สวทน. จับมือ GIZ จัดสัมมนา “Sinnovation” มุ่งพัฒนาระบบนวัตกรรมอาเซียน พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่

สวทน. เดินหน้าขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่ พร้อมร่วมมือกับหน่วยงาน GIZ จากประเทศเยอรมนี จัดสัมมนาภายใต้หัวข้อ “SInnovation ASEAN-Germany 1st International Conference: Increase Innovativeness / More Value Innovations – From Policy to Practical Implementation / Pursuing the Krabi Initiative” ระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2555 โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป และอาเซียนร่วมอภิปรายในประเด็นความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบนวัตกรรมระหว่างภูมิภาค เสริมความพร้อมประเทศอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ. 2558

กรุงเทพ 13 กรกฎาคม 2555—สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยการสนับสนุนของกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “SInnovation ASEAN-Germany 1st International Conference: Increase Innovativeness / More Value Innovations – From Policy to Practical Implementation / Pursuing the Krabi Initiative” โดยการประชุมนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศเยอรมนี ของคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology – ASEAN COST) และเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามเพื่อดำเนินงานผลักดันสาขาความร่วมมือตามข้อริเริ่มกระบี่ (Krabi Initiative) 8 ด้าน (thematic track) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวอาเซียนด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่ 1) นวัตกรรมอาเซียนสู่ตลาดโลก (ASEAN Innovation for Global Market) 2) สังคมดิจิทัล สื่อใหม่และเครือข่ายสังคม (Digital Economy, New Media and Social Networking) 3) เทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) 4) ความมั่นคงทางอาหาร ( Food Security) 5) ความมั่นคงทางพลังงาน (Energy Security) 6) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (Water Management) 7) ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ (Biodiversity for Health and Wealth) 8) วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Science and Innovation for Life)

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการ สวทน. เปิดเผยว่า “การก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 นอกจากจะเปิดโอกาสด้านการค้าและการลงทุนสู่ตลาดอาเซียนซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคนแล้ว ยังเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานฝีมือและผู้เชี่ยวชาญของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน”

ข้อริเริ่มกระบี่ (Krabi Initiative) ริเริ่มและจัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อ

รองรับการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ในปี 2558 และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 เป็นแนวทางการสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา

“ขณะนี้ สวทน.กำลังดำเนินการขับเคลื่อนข้อริเริ่มกระบี่ ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาด้าน วทน.ของภูมิภาคอาเซียนคือการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสู่สังคมดีมีคุณภาพ และต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสมดุล ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามขณะนี้ประเทศอาเซียนยังมีข้อจำกัดในการพัฒนาศักยภาพด้าน วทน.ดังกล่าว ดังนั้นความร่วมมือกับประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้าน วทน.ระดับโลก จะเป็นโอกาสให้ประเทศอาเซียนได้เรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ดี (best practices) เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับประเทศของตนต่อไป” เลขาธิการ สวทน. กล่าว

ดร. โยอาคิม ลังบายน์ ผู้จัดการโครงการอาวุโส แผนกพัฒนาศักยภาพมนุษย์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำกรุงบอนน์ กล่าวว่า “การจัดการสัมมนาในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศเยอรมนีและประชาคมอาเซียนเพื่อสร้างความร่วมมือและการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ตลอดจนกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรด้าน วทน. โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักเลขาธิการอาเซียน”

การสัมมนาในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 100 ท่าน จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน จากประเทศเยอรมนีและประเทศประชาคมอาเซียน กว่า 10 ประเทศ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งสองภูมิภาคได้มีโอกาสสร้างเครือข่าย และร่วมอภิปรายถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ตลอดจนกลไกและเครื่องมือที่เหมาะสมในการเสริมความเข้มแข็งให้ระบบนวัตกรรม

“การออกแบบและจัดทำระบบนวัตกรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นจะต้องจัดทำทั้งระบบ โดยเริ่มผลักดันตั้งแต่ระดับนโยบายลงมา และจำเป็นที่นักจัดทำนโยบายต้องเรียนรู้จากรูปแบบระบบนวัตกรรมที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบในโลกนี้ ดังนั้นการประชุมในครั้งนี้จึงเป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานนวัตกรรมในประเทศนั้น ๆ ได้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม นักวิจัยนโยบายได้มีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์จากมุมมองของตนได้อย่างเต็มที่” ดร. โยอาคิม กล่าวเสริม

———————————————–

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

สลิลทิพย์ ทิพยางค์ นักวิจัยนโยบาย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) โทรศัพท์ 02 160 5432 ต่อ 904 หรือ 085 364 8840 อีเมล์ salinthip@sti.or.th

ศิริพร ภาวิขัมภ์ ผู้จัดการประสานงานโครงการ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โทรศัพท์ 02 661 9273 ต่อ 13 อีเมล์ siriporn.parvikam@giz.de

แลงเซส เติบโตอย่างต่อเนื่อง : LANXESS continues on growth path

กำไรเบื้องต้น ของไตรมาส 1 อยู่ที่ 369 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด
ยอดขายของไตรมาส 1 อยู่ที่ 2.4 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 15
กําไรสุทธิของไตรมาส 1 อยู่ที่ 193 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 16
คาดการณ์สำหรับปี 2012: คาด กำไรเบื้องต้นทั้งปีการเงิน เติบโตร้อยละ 5-10 เมื่อเทียบกับปี 2011

แลงเซส (LANXESS) เริ่มต้นธุรกิจในปี พ.ศ. 2555 อย่างสดใส โดยบริษัทชั้นนำด้านเคมีภัณฑ์เฉพาะทางแห่งนี้มีกำไรเบื้องต้น ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ซึ่งขยับไปอยู่ที่ 369 ล้านยูโรในไตรมาสแรก

ยอดขายเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีล่าสุดไปอยู่ที่ 2.4 พันล้านยูโร ทั้งนี้ เป็นผลจากการขึ้นราคาสินค้าร้อยละ 9 ซึ่งชดเชยต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นได้ทั้งหมด ส่วนที่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 7 ส่วนใหญ่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการยางสังเคราะห์ เอธีลีน โพรพิลีน ไดอีน โมโนเมอร์ (Ethylene Propylene Diene Monomer: EPDM) ยี่ห้อ เคลตัน (Keltan) จาก บริษัท ดีเอสเอ็ม จำกัด (DSM N.V.) ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้สถานการณ์ที่เป็นบวกนั้นส่งผลที่ดีต่อยอดขาย ขณะที่ปริมาณการขายลดลงร้อยละ 3 จากไตรมาสแรกที่แข็งแกร่งมากในปีที่ผ่านมา

อัตราส่วนต่างรายได้ของกำไรเบื้องต้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ร้อยละ 15.5 และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 193 ล้านยูโร

“ในแง่ของการเริ่มต้นที่ดีมากในปีนี้ แลงเซสคาดว่ากำไรเบื้องต้น จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 ปีพ.ศ. 2555 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด” มร. เอ็กเซิล เซ ไฮท์มันน์ ประธานกรรมการบริหารของแลงเซส (LANXESS)  กล่าว “ความเชื่อมั่นของเราเกิดจากการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ในผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยมและเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม ซึ่งตอบสนองแนวโน้มธุรกิจของโลกและตลาดเกิดใหม่”

กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (operating cash flow) เพิ่มขึ้นเป็น 129 ล้านยูโรจาก 36 ล้านยูโรในปีที่ผ่านมา อัตราส่วนหนี้สินสุทธิ ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีพ.ศ. 2555 อยู่ที่ประมาณ 1.5 พันล้านยูโร” ในทางปฏิบัติ ผลประกอบการดังกล่าวไม่เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงสุดท้ายของปี พ.ศ. 2554 แม้ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (net working capital) จะเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับกิจกรรมทางธุรกิจที่เข้มข้นขึ้น” มร. เบียนฮาร์ด ดุตต์มันน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินของแลงเซส กล่าว “การเติบโตที่ให้ผลกำไร ควบคู่กับฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ยังคงเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินธุรกิจของเรา”

ผลประกอบการแยกตามภูมิภาค

ตลาด EMEA อันได้แก่ ยุโรป (ไม่รวมเยอรมนี) ตะวันออกกลาง และอัฟริกา ยังคงเป็นภูมิภาคที่มียอดขายสูงสุดในไตรมาสแรก โดยครองสัดส่วนร้อยละ 29 ของยอดขายโดยรวมของทั้งกลุ่มบริษัท ยอดขายในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ไปอยู่ที่ 699 ล้านยูโร โดยมีรัสเซียและโปแลนด์อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด

ยอดขายในเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ไปอยู่ที่ 416 ล้านยูโรในไตรมาสแรก และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17 ของยอดขายโดยรวมของทั้งกลุ่มบริษัท
ตลาดอเมริกาเหนือมีอัตราเติบโตของยอดขาย (top-line growth) สูงสุด โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 423 ล้านยูโรหรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของยอดขายรวมของกลุ่ม
ละตินอเมริกามียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด   ไปอยู่ที่ 301 ล้านยูโร ในไตรมาสแรก เนื่องจากบริษัทมีฐานที่มั่นที่แข็งแกร่งในบราซิล โดยยอดขายในภูมิภาคนี้คิดเป็นร้อยละ 13 ของยอดขายรวมของกลุ่ม
เอเชียแปซิฟิกมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด   ไปอยู่ที่ 549 ล้านยูโร ในไตรมาสแรก ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 23 ของยอดขายรวมของกลุ่ม โดยมีจีนและไทยเป็นตลาดที่มีอัตราเติบโตของยอดขายสูงสุด
ยอดขายใน 5 ประเทศในกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และอัฟริกาใต้) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 554 ล้านยูโร และคิดเป็นร้อยละ 23 ของยอดขายรวมของกลุ่มในไตรมาสแรก

 ผลประกอบการแยกตามเซ็กเม้นท์

ยอดขายในส่วนของธุรกิจ โพลิเมอร์ (Performance Polymers) เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ไปอยู่ที่ 1.4 พันล้านยูโร เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นและผลจากการเข้าซื้อกิจการยางสังเคราะห์ เอธีลีน โพรพิลีน ไดอีน โมโนเมอร์ (Ethylene Propylene Diene Monomer: EPDM) ยี่ห้อ เคลตัน (Keltan) จาก บริษัท ดีเอสเอ็ม จำกัด (DSM N.V.) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ด้านกำไรเบื้องต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 255 ล้านยูโร โดยธุรกิจ ยางสังเคราะห์ประสิทธิภาพสูง (High-Performance Synthetic Rubbers) และ พลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) ของแลงเซสยังคงมีความต้องการสูงจากอุตสาหกรรมยางและยานยนต์ตามลำดับ

หน่วยธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ (Semi-Crystalline Products) ซึ่งเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์ชั้นนำด้าน พลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น หน่วยธุรกิจ ไฮ เพอร์ฟอร์มานส์ แมทธีเรียลส์ (High Performance Materials: HPM) โดยมีผลในทันที ชื่อใหม่นี้ให้ประโยชน์หลายด้านด้วยขอบข่ายผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอให้แก่ลูกค้า ตัวอย่างหนึ่ง คือ พลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) ที่ช่วยให้ชิ้นส่วนยานยนต์มีน้ำหนักเบาลงและส่งผลให้สามารถลดการใช้น้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยอดขายไตรมาสแรกในส่วนของผลิตภัณฑ์กลุ่ม สารที่เกิดระหว่างการผลิตขั้นสูง (Advanced Intermediates) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 429 ล้านยูโร ทั้งหน่วยธุรกิจ แอดวานซ์ อินดัสเรียล อินเตอร์มีเดียทส์ (Advanced Industrial Intermediates) และ ซัลติโก้ (Saltigo) ได้รับอานิสงส์จากความต้องการที่สูงต่อเนื่องในอุตสาหกรรมเคมีเกษตร ขณะที่รายได้ของกำไรเบื้องต้นลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีล่าสุด ไปอยู่ที่ 70 ล้านยูโร เนื่องจากความต้องการที่ชะลอตัวลงในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การเคลือบและยา

ยอดขายในส่วนของธุรกิจ เคมีภัณฑ์ (Performance Chemicals) ในช่วงไตรมาสแรกคงที่เมื่อเทียบกับปีล่าสุด โดยอยู่ที่ 558 ล้านยูโร อันเป็นผลจากการขึ้นราคาและการเข้าซื้อกิจการใหม่ๆ ที่มาช่วยชดเชยปริมาณการขายสินค้าที่ลดลง ขณะเดียวกันอัตรารายได้กำไรเบื้องต้น ได้ลดลงร้อยละ 8 ไปอยู่ที่ 83 ล้านยูโร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความต้องการที่ชะลอตัวลงในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอิเล็กทรอนิกส์

คาดการณ์ผลประกอบการ

“ด้วยการเริ่มต้นที่ดีในปีนี้ แลงเซสได้สร้างพื้นฐานที่ดีต่อไปในเส้นทางการเติบโตที่ประสบผลสำเร็จตามเป้าของเราในปี พ.ศ. 2555” มร. ไฮท์มันน์ กล่าว แลงเซสคาดว่า อัตรากำไรเบื้องต้นทั้งปี พ.ศ. 2555 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 จาก 1,146 ล้านยูโรในปี พ.ศ. 2554

แลงเซสยังคงคาดหวังว่า ระดับของหนี้สาธารณะ (sovereign debt) ที่สูงในบางประเทศ ประกอบกับนโยบายการปรับลดการใช้จ่าย (austerity program) ที่ออกมาเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว อาจเป็นปัจจัยที่บั่นทอนการพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่ให้เกิดเสถียรภาพ นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งต้นทุนวัตถุดิบและพลังงาน น่าจะยังคงผันผวน ด้วยเหตุนี้ แลงเซสจะยังคงใช้กลยุทธ์ด้านราคา หรือ Price-Before-Volume Strategy ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีเช่นนี้ต่อไป

“นอกจากนี้ แลงเซสกำลังสานต่อการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ๆ ในสามเซ็กเม้นท์ และจะมุ่งเน้นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีล่าสุดให้มากขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมี่ยมให้แก่ลูกค้า ยางสังเคราะห์และพลาสติกที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Plastics) หรือ ไฮเทคพลาสติก จะมีบทบาทนำ โดยเฉพาะสำหรับกระแสอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียว (Green Mobility)” มร. ไฮท์มันน์ กล่าวสรุป

ตัวเลขสำคัญๆ ของไตรมาส 1 ปี พ.ศ. 2555

(หน่วยเป็นล้านยูโร อัตราเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ)

ไตรมาส 1 พ.ศ. 2554 ไตรมาส 1 พ.ศ. 2555 เปลี่ยนแปลง (%)
ยอดขาย 2,073 2,388 15.2
กำไรเบื้องต้น  322 369 14.6
สัดส่วนกำไรเบื้องต้น ต่อ รายได้ (%) 15.5 15.5
รายได้สุทธิ 166 193 16.3
กำไรต่อหุ้น  €2.00 €2.32 16.3 

———————

Q1 EBITDA pre EUR 369 million, up 15% yr-on-yr
Q1 sales EUR 2.4 billion, up 15%
Q1 net profit EUR 193 million, up 16%
Outlook 2012: FY EBITDA pre expected to grow 5-10% vs. 2011

LANXESS has made a promising start to the business year 2012. The specialty chemicals company increased EBITDA pre exceptionals by nearly 15 percent year-on-year to EUR 369 million in the first quarter.

