่การตระหนักถึงผล กระทบของภาคธุรกิจต่อการก้าวสู่ AEC และจะนำมาซึ่งการแสวงหาความรู้เพื่อปรับเปลี่ยน และพัฒนาตัวเองตามมา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการรองรับสถานการณ์ที่ผันผวน การแข่ง ขันที่เพิ่มมากขึ้น และช่วงชิงโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น

 

AEC : การเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบ AEC ในปี 2558 : โอกาสสำหรับเอสเอ็มอีชิ้นส่วนรถยนต์ไทย…

หลังจากที่ได้มีการเปิดเสรีทางการค้าในขั้นแรก โดยที่ประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ (ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซียฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ บรูไน)ได้ทำการลดภาษีการค้าระหว่างกันเหลือร้อยละ 0 ไปแล้วตั้งแต่ต้นปี 2553 นั้น จะเห็นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยได้รับประโยชน์ค่อนข้างมากจากการเปิดเสรี ดังกล่าว โดยจะเห็นได้ทั้งจากการส่งออกและการลงทุนในประเทศที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก และในอีกช่วง 3 ปีกว่าที่จะถึงนี้ หรือในปี 2558 การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้การรวมกลุ่ม เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (Asean Economic Community) ที่จะมีผลบังคับใช้กับอีก 4 ประเทศอาเซียนที่เหลือ หรือกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) นั้น ย่อมจะส่งผลทำให้ทิศทางการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น จากการที่ปัจจุบันค่ายรถต่างมองไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์เพื่อ กระจายออกไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค ดังนั้นหลังจากที่การเปิดเสรีภายใต้กรอบ AEC บรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์แล้ว จึงมีความเป็นไปได้ว่าผู้ประกอบการไทยน่าจะได้ประโยชน์ อย่างมากจากโอกาสดังกล่าว

แม้ว่าโดยรวมแล้วจะคาดว่า ผลของการเปิดเสรีดังกล่าวจะเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย แต่จากสถานการณ์แรงงานและค่าจ้างแรงงาน ในปัจจุบันของไทย ทำให้ไทยมีโอกาสจะสูญเสียความน่าลงทุนให้กับประเทศที่เป็นคู่แข่งของไทยในการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ เช่น อินโดนีเซีย ได้ โดยเฉพาะเมื่อค่าจ้างแรงงานของอินโดนีเซียอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าไทยค่อนข้างมาก ซึ่งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ควรที่จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมทั้งเพื่อให้สามารถได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรี รวมถึงพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

สถานการณ์ปัจจุบันของการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบ AEC สำหรับกลุ่มรถยนต์ 

กรอบเวลาการบังคับใช้อัตราภาษี (%) ภายใต้กรอบ AEC สำหรับสินค้าส่งออกของไทยหมวดรถยนต์ (HS:87)

2011 2012 2013 2015 2018 2020
ASEAN-5* 0 ทุกรายการ 0 ทุกรายการ 0 ทุกรายการ 0 ทุกรายการ 0 ทุกรายการ 0 ทุกรายการ
CLMV Cambodia 0-5 0-5 0-5 0 ทุกรายการ 0 ทุกรายการ 0 ทุกรายการ
Laos 0-30 0-20 0-10 0 ทุกรายการ 0 ทุกรายการ 0 ทุกรายการ
Myanmar 0-5 0-5 0-5 0 ทุกรายการ 0 ทุกรายการ 0 ทุกรายการ
Vietnam 0,5 และ 70 (ส่วนใหญ่ของHS:8703) 0,5 และ 70 (ส่วนใหญ่ของHS:8703) 0,5 และ 60 (ส่วนใหญ่ของHS:8703) 0 และ 60 (ส่วนใหญ่ของHS:8703) 0 ทุกรายการ n.a.* (ส่วนใหญ่ของHS:8703) 0 ทุกรายการ n.a.* (ส่วนใหญ่ของHS:8703)

* ASEAN-5 ประกอบไปด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน
*n.a. คือ ยังอยู่ระหว่างการเจรจา
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, ASEAN Secretariat, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

จากตารางสรุปการลดอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าของประเทศคู่เจรจา จะเห็นได้ว่าประเทศคู่เจรจา โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ซึ่ง ปัจจุบันได้มีการลดภาษีของสินค้าในหมวดยานยนต์ลงเหลือร้อยละ 0 แล้ว ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2554 ที่ผ่านมาการส่งออกสินค้ารถยนต์และชิ้นส่วนของไทยไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนเดิม 5 ประเทศได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16 ส่วนกลุ่ม CLMV ซึ่งก็เริ่มมีการทยอยลดภาษีลงตั้งแต่ปี 2553 ทำให้การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์โดยรวมไปยังกลุ่ม CLMV ตั้งแต่ต้นปี ก็มีทิศทางขยายตัวดีขึ้นกว่าช่วงเดียวกันในปีก่อนมากเช่นเดียวกัน โดยขยายตัวถึงร้อยละ 22.7 โดยเฉพาะในเวียดนาม ซึ่งไทยมีการส่งออกไปเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 58 ของการส่งออกไปกลุ่ม CLMV ทั้งหมด

มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยไปยังประเทศในอาเซียนช่วง 7 เดือนแรกของปี 2554 

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

โอกาสของชิ้นส่วนรถยนต์ไทยหลังการเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศกลุ่ม CLMV ในปี 2558 

จากที่ได้กล่าวถึงในเบื้องต้น แม้ปัจจุบันประเทศกลุ่ม CLMV จะยังมีกำแพงภาษีอยู่บ้าง แต่ภายหลังจากที่แต่ละประเทศต้องลดภาษีลงเหลือ ร้อยละ 0 ในปี 2558 ภายใต้กรอบความตกลง AEC คาดว่าจะส่งผลดีต่อไทยเพิ่มขึ้นอีกมาก โดยเฉพาะจะส่งผลดีต่อภาพรวมการส่งออกของประเทศไทยในอนาคต เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้เป็นประเทศเกิดใหม่ที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูง ความพร้อมและคุณภาพชิ้นส่วนในประเทศยังไม่มากนัก ทำให้มีอุปสงค์ที่ยังมีโอกาสในการขยายตัวอีกมาก โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งเป็นอีกประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในประเทศ แต่ความพร้อมด้านอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยังห่างจากไทยอยู่มาก

โดยปัจจุบัน ในเวียดนามมีผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ประมาณมากกว่า 100 ราย และมีอัตราการใช้ชิ้นส่วน ส่วนประกอบและเครื่องยนต์ใน ประเทศ โดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 10 ถึง 20 โดยส่วนประกอบที่ผลิตในประเทศส่วนใหญ่เป็นแบบง่าย ๆ รวมถึงมีต้นทุนที่สูงกว่าในการผลิต เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียน เนื่องจากการขาดแคลนอุตสาหกรรมหล่อโลหะและเครื่องจักรที่ทันสมัย ทำให้เวียดนามต้องมีการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ชนิด OEM จากไทยค่อนข้างมาก นอกจากนี้การที่เวียดนามไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศและต้องนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ เช่น ไทย ทำให้ชิ้นส่วน REM ของไทยน่าจะได้รับประโยชน์ดังกล่าวด้วย

อนึ่ง กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (Ministry of Industry and Trade : MoIT) ได้มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ของ เวียดนามจะเติบโตอย่างมากในทศวรรษหน้า ทั้งนี้เนื่องจากเวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีโอกาสขยายตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน ส่งผลให้รายได้ประชากรมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ประกอบกับภายในปี 2558 เวียดนามจำเป็นต้องลดภาษีสินค้าเกือบทั้งหมดในหมวดยานยนต์ที่นำเข้าจากประเทศในอาเซียนลงเหลือร้อยละ 0 ตามข้อผูกพันจากการเปิดเสรีอาเซียน ทำให้ชิ้นส่วนนำเข้า โดยเฉพาะจากไทย มีโอกาสจะเข้ามาในตลาดเวียดนามได้มากขึ้น

ส่วนประเทศอื่นๆในกลุ่ม CLMV น่าจะเป็นในลักษณะของการนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่จากไทย ซึ่งทิศทางในอนาคตคาดว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยจะ ได้ประโยชน์จากการส่งออกไปยังกลุ่ม CLMV พอสมควร หลังจากที่ภาษีจะลดลงเหลือร้อยละ 0 ทั้งหมดในปี 2558 ทั้งในส่วนชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และอะไหล่ อย่างไรก็ตามความ ท้าทายของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนไทยอยู่ที่ตลาดอะไหล่รถยนต์ที่อาจจะต้องเผชิญกับการแข่งขันจากอะไหล่ราคาถูกจากจีน ซึ่งผู้บริโภคในกลุ่มประเทศเหล่านี้ยังมีรายได้ต่ำทำให้อะไหล่ ราคาถูกจากจีนอาจได้รับความนิยมมากกว่า ส่วนตลาดชิ้นส่วนประกอบรถยนต์คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าอะไหล่ เนื่องจากชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบรถยนต์จำเป็นที่จะต้องรักษา ระดับคุณภาพที่ระดับหนึ่ง ทำให้ชิ้นส่วนไทยที่ได้รับการยอมรับมากกว่าในเรื่องคุณภาพยังมีโอกาสในตลาด ประกอบกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นบริษัทจากญี่ปุ่น ที่มีวัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อชิ้นส่วนจากไทย โดยการซื้อชิ้นส่วนจากบริษัทญี่ปุ่นด้วยกัน ซึ่งในไทยมีบริษัทผลิตชิ้นส่วนที่ถือหุ้นร่วมกันกับชาวญี่ปุ่นอยู่มาก

การลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากผลของการเปิดเสรีทางการค้า AEC

นอกจากการส่งออกสินค้าชิ้นส่วนรถยนต์ที่มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ในเชิงรูปธรรมเป็นอันดับแรกๆแล้ว การเปิดเสรี ยังส่งผลให้ค่ายรถยนต์จากต่างประเทศเริ่มย้ายฐานการลงทุนผลิตรถยนต์มายังไทยมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านภาษีภายใต้เงื่อนไขหลักเกณฑ์ว่าด้วยถิ่นกำเนิด (Rule of Origins: RoOs) ซึ่งจะมีการกำหนดว่า สินค้าที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีนั้นต้องผลิตในประเทศคู่เจรจาอย่างน้อยคิดเป็นมูลค่าเท่ากับร้อยละ 40 ของมูลค่าสินค้า ทั้งนี้เพื่อให้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์ในภูมิภาคอาเซียน และออสเตรเลีย ทำให้อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ได้รับประโยชน์ไปด้วย โดยเฉพาะ ชิ้นส่วน OEM

หลักเกณฑ์ว่าด้วยถิ่นกำเนิด (RoOs)

ซึ่งแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตของค่ายรถยนต์มายังประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย้ายฐานการผลิตออก จากประเทศญี่ปุ่นเพื่อการกระจายความเสี่ยงที่สูงขึ้น หลังจากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหวและสึนามิ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยจากผลการสำรวจของ JBIC ประเทศไทย เป็นฐานการผลิตที่มีความน่าสนใจในการลงทุนเป็นอันดับ 3 รองจากจีนและอินเดีย ทำให้แนวโน้มการลงทุนจากญี่ปุ่นที่จะเข้ามายังไทยมีโอกาสเพิ่มขึ้นมากในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อใช้ ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกโดยเฉพาะไปยังประเทศอื่นๆในอาเซียน โดยอาศัยประโยชน์ทางด้านภาษีจากความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้กรอบ AEC ซึ่งทิศทาง ดังกล่าวย่อมทำให้แนวโน้มการผลิตรถยนต์ในไทยเพิ่มสูงขึ้นได้อีกมาก

โครงการผลิตรถยนต์ในไทยช่วงปี 2553 ถึง 2555

ค่ายรถ โครงการ ความคืบหน้า / สถานะล่าสุด
โตโยต้า – ฟริอุส
– วีโก้ ฟอร์จูนเนอร์
– อีโคคาร์
– เปิดตัวในปลายปี 2553
– ขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 40% ภายในปี 2554
– มีแผนเปิดตัวปี 2555
ฮอนด้า อีโคคาร์ บริโอ เปิดตัวแล้วในปี 2554
นิสสัน – อีโคคาร์ มาร์ช
– รถรุ่นใหม่อื่นๆ
เปิดตัวรุ่นแรกในปี 2553 และเตรียมเปิดตัวรุ่นซีดานในปลายปี 2554 รวมทั้งมีแผนลงทุนเพิ่ม รองรับการเปิดตัวรถรุ่นใหม่กว่า 10 รุ่น ภายในปี 2559
มิตซูบิชิ อีโคคาร์ มีแผนเปิดตัวในปี 2555 และจะมีการทดสอบการใช้งานรถไฟฟ้าในประเทศไทย
มาสด้า – มาสด้า 2
– มาสด้า 3
– เปิดตัวแล้วในปี 2553
– เปิดตัวปี 2554
ฟอร์ด – ฟอร์ดเฟียสต้า
– ฟอร์ดโฟกัส
– เปิดตัวแล้วในปี 2553
– มีแผนเปิดตัวในปี 2555 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการผลิตรถ 8 รุ่น 1.5 แสนคันใน 5 ปีข้างหน้า
จีเอ็ม – ปิ๊กอัพ และ SUV
– เชฟโรเลตครูซ
– มีแผนผลิตในปี 2554 – 2555
– เปิดตัวในปลายปี 2553
ซูซูกิ – อีโคคาร์
– K – Car
– มีแผนเปิดตัวในปี 2555
– มีกระแสข่าวถึงแผนการผลิตรถเล็กในไทย