Sales increased roughly 15 percent year-on-year to EUR 2.4 billion. This was mainly due to price increases of nine percent that fully offset rising raw material costs. Positive portfolio effects of seven percent were mainly attributed to the Keltan-EPDM-business acquired from DSM. In addition, positive currency effects of two percent supported sales. Volumes declined by three percent from the very strong first quarter a year earlier.

The EBITDA pre exceptionals margin remained unchanged at 15.5 percent and net profit increased by 16 percent year-on-year to EUR 193 million.

“In view of our very good start to the year, we expect EBITDA pre exceptionals to increase five to ten percent year-on-year in 2012,” said Axel C. Heitmann, LANXESS’ Chairman of the Board of Management. “Our confidence is based on our strategic focus on premium products and innovative technologies, which serve the megatrends and emerging markets.”

Operating cash flow rose to EUR 129 million from EUR 36 million a year ago. Net debt at the end of the first quarter 2012 was roughly EUR 1.5 billion. “It was thus practically unchanged from the end of 2011 despite increased net working capital needs in line with stronger business activity,” said Chief Financial Officer Bernhard Duettmann. “Profitable growth, coupled with a solid financial position, remains central to our business.”

Performance by region

EMEA (Europe excluding Germany, Middle East, Africa) remained the largest sales region in the first quarter, with 29 percent of overall Group sales. The region increased sales by nine percent to EUR 699 million. Russia and Poland were among the countries with the strongest growth rates.

Sales in Germany rose five percent to EUR 416 million in the first quarter and represented 17 percent of Group sales.

North America showed the strongest top-line growth, with sales up 29 percent year-on-year to EUR 423 million, representing 18 percent of Group sales.

Latin America increased sales by 23 percent year-on-year to EUR 301 million in the first quarter due to the company’s strong foothold in Brazil. The region represented 13 percent of Group sales.

Asia-Pacific increased sales by 19 percent year-on-year to EUR 549 million in the first quarter, representing 23 percent of Group sales. China and Thailand showed the strongest sales growth.

Sales in the five BRICS countries (Brazil, Russia, India, China, South Africa) rose 21 percent year-on-year to EUR 554 million and represented 23 percent of Group sales in the first quarter.

Performance by segment

Sales of the Performance Polymers segment rose 28 percent year-on-year to EUR 1.4 billion due to higher prices and a strong contribution from the Keltan-EPDM-business acquired in May 2011. EBITDA pre exceptionals also rose 28 percent year-on-year to EUR 255 million. LANXESS’ high-performance synthetic rubbers and high-tech plastics remained in high demand from the tire and automotive industries respectively.

The business unit Semi-Crystalline Products (SCP), one of the leading suppliers of high-tech plastics for the automotive and electronic industries, has been renamed High Performance Materials (HPM), with immediate effect. The new name reflects the numerous advantages provided by the business unit’s product portfolio to its customers. One example is high-tech plastics that lower the weight of automotive parts and thus reduce fuel consumption.

First-quarter sales in the Advanced Intermediates segment rose three percent year-on-year to EUR 429 million. Both Advanced Industrial Intermediates and Saltigo benefited from ongoing strong demand in the agrochemical industry. EBITDA pre exceptionals fell seven percent year-on-year to EUR 70 million due to weaker demand in the construction, coatings and pharmaceutical industries.

Sales of the Performance Chemicals segment were practically flat year-on-year in the first quarter at EUR 558 million, with price increases and contributions from newly-acquired businesses helping to offset volume declines. EBITDA pre exceptionals in the segment fell eight percent year-on-year to EUR 83 million mainly due to weaker demand in the construction and electronic industries.

Outlook 

“With the pleasing start to the year, we have created a good basis to continue on our successful growth path also in 2012,” said Heitmann. LANXESS expects for the full-year 2012 EBITDA pre exceptionals to rise by five to ten percent from EUR 1,146 million in 2011.

LANXESS still expects that the high levels of sovereign debt in some of the established countries, along with the austerity programs launched as a result, could detract from steady economic development. Currency exchange rates, as well as raw material and energy costs, will remain volatile. LANXESS will continue to stick to its proven price-before-volume strategy.

“Furthermore, LANXESS is bringing on stream new capacities in all three segments. We will also sharpen our focus on innovation and the latest technologies in order to develop premium products for our customers. Our synthetic rubbers and high-tech plastics will play a leading role especially in the “Green Mobility”,” added Heitmann.

Q1 2012 Key Data

(EUR million, changes in percent)

  Q1 2011 Q1 2012 Change
Sales  2,073 2,388 15.2
EBITDA pre exceptionals  322 369 14.6
EBITDA margin pre exceptionals (percent)

 

15.5 15.5  
Net income 

 

166 193 16.3
Earnings per share (EPS) €2.00 €2.32 16.3

LANXESS is a leading specialty chemicals company with sales of EUR 8.8 billion in 2011 and currently around 16,700 employees in 30 countries. The company is at present represented at 48 production sites worldwide. The core business of LANXESS is the development, manufacturing and marketing of plastics, rubber, intermediates and specialty chemicals. LANXESS is a member of the leading sustainable indices Dow Jones Sustainability Index (DJSI) World and FTSE4Good.

Forward-Looking Statements.

This news release may contain forward-looking statements based on current assumptions and forecasts made by LANXESS AG management. Various known and unknown risks, uncertainties and other factors could lead to material differences between the actual future results, financial situation, development or performance of the company and the estimates given here. The company assumes no liability whatsoever to update these forward-looking statements or to conform them to future events or developments.

…TTME NEWS

จัดประชุมการพัฒนาคุณภาพระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าแบบลดต้นทุน-เพิ่มกำไร : GIZ

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้โปรแกรม “renewables – Made in Germany” ของกระทรวงเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(BMWi) ขอเชิญผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมการประชุมเพื่อถ่ายทอดบทเรียนและประสบการณ์จากประเทศเยอรมนี ด้านคุณภาพของระบบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการผลิตไฟฟ้าและจ่ายไฟเข้าสู่สายส่ง (Grid connected PV systems) ที่ส่งผลต่อต้นทุน-กำไรของกิจการ พร้อมเรียนรู้วิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ PV เพื่อนำมาปรับใช้กับตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ในวันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 นี้ เวลา 9.00-16.30 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ผู้สนใจกรุณาติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 081-680-1747 หรืออีเมล์cholada.khanthong@giz.de ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.thai-german-cooperation.info/download/renewable_solar_workshop.pdf รับจำนวนจำกัด

———————————————————————-

 องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ต้นปี 2554 โดยรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้รวม 3 หน่วยงานด้านการพัฒนา ได้แก่ สำนักงานบริการด้านการพัฒนาของเยอรมัน (DED) สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน (GTZ) และสำนักงานพัฒนาศักยภาพระหว่างประเทศ (InWEnt) เข้าไว้ด้วยกัน ความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างไทยและเยอรมันดำเนินมาเป็นเวลา 55 ปีแล้ว โดย GIZ ปฏิบัติงานในนามของรัฐบาลเยอรมัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการร่วมมือกับประเทศไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน            

The Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH commenced operations at the beginning of 2011. The organisation brings together the long-standing expertise of the Deutscher Entwicklungsdienst (DED) gGmbH (German Development Service), the Deutsche Gesellschaft für Technische Zusammenarbeit (GTZ) GmbH (German Technical Cooperation) and InWEnt – Capacity Building International, Germany. German International Co-operation (GIZ) is fully owned by the German Federal Government. Looking back on 55 years of Thai-German Technical Cooperation, GIZ continues to support the German Government in achieving its objectives in international cooperation with Thailand promoting sustainable development, including international education.

….TTME NEWS

นวัตกรรมกล่องถุงลมนิรภัยแบบใหม่ ผลิตโดยเทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริด

นวัตกรรมกล่องถุงลมนิรภัยแบบใหม่ ผลิตโดยเทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริด ให้น้ำหนักเบาลงอีก 30 เปอร์เซ็นต์ 

ในการออกแบบยานยนต์ เทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริด (Nylon Composite Sheet Hybrid Technology) นับเป็นวัสดุทางเลือกแทนโลหะที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ในการลดน้ำหนักของชิ้นส่วนโครงสร้างต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนด้านหน้ารถ ซึ่งมักต้องรองรับแรงเชิงกลสูง ในขณะเดียวกันวัสดุดังกล่าว สามารถใช้ในการผลิตโครงสร้างที่เป็นพลาสติกทั้งหมดให้มีน้ำหนักเบาลงได้เป็นอย่างดี เช่น กล่องสำหรับเก็บถุงลมนิรภัยในรถยนต์ ที่ผลิตโดยแผ่นไนลอนคอมโพสิต (Nylon Composite Sheet) จะช่วยลดน้ำหนักของกล่องลงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับชิ้นส่วนที่ผลิตจาก Polyamide (Nylon 6) ซึ่งเป็นพลาสติกเทคนิคประเภทไนล่อน 6 ที่ผลิตแบบฉีดขึ้นรูปได้ครั้งละมากๆ

“ด้วยเหตุนี้ ประสิทธิภาพเทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริด ที่มีคุณสมบัติสร้างน้ำหนักเบาของวัสดุ จึงสามารถนำไปใช้ได้กับชิ้นส่วนพลาสติกเพื่อลดน้ำหนักของชิ้นส่วนลงได้อีกมาก ส่งผลต่อการลดปริมาณการปล่อยไอเสียและอัตราการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงของยานยนต์ ซึ่งเป็นหัวใจของแนวคิดอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียว หรือ Green Mobility” มร. จูเลียน ฮาสเปล ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีไฮบริด ของหน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ (Semi-Crystalline Products: SCP) ของแลงเซส (LANXESS) ทำการอธิบาย

ทั้งนี้ กล่องถุงลมนิรภัยดังกล่าว ได้รับการออกแบบภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิศวกรรมขั้นสูงระหว่าง แลงเซส กับอีกสี่บริษัทในเยอรมนี ได้แก่ ทาคาตะ เพทริ (Takata-Petri AG เมือง Aschaffenburg) เคราส์มาฟเฟือ เทคโนโลยีส์ (KraussMaffei Technologies GmbH เมือง Munich) บอนด์ ลามิเนตส์ (Bond-Laminates GmbH เมือง Brilon) และ คริสเตียน คาร์ล ซีเบนเวิร์ส (Christian Karl Siebenwurst GmbH & Co. KG เมือง Dietfurt)

 ความหนาของผนังกล่อง ลดลงอย่างเห็นได้ชัด 

กล่องสำหรับเก็บถุงลมนิรภัยในรถยนต์ ที่ผลิตโดยเทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิต (Nylon Composite Sheet) จะช่วยลดน้ำหนักของกล่องลงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
เมื่อเทียบกับชิ้นส่วนที่ผลิตจาก Polyamide (Nylon 6) ซึ่งเป็นพลาสติกเทคนิคประเภทไนล่อน 6 ที่ผลิตแบบฉีดขึ้นรูปได้ครั้งละมากๆ 

โดยทั่วไป ภายในกล่องเก็บถุงลมนิรภัยจะบรรจุเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดใช้ก๊าซและถุงลมนิรภัยพับได้ จนถึงขณะนี้ชิ้นส่วนดังกล่าวส่วนใหญ่ผลิตขึ้นจากเหล็ก อลูมิเนียม หรือโดยการฉีดขึ้นรูปเทอโมพลาสติก (Thermoplastics) ซึ่งตามแนวความคิดนี้ ผนังตามยาวของกล่องเก็บถุงลมนิรภัยสำหรับผู้โดยสารนี้ ผลิตขึ้นจากวัสดุ  Tepex dynalite 102 RG 600 ทำการขึ้นรูปจาก บริษัท บอนด์ ลามิเนตส์ จำกัด (Bond-Laminates GmbH เมือง Brilon) แผ่นไนลอนคอมโพสิต 6 นี้ ในเชิงปริมาตรจะถูกเสริมด้วยใยแก้วที่เนื้อประสานกันต่อเนื่องมากถึง 47 เปอร์เซ็นต์ ถูกฉีดด้านหลังและเสริมในบางจุดด้วย Durethan DP BKV 240 H2.0 (เป็น Copolymer ชนิด Impact-modified Polyamide 6 จากแลงเซส) การออกแบบที่ใช้เทคโนโลยีแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริด จะช่วยลดความหนาของผนังด้านข้างลง ระหว่าง 3-4 มม. ถึง 0.5-1 มม. ส่งผลให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก

 สุดยอดความแข็งแรงและเหนียวทนทาน

เมื่อถุงลมนิรภัยทำงานขณะเกิดอุบัติเหตุ ฐานและผนังของกล่องจะต้องสามารถทนต่อการระเบิดและแรงดันที่เกิดขึ้นระหว่างที่ถุงลมนิรภัยพองตัวได้ “แม้ว่าผนังด้านข้างจะบาง แต่ผนังกล่องสามารถทนต่อแรงดันที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันได้ เนื่องจากแผ่นไนล่อนคอมโพสิตแบบไฮบริดมีความแข็งแรงสูงและเหนียวทนมาก” มร. อาสเปล กล่าว ทั้งนี้ โดยทั่วไปเทคโนโลยีแผ่นไนล่อนคอมโพสิตแบบไฮบริดเหมาะสำหรับนำไปผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นพลาสติกทั้งหมด ซึ่งคุณสมบัติความเหนียวทนทานและแข็งแรงสูงนี้ จำเป็นจะต้องนำไปผสานกับน้ำหนักที่ต่ำ ซึ่ง “แบริ่งเครื่องยนต์” (Engine Bearing) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง

 HiAnt – แบบจำลองที่แม่นยำของทุกขั้นตอนกระบวนการผลิต 

แลงเซส (LANXESS) สามารถจำลองขั้นตอนกระบวนการทั้งหมดในการผลิตชิ้นส่วนแผ่นไนลอนคอมโพสิตแบบไฮบริดได้อย่างถูกต้อง ซึ่งรวมถึงกระบวนการที่สลับซับซ้อนมากในการขึ้นรูปแผ่นไนลอนคอมโพสิต “สำหรับกล่องเก็บถุงลมนิรภัย แลงเซสสามารถคำนวณการจัดแนวเส้นใยที่แตกต่างกันในแผ่นไนลอนคอมโพสิตขึ้นรูป เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการเคลื่อนตัวในแบบต่างๆ (Anisotropic Behavior) ในขั้นตอนการออกแบบชิ้นส่วนเหล่านั้น” มร. อาสเปล กล่าว

ความเชี่ยวชาญด้านนี้เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ HiAnt ซึ่งเป็นส่วนที่หน่วยธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ (Semi-Crystalline Products: SCP) ของแลงเซส (LANXESS) ได้สั่งสมความรู้และทักษะด้านวัสดุ การออกแบบ การจำลอง และเทคโนโลยีกระบวนการผลิต เพื่อนำเสนอบริการต่อลูกค้า ที่สอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริง

 

สำนักงานใหญ่ของแลงเซส ในเมืองเลเวอร์คูเซ่น ประเทศเยอรมนี


Green Mobility – อุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียว 
คือกลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจของ แลงเซส 

ในปีนี้ แลงเซสจะเน้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับ “อุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียว หรือ Green Mobility” โดยจุดมุ่งหมายของแคมเปญนี้ คือ เพื่อให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมที่แลงเซส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีภัณฑ์เฉพาะทาง สามารถช่วยให้เกิดการขับขี่ยวดยานที่ช่วยประหยัดทรัพยากร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้ความยั่งยืนกับส่วนรวม เช่น แนวคิดการออกแบบโครงสร้างน้ำหนักเบา สำหรับชิ้นส่วนของตัวรถยนต์หรือยางชนิดพิเศษ (High-Performance Rubber) สำหรับการผลิตยางรถยนต์ที่ช่วยให้วิ่งได้ลื่นไหล ประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

—————————–

Airbag housing in nylon composite sheet hybrid technology

• Making plastic parts even lighter
• Over 30 percent less weight

Bangkok, 4 May 2012 – In automotive design, nylon composite sheet hybrid technology is a particularly useful alternative to metals for reducing the weight of structural parts such as front ends, which are subjected to high mechanical loads. At the same time, it can be used to make all-plastic structures significantly lighter. One example of this is the housing for a passenger airbag module. The use of nylon composite sheet cuts the weight of the housing by over 30 percent compared with a mass produced, injection-molded version made of polyamide 6. “The lightweight construction potential of nylon composite sheet hybrid technology can thus also be applied to plastic parts to considerably lower the weight and thus the emissions and fuel consumption of vehicles in the spirit of green mobility,” explained Julian Haspel, an expert in hybrid technology at LANXESS’ Semi-Crystalline Products business unit. The housing was designed as part of a joint advanced engineering project between LANXESS, Takata-Petri AG of Aschaffenburg, KraussMaffei Technologies GmbH of Munich, Bond-Laminates GmbH of Brilon and Christian Karl Siebenwurst GmbH & Co. KG of Dietfurt.

Wall thicknesses significantly reduced 

The airbag housing accommodates the gas generator and the folded airbag. Until now, such components were made mainly of steel, aluminum, or by the injection molding of thermoplastics. In this concept housing for the passenger airbag, the long side walls are made of molded Tepex dynalite 102 RG 600 from Bond-Laminates. This nylon composite sheet of polyamide 6, reinforced with 47 percent continuous glass fibers by volume, is back-injected and reinforced in certain areas with Durethan DP BKV 240 H2.0, an impact-modified polyamide 6 copolymer from LANXESS. The design using nylon composite sheet hybrid technology enables the wall thickness of the side walls to be reduced from 3 to 4 mm to 0.5 to 1 mm, resulting in a considerable cost savings.

The passenger airbag module in nylon composite sheet hybrid technology is over 30 percent
lighter than a mass-produced, injection-molded version made of polyamide 6.

 

High strength and stiffness

When the airbag is triggered in an accident, the base and walls of the housing must be able to withstand the explosion and the pressure during inflation of the airbag. “Although the side walls are so thin, they can withstand the sudden pressure because of the high strength and stiffness of the hybrid nylon composite sheet,” said Haspel. Nylon composite sheet hybrid technology is generally suitable for all plastic automotive parts where high stiffness and strength need to be combined with low weight. Engine bearings are one example.

HiAnt – precise simulation of all process steps 

LANXESS can accurately simulate all process steps in the manufacture of nylon composite sheet hybrid parts – including the highly complex processes involved in forming the nylon composite sheet. “For the airbag housing, we were able to calculate the different local fiber alignments in shaped nylon composite sheets in order to account for their anisotropic behavior at the part design stage,” said Haspel. This expertise is part of the HiAnt brand, in which the Semi-Crystalline Products business unit has pooled the know-how it has developed in materials, design, simulation and process technology to deliver tailored customer service.


LANXESS Headquarter in Leverkusen, Germany.

Green mobility – a core strategic topic at LANXESS

In this fiscal year, LANXESS is focusing its activities on the core strategic subject of green mobility. The aim of the campaign is to focus on innovative technologies and products with which the specialty chemicals group can help to enable resource-saving, environmentally friendly, sustainable mobility, such as lightweight construction concepts for body parts or high-performance rubber for the manufacture of smooth running, fuel-saving green tires.

—————-
TTME NEWS
Download TTME-Ebook at www.ebooks.in.th 

แลงเซส มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว / LANXESS powering Green Mobility

แลงเซส  มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว
แลงเซส ประกาศให้ ปีพ.ศ. 2555 เป็นปีแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว หรือ กรีน โมบิลิตี้ (Green Mobility) มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ซึ่งบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำแห่งนี้ได้ยกระดับการพัฒนายานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับแนวคิดการดำเนินงานของบริษัท โดยแลงเซสได้จัดแสดงนวัตกรรมล้ำสมัยจากหน่วยธุรกิจอันหลากหลายของบริษัท ได้แก่ หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ (Semi-Crystalline Products)  หน่วยธุรกิจ สารสีอนิน-ทรีย์ (Inorganic Pigments) หน่วยธุรกิจ ไรน์ เคมี (Rhein Chemi) และ หน่วยธุรกิจ ฟังชันนัล เคมิคัลส์ (Functional Chemicals) ณ งานไชน่าพลาส 2012 (Chinaplas 2012) ระหว่างวันที่ 18 – 21 เมษายน ที่ผ่านมา ที่ศูนย์นิทรรศการนานาชาติแห่งใหม่ “เซี่ยงไฮ้ ผู่ตง” ซึ่งนักลงทุนที่เข้าเยี่ยมชมบูธของแลงเซส ได้รับทราบถึงการส่งเสริมตลาดพลาสติกของหน่วยธุรกิจทั้งสี่ของบริษัทฯ ซึ่งแลงเซสได้นำเสนอวัตถุดิบ

มร. มาร์ติน เครเมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แลงเซส ประจำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน