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อย่างไรก็ตาม การที่ค่ายรถต่างย้ายฐานการผลิตเข้ามายังไทยก็หมายถึงว่า เทคโนโลยีการผลิตที่สูงขึ้นก็ย่อมมีความจำเป็นมากขึ้นในการผลิต ซึ่งปัจจุบัน การผลิตรถยนต์แห่งอนาคต เช่น รถยนต์ไฟฟ้า เริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้นในตลาด โดยล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรมของไทยเองก็ได้มีการเสนอให้ “รถยนต์ไฟฟ้า” เป็นโปรดักท์ แชมเปี้ยนตัวที่ 3 ของไทย หลังจากสามารถผลักดันโครงการรถยนต์อีโคคาร์จนประสบความสำเร็จ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีการลงทุนในอีก 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ นอกจากเพื่อการพัฒนา อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยในอนาคต ให้สอดคล้องไปกับความต้องการของผู้บริโภคในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเพื่อเตรียมรับมือกับการเปิดเสรีทางการ ค้าภายใต้กรอบ AEC ปี 2558 ที่จะถึงนี้ ให้ไทยมีสินค้ารถยนต์รูปแบบใหม่ๆที่แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ออกมาสู่ตลาดอีกด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควร ที่จะต้องเตรียมรับมือกับเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะการเตรียมการด้านเครื่องจักรและความรู้ความสามารถของบุคลากรให้พร้อมไว้ล่วงหน้า

โอกาสของผู้ประกอบการในการขยายลงทุนไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียน

นอกจากนักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นมากจากการเปิดเสรีทางการค้าแล้ว ในทางตรงกันข้าม การออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียนก็อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่ควรพิจารณา หากผู้ประกอบการไทยมีทุนมากพอ และพร้อมจะรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งการขยายการลงทุนไปยังประเทศที่ค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า จะเป็นการช่วยลดต้นทุนรวมถึงเป็นการเพิ่มผลกำไร รวมทั้งบางตลาดมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อีกมากในอนาคต ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งในด้านภาษีในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศอื่นๆในกลุ่ม รวมถึงสิทธิประโยชน์ในด้านอื่นๆในอนาคตด้วย เช่น การเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นต้น

ที่มา: ASEAN AUTOMOTIVE FEDERATION

จากกราฟจะเห็นว่าไทยเป็นประเทศเดียวที่มีการผลิตรถยนต์มากกว่าความต้องการในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากไทยเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเป็น หลักด้วยอีกทาง ขณะที่ประเทศอื่นๆยังต้องอาศัยการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ เช่น ไทย เพื่อให้สามารถตอบรับกับอุปสงค์ในตลาดได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบการที่มองหาลู่ทางในการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศแล้ว หากดูจากโอกาสในการเติบโตของตลาดในอนาคต อินโดนีเซียและเวียดนามนับว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากไทย นอกจากนี้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในประเทศของอินโดนีเซียที่มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและจำนวนการถือครองรถยนต์ต่อประชากรที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้การผลิตรถยนต์ในอินโดนีเซียมีโอกาสขยายตัวได้อีกมากในอนาคต

ที่มา : GAIKINDO (ข้อมูลปี 2553)

สำหรับส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ในประเทศของอินโดนีเซียนั้น รถอเนกประสงค์ MPV ถือครองส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดถึงร้อยละ 64 ของตลาดรวม ซึ่งรถยนต์ประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมเป็นหลัก คือ รถรุ่น Toyota Avanza และ Toyota Innova ของค่ายโตโยต้า ส่งผลให้โตโยต้าเป็นแบรนด์รถที่ถือครองส่วนแบ่งการผลิตรถยนต์สูงที่สุดในอินโดนีเซียถึงประมาณเกือบร้อยละ 40 และก็คล้ายๆกับประเทศไทยที่ค่ายรถญี่ปุ่นถือครองส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 95 ทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนสำหรับค่ายรถญี่ปุ่นอยู่แล้ว อาจมีโอกาสในการขยายการลงทุนเข้าไปในอินโดนีเซียได้ง่ายขึ้นอาศัยความสัมพันธ์กับค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นในไทย

ที่มา : CEIC, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อย่างไรก็ตาม การเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียยังมีความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการอาจจะต้องพบเจอ เช่น ความแตกต่างทางด้านภาษา ศาสนา และ วัฒนธรรม รวมถึงการประท้วงหยุดงานของแรงงานในอินโดนีเซียที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยกว่าไทย ขณะที่ผลผลิตต่อแรงงานก็ต่ำกว่าไทย และระบบสาธารณูปโภคที่ยังต้องมีการพัฒนาอีกมากเมื่อเทียบกับไทย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติในประเทศที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งอีกด้วย