พิธีเปิดบูทของแลงเซส ณ งาน ไชน่าพลาส 2012 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-21 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา ณ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
บุคคลในภาพ (จากซ้าย) มร. มาริโอ เนกริ ผู้อำนวยการ หน่วยธุรกิจ ไรน์ เคมี ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก ดร. คริสทอฟ คร็อกมันน์ รองประธาน หน่วยธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ เซมิ คริสตัลไลน์ ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก มร. มาร์ติน เครเมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แลงเซส ประจำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ดร. วูล์ฟกัง อือห์เลิร์ท รองประธาน หน่วยธุรกิจ สารสีอนินทรีย์ ประจำภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก และ มร. ชก ฮัก เลียง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย หน่วยธุรกิจ ฟังชันนัล เคมิคัลส์ ประจำภาคพื้นเอเชีย


ภาพบูทของแลงเซส ณ งานไชน่าพลาส 2012


นักลงทุนจากหลากหลายประเทศเข้าชมบูทของแลงเซส ที่นำเสนอนวัตกรรมล่าสุดสำหรับเทรนด์อุตสาหกรรมระดับโลก นั่นคือ ยานยนต์สีเขียว หรือ กรีน โมบิลิตี้ (Green Mobility)

สมรรถนะสูง ที่ช่วยสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  
เพื่อกระชับความร่วมมือกับลูกค้าและแสดงให้เห็นถึงกรอบของพันธกิจในการดำเนินงาน ในภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แลงเซสได้ประกาศแผนการจัดตั้ง ‘ศูนย์พัฒนาแอพพลิเคชั่นแห่งเอเชีย แปซิฟิก’ หรือ ‘Asia-Pacific Application Development Center’ โดยศูนย์แห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง จะเริ่มเปิดดำเนินงานตั้งแต่ครึ่งปีหลังของ ปีพ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ฮ่องกงจะเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีพลาสติกชั้นสูงของแลงเซส ได้แก่ ดูรีเทน (Durethan) และ โพแคน (Pocan) ซึ่งมาพร้อมกับเทคโนโลยีการผลิตที่ครอบคลุมและมีคุณภาพสูง รวมถึงการออกแบบและพัฒนาระบบวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ ตลอดจนศูนย์การทดสอบชิ้นส่วนระดับโลก สำหรับลูกค้าทั้งหมดในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก

ศูนย์พัฒนาแอพพลิเคชั่นแห่งเอเชีย แปซิฟิก’ สะท้อนถึงเจตนารมณ์ของแลงเซสในการเป็นพันธมิตรและทำงานร่วมกับ นักวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต และลูกค้า พร้อมกับช่วยส่งเสริม ‘ศูนย์วิจัยและพัฒนา’ ที่มีอยู่เดิม ณ เมืองอู๋ซี ประเทศจีน เพื่อการพัฒนาและทดสอบวัตถุดิบ สำหรับใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อไป” มร. มาร์ติน เครเมอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แลงเซส ประจำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน กล่าว

ทั้งนี้ แลงเซส ได้รับรางวัล ‘นวัตกรรมสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม’ ประจำ ปี พ.ศ. 2555 หรือ ‘Green Innovation Award 2012’  ในสาขาวิศวกรรมพลาสติก อันเนื่องมาจากนวัตกรรมพลาสติกชั้นสูงอย่าง ดูรีเทน และ โพแคน ของแลงเซส จากงาน Plastic Technology China ซึ่งผลิตภัณฑ์อันล้ำสมัยนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนายานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถนำไปทดแทนชิ้นส่วนที่เป็นเหล็ก ช่วยลดน้ำหนักตัวรถ เพิ่มอัตราความประหยัดเชื้อเพลิง และลดการปล่อยมลพิษ ขณะเดียวกันยังช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประหยัดต้นทุนจากการประกอบตัวรถที่สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้นอีกด้วย

นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์แล้ว แลงเซสยังมีเทคโนโลยีพลาสติกชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมอื่น “ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมอันก้าวล้ำหน้า แลงเซสยึดมั่นที่จะสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียวให้เกิดขึ้น จากผลิตภัณฑ์อันเปี่ยมด้วยนวัตกรรมคุณภาพ อาทิ สารสีอนินทรีย์ ฟังชันนัล เคมิคัลส์ และสารเติมแต่ง ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความประหยัดเชื้อเพลิง และมีสมรรถนะที่ดีเพื่อสิ่งแวดล้อม” มร. เครเมอร์ กล่าวสรุป

ปีแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว
ในปีนี้ แลงเซส ดำเนินงานมุ่งเน้นกลยุทธ์อุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียว ให้ความสำคัญที่นวัตกรรมเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำแห่งนี้ จะสามารถส่งเสริมการประหยัดทรัพยากร ให้ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์อุตสาหกรรมยานยนต์สีเขียวที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการใช้แนวคิดสร้างชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์ที่มีน้ำหนักเบา และยางสมรรถนะสูงในการผลิตยางรถยนต์สีเขียว หรือ ยางกรีนไทร์ (Green tires) ที่ประหยัดเชื้อเพลิง

###
แลงเซส (LANXESS) เป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำที่มียอดขายรวม 8.8 พันล้าน   ยูโร (ประมาณ 3.61 แสนล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2554 ปัจจุบันมีพนักงานราว 16,500 คนใน 30 ประเทศ มีฐานการผลิต 48 แห่งทั่วโลก ทั้งนี้ ธุรกิจหลักของ แลงเซส (LANXESS) ได้แก่ การพัฒนา การผลิต และการจัดจำหน่ายพลาสติก ยาง สารที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต (intermediates)  และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน แลงเซส เป็นสมาชิกของ Dow Jones Sustainability Index (DJSI)  และ FTSE4Good 

——————
ที่มา : TTME NEWS

———————————–

LANXESS powering Green Mobility

Bangkok, 27 April 2012 – LANXESS, the specialty chemicals company, has declared 2012 the Year of “Green Mobility”, highlighting the premium products the specialty chemicals group develops to enable a more environmentally-friendly mobility.  As part of this themed year, LANXESS business units Semi-Crystalline Products (SCP), Inorganic Pigments (IPG), Rhein Chemie (RCH) and Functional Chemicals (FCC) displayed their state-of-the-art and innovative solutions at the Chinaplas 2012 trade fair, which was being held last week from April 18-21 at the Shanghai New International Expo Centre, Pudong.   Visitors to the LANXESS’ booth would find out how four of its business units serve the plastics market.  LANXESS supplies customers throughout the world with high-performance materials that help ensure sustainable and green mobility.


Mr Martin Kraemer, CEO, LANXESS Greater China.


LANXESS booth opening ceremony at Chinaplas 2012, during 18-21 April 2012, Shanghai, China.
(from left) Mr Mario Negri, Director Asia-Pacific, Rhein Chemie, Dr Christof Krogmann, Vice President Asia-Pacific, Semi-Crystalline Product business unit, Mr Martin Kraemer, CEO, LANXESS Greater China, Dr Wolfgang Oehlert, Vice President Asia-Pacific, Inorganic Pigments business unit, and Mr Chok Hak Leong, Sales Director Asia, Functional Chemicals business unit.


LANXESS booth at Chinaplas 2012.


Investors pay attention at LANXESS booth. Introducing a number of product innovations to support the global megatrend of Green Mobility.   

To reinforce collaboration with customers and demonstrate its rapidly increasing commitment to the Asia region, LANXESS announced it will open a new Asia-Pacific Application Development Center during Chinaplas 2012.  This new center will be located in the Hong Kong Science & Technology Park and will start up in the second half of 2012.  Hong Kong will become a technology hub for LANXESS’ Durethan and Pocan high-performance plastics by offering a comprehensive, high-value technology package including CAD and CAE facilities and a world-class parts testing center to all customers in the Asia-Pacific region.

“This application center represents our intention to be an active, eager partner with researchers, producers and customers.  It will complement our R&D center we already have in Wuxi to develop and evaluate materials solutions used in the automotive industry,” said Martin Kraemer, CEO of LANXESS Greater China.

LANXESS was honored with the green innovation awards 2012 by Plastic Technology China in the engineering plastics market for its high-performance Durethan and Pocan.  These advanced products play a vital role in the design of more environmentally responsible cars. By replacing metal components, they make cars lighter, and thus contribute to fuel efficiency and reduced emissions. In addition, Durethan and Pocan enable carmakers and car parts suppliers to achieve considerable savings through easier assembly.

Aside from the automotive segment, LANXESS has a variety of offerings for high-tech plastics solutions for a wide range of industries.  According to Kraemer, “with our cutting edge products and solutions, we are determined to help make green mobility happen here.  Our high performance materials, inorganic pigments, functional chemicals and additives are bringing added value for fuel efficiency and environmental performance.”

About the Year of Green Mobility
This year, LANXESS is focusing its activities on the core strategic subject of Green Mobility. The aim of the campaign is to focus on innovative technologies and products with which the specialty chemicals group can help to enable resource-saving, environmentally friendly, sustainable mobility. This includes such things as lightweight construction concepts for body parts and high-performance rubber for the manufacture of fuel-saving Green Tires.

###
LANXESS is a leading specialty chemicals company with sales of EUR 8.8 billion in 2011 and currently around 16,500 employees in 30 countries. The company is at present represented at 48 production sites worldwide. The core business of LANXESS is the development, manufacturing and marketing of plastics, rubber, intermediates and specialty chemicals. LANXESS is a member of the leading sustainable indices Dow Jones Sustainability Index (DJSI) World and FTSE4Good.

Forward-Looking Statements
This news release may contain forward-looking statements based on current assumptions and forecasts made by LANXESS AG management. Various known and unknown risks, uncertainties and other factors could lead to material differences between the actual future results, financial situation, development or performance of the company and the estimates given here. The company assumes no liability whatsoever to update these forward-looking statements or to conform them to future events or developments.

 

เยอรมนีจับมืออาเซียนพัฒนาระบบเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน

สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดตัวโครงการควบคุมศัตรูพืชสำหรับพืชอาหารโดยชีววิธีในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมนีและภูมิภาคอาเซียน เพื่อพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน โดยเน้นการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช (Biocontrol agents) และการจัดการพืชอย่างยั่งยืน ในประเทศสมาชิกอาเซียนภาคการเกษตรและอาหารเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความต้องการอาหารทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัด ได้ผลักดันให้เกิดนโยบายการพัฒนาการเกษตรแบบ “ระบบเกษตรและอาหารยั่งยืน”

นายสุริยัน วิจิตรเลขการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการและหัวหน้าแผนกอุตสาหกรรมเกษตรและทรัพยากร ธรรมชาติ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า “แนวโน้มของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใส่ใจในเรื่องอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น รวมทั้งข้อกำหนดของตลาดส่งออกที่ทวีความเข้มงวด ได้ส่งผลให้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการผลิตอย่างยั่งยืนมากขึ้นตามลำดับ ความร่วมมือกับประเทศเยอรมนีในโครงการควบคุมศัตรูพืชสำหรับพืชอาหารโดยชีววิธีในภูมิภาคอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช และการจัดการพืชอย่างยั่งยืน”

นาย จิรากร โกศัยเสวี อธิบดี กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า “ประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืชอาหารที่ปลอดภัย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายในการเป็นครัวโลก โครงการฯ นี้ จะช่วยสนับสนุนแผนงานในการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการใช้ชีววิธีเพื่อกำจัดศัตรูพืชในระบบการผลิตอาหาร ซึ่งจะนำไปขยายผลใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียนอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตอาหารที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืนสู่ตลาดโลกต่อไป”

มร. มาธีอัส บิคเคล ผู้อำนวยการ โครงการควบคุมศัตรูพืชสำหรับพืชอาหารโดยชีววิธีในภูมิภาคอาเซียน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) กล่าวว่า “โครงการฯ ได้รับงบประมาณจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดย GIZ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินโครงการร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน จนถึงเดือนธันวาคม 2560 โดยมุ่งเน้นใน 3 แนวทางหลักคือการปรับแนวทางและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิตชีวภาพของประเทศต่างๆ ในอาเซียนให้มีความสอดคล้องกัน การส่งเสริมระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน ด้วยการสร้างความตระหนักให้แก่เกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ และการพัฒนาศักยภาพ ด้วยการจัดอบรมการจัดการพืชอย่างยั่งยืน”
ข้อมูลองค์กร
สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พศ. 2519 โดยกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงาน รวมทั้งการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มประเทศสมาชิก โดยมีภารกิจสำคัญคือการทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับหลักการตามกฎบัตรอาเซียน

กรมวิชาการเกษตร เป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจสำคัญคือทำงานวิจัยเพื่อการพัฒนาทางการเกษตร ให้บริการด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบ รับรองมาตรฐานสินค้า รวมทั้งให้คำแนะนำเรื่องดิน น้ำ ปุ๋ย ผลิตผลทางการเกษตร มาตรฐานสินค้าเพื่อส่งเสริมการส่งออก นอกจากนี้ยังถ่ายทอดทางการเษตรแก่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เกษตรกรและภาคเอกชน

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ เป็นองค์กรของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่ปฏิบัติงานในนามของรัฐบาลเยอรมันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและร่วมมือด้านการศึกษากับนานาประเทศ GIZ ยังปฏิบัติภารกิจในนามของรัฐบาลของประเทศต่างๆ และองค์กรนานาชาติ อาทิ สหภาพยุโรป องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย รวมทั้งบริษัทเอกชนต่างๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ศิริพร ตรีพรไพรัช ผู้จัดการฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ GIZ
โทรศัพท์ 02 661 9273 ต่อ 33 หรือ 087 022 7526 อีเมล์ siriporn.treepornpairat@giz.de

————————-

GERMANY COOPERATES WITH ASEAN TOWARDS SUSTAINABLE AGRI-FOOD SYSTEM

Bangkok, 27 March 2012: ASEAN Secretariat together with Department of Agriculture of Thailand’s Ministry of Agriculture and Cooperatives announce the launch of the ‘ASEAN Biocontrol for Sustainable Agri-food Systems’ project, a German – ASEAN cooperation to develop regionally coordinated policies and strategies for sustainable agriculture and the food sector by promoting the use of biocontrol agents and sustainable crop management practices in ASEAN countries.

The agri-food sector is of critical importance in Southeast Asia and beyond. The demand for food products of greater quality and quantity to supply both domestic and international markets, along with the need to manage scarce natural resources, has driven agricultural development policies towards the concept of “sustainable agri-food systems”.

Mr. Suriyan Vitchitlekarn, Assistant Director and Head of Agriculture Industries & Natural Resources Division, ASEAN Secretariat said ‘Increased consumer and industry interest in food safety issues, combined with stricter export regulations, have shifted agricultural policy across Southeast Asia towards more sustainable production techniques.  The cooperation with Germany in ‘ASEAN Biocontrol for Sustainable Agri-food Systems’ project aims to develop regionally coordinated policies and strategies for sustainable agriculture and the food sector.  Under this project, agri-food systems will be advanced by promoting sustainable inputs and their management through the implementation of biocontrol agents and sustainable crop management practices.’

Mr. Jirakorn Kosaisawe, Director General, Department of Agriculture said ‘Farmers in Thailand are supported to produce safe food since Thailand has a policy to become the ‘Kitchen of the World’.  The project will enhance our plan to promote research and development and the use of biocontrol measures.  Lesson learned will be shared to other ASEAN countries to sustainably promote safe food production for the world.’

Mr. Matthias Bickel, Director of ‘ASEAN Biocontrol for Sustainable Agri-food Systems’ project, GIZ said ‘Financed by the German Federal Ministry for Economic Cooperation and Development, the project is implemented by German International Cooperation (GIZ) and is planned until December 2017. Project activities cover three parts including harmonization to support the formulation process of ASEAN guidelines and regulatory frameworks, promotion of sustainable agri-food systems by creating awareness among farmers and stakeholders and capacity development with the training on sustainable crop management.’
The Secretariat of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) was set up in February 1976 by the Foreign Ministers of ASEAN to provide for greater efficiency in the coordination of ASEAN organs and for more effective implementation of ASEAN projects and activities.   The ASEAN Secretariat’s mission is to initiate, facilitate and coordinate ASEAN stakeholder, collaboration in realizing the purposes and principles of ASEAN as reflected in the ASEAN charter.

Department of Agriculture (DOA) is one major unit of the Ministry of Agriculture and Cooperatives in Thailand.  Its mandate is to 1) conduct research on various agricultural disciplines, 2) provide services on the analysis, inspection, quality certification and advices on soil, water, fertilizer, crops, agriculture inputs production and products quality export promotion, and to 3) transfer agricultural technology to related government officials, farmers and the private sector.

The Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH is a federal enterprise with worldwide operations. It supports the German Government in international cooperation for sustainable development and in international education work. It operates on behalf of the German Federal Ministry for Economic Cooperation and Development and other German ministries, governments of partner countries and international clients (like the EU, UN, World Bank, ADB) as well as private enterprises.

For more information, please contact:
Ms. Siriporn Treepornpairat, Public Information Manager, GIZ
Tel: 66 2 661 9273 ext. 33 E-mail: siriporn.treepornpairat@giz.de

 

https://i0.wp.com/ttmebook.com/TTMEPromotionBanner.jpg

แลงเซสเข้าซื้อกิจการของ “ทีซีบี” ผู้ผลิตยางในรถยนต์จากสหรัฐอเมริกา

แลงเซสเข้าซื้อกิจการของ “ทีซีบี” ผู้ผลิตยางในรถยนต์ จากสหรัฐอเมริกา

• ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) ขยายเครือข่ายธุรกิจยางในระดับโลก
• อุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลก (Mobility megatrend) กระตุ้นความต้องการยางรถยนต์พุ่ง
• เป็นการเข้าซื้อกิจการครั้งที่สามในสหรัฐอเมริกา ในช่วง 6 เดือน

จากซ้าย) มร. อังเดร ไซมอน ผู้บริหารฝ่ายควบรวมกิจการ แลงเซส ดร. แอนโน บอร์โควสกี ประธาน ไรน์ เคมี มร. มาร์ค นัตต์ (Mark Nutt) อดีตเจ้าของ ทีซีบี (TCB) มร. แฟรงค์ ลูเอคเคน หัวหน้าฝ่ายธุรกิจยาง ไรนื เคมี 
มร. เวอร์นอน อัลมอน อดีตเจ้าของ ทีซีบี (TCB) มร.บัวเดอแวง แวน เลนท์ ประธาน ไรน์ เคมี คอร์ปอร์เรชั่น และ มร. เวส มอร์ริสัน ไรน์ เคมี คอร์ปอร์เรชั่น 

แลงเซส (LANXESS) บริษัทผู้ผลิตเคมีภัณฑ์เฉพาะด้านชั้นนำของโลก จากประเทศเยอรมนี เดินหน้าเสริมสร้างความแข็งแกร่งในฐานะซัพพลายเออร์ชั้นแนวหน้าในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ โดยล่าสุด ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) บริษัทในเครือที่แลงเซสเป็นเจ้าของเองทั้งหมด ได้เข้าซื้อกิจการของ บริษัท ไทร์ คูริ่ง เบลดเดอร์ส แอล แอล ซี จำกัด (Tire Curing Bladders LLC: TCB) หนึ่งในผู้นำด้านการผลิตยางในรถยนต์ สำหรับอุตสาหกรรมยางรถยนต์ของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขมูลค่าการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ โดยการดำเนินงานจะมีผลในทันที ที่การเข้าซื้อกิจการเสร็จสิ้น

บริษัท ไทร์ คูริ่ง เบลดเดอร์ส แอล แอล ซี จำกัด หรือ ทีซีบี (TCB) เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในเมือง ลิตเติล ร็อค รัฐอาร์คันซอ สหรัฐอเมริกา และมีโรงงานผลิตยางในรถยนต์ ด้วยกำลังการผลิตกว่า 400,000 ยูนิต บริษัทแห่งนี้มียอดขาย 21 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 646 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2554 และมีพนักงานราว 100 คน โดย ทีซีบี (TCB) ผลิตยางในเพื่อจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือเป็นหลัก

“การเข้าซื้อกิจการของ ทีซีบี (TCB) ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในกลยุทธ์การผลักดันให้ ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) ก้าวสู่ตำแหน่งผู้ผลิตยางในคุณภาพสูงระดับโลก”
มร. ไรน์เนีย แวน รอสเซล กรรมการบริหาร ของแลงเซส กล่าว “บริษัทกำลังเร่งเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับการเติบโตของฐานลูกค้าในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ และนอกจากนี้เรายังบุกตลาดยางในสำหรับยางของรถบรรทุก ออฟโร้ด (Off-road) และยานพาหนะที่ใช้ในการเกษตร รวมถึงเครื่องจักรกลก่อสร้างอีกด้วย”

โรงงาน ไรน์ เคมี (Rhein Chemie)  เมืองมันน์ไฮม์ ประเทศเยอรมนี

โรงงาน ไรน์ เคมี (Rhein Chemie)  เมืองมันน์ไฮม์ ประเทศเยอรมนี

“เรารู้สึกยินดีที่ ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) จะช่วยให้กลุ่มพนักงานที่มีความมุ่งมั่นทุ่มเทของเรามีโอกาสก้าวหน้าและประสบความสำเร็จมากขึ้นอีกขั้นผ่านเครือข่ายการดำเนินธุรกิจที่กระจายอยู่ทั่วโลกและแบรนด์ที่มีชื่อเสียง” มร. เวอร์นอน อัลมอน และ มร. มาร์ค นัตต์ (Mark Nutt) อดีตเจ้าของ ทีซีบี (TCB) กล่าว

ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) เริ่มผลิตยางในเมื่อปีที่แล้วโดยการเข้าซื้อกิจการของดาร์เม็กซ์ (Darmex) ในอาร์เจนตินา โดยยางในของ ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) ทำตลาดภายใต้แบรนด์ “เรโนเชป” (Rhenoshape)

“ยางใน “เรโนเชป” (Rhenoshape) รวมถึง เรโนดิฟ (Rhenodiv) ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเราอย่างครบครัน ทำหน้าที่จัดหาผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียมครบวงจรให้แก่ผู้ผลิตยางรถยนต์ทั่วโลก ซึ่งช่วยยกระดับประสิทธิภาพและคุณภาพของผู้ผลิตเหล