โดยสรุป แม้การเปิดเสรีทางการค้าโดยรวมแล้วจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการโดยตรงในแง่ของการลดภาษีนำเข้าระหว่างกันของประเทศคู่ค้า และทิศทางการเคลื่อนย้ายการลงทุนไปยังประเทศที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าขณะที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ซึ่งปัจจุบันไทยอาจจะยังได้เปรียบในข้อนี้ แต่เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ฝีมือในประเทศปัจจุบัน รวมถึงการที่ค่าจ้างแรงงานมีแนวดน้มจะเพิ่มสูงขึ้นนี้ อาจทำให้ไทยสูญเสียความน่าสนใจในการลงทุนแก่ประเทศที่เป็นคู่แข่งของไทยในการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าไทยพอสมควรได้ ดังนั้นเพื่อที่จะคงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจ ผู้ประกอบการควรต้องพยายามเพิ่ม Productivity ในการผลิตให้ได้มากที่สุด เช่น การนำเครื่องจักรการผลิตที่มีเทคโนโลยีระดับสูงเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น โดยอาจใช้ช่องทางการขอ รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เพื่อลดต้นทุนภาษีการนำเข้าเครื่องจักร โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์อีโคคาร์นั้น จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรสำหรับทุกเขต นอกจากนี้ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาฝีมือแรงงานให้เป็นกลุ่มที่มีทักษะที่หลากหลายและสูงขึ้น แต่ถ้าหากความต้องการใช้แรงงานไร้ฝีมือในการผลิตอยู่ในสัดส่วนที่สูง ผู้ประกอบการอาจจะใช้วิธีการโยกการผลิตในส่วนที่ต้องใช้แรงงานเหล่านี้มากไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า แต่ก็ต้องยอมรับกับความเสี่ยงจากปัจจัยลบต่างๆนอกประเทศ ที่อาจเกิดขึ้นด้วย

และในโอกาสที่นักลงทุนจากต่างประเทศหลายรายกำลังมีแผนที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยอยู่นี้ ผู้ประกอบการผลิต ชิ้นส่วนรถยนต์เอสเอ็มอีไทย จึงควรอาศัยโอกาสนี้ในการหาลู่ทางเข้าร่วมทุนกับนักลงทุนจากต่างประเทศเหล่านี้ ซึ่งการร่วมทุนกับต่างชาตินอกจากจะทำให้ผลกระทบจากการเข้ามาแข่งขันในตลาดลดลง ยังช่วยให้การขยายตลาดสามารถทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนจากต่างชาติ โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น ที่เข้ามาลงทุนมักจะมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจและได้รับการยอมรับจากค่ายรถที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่แล้ว จึงเป็นการง่ายที่จะสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องในไทย นอกจากนี้การร่วมทุนจะทำให้เงินทุนที่จะพัฒนาธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น และช่วยให้เกิด การถ่ายทอดลักษณะการทำงานที่เป็นระบบของญี่ปุ่น และอาจรวมไปถึงเทคโนโลยีบางส่วนด้วย

นอกจากแนวทางการปรับตัวต่างๆเพื่อรับมือกับผลกระทบทางตรงจากการเปิดเสรีดังกล่าวแล้ว ผู้ประกอบการควรที่จะต้องระมัดระวังและให้ ความสำคัญกับการติดตามผลกระทบทางอ้อมจากการเปิดเสรีในระยะต่อไป คือ ทิศทางการเพิ่มมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTMs : Non Tariff Measures) ของประเทศคู่เจรจาด้วย ซึ่งมี โอกาสที่จะเพิ่มมากขึ้น เพื่อออกมาปกป้องตลาดภายในประเทศของตนในรูปแบบต่างๆ เช่น การดำเนินนโยบายจำกัดการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปจากต่างประเทศ โดยใช้กลไกการออกใบอนุญาตการนำเข้า หรือ Approved Permit (AP) เพื่อใช้ในการจำกัดบุคคลหรือนิติบุคคล ที่มีสิทธิขอนำรถยนต์เข้าประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้การให้เงินทุนสนับสนุนผ่านทาง Industrial Adjustment Fund แก่บริษัทรถยนต์แห่งชาติของมาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการลดทอนโอกาสในการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนของไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่ได้รับ ประโยชน์การเปิดเสรีทางการค้าอย่างเต็มที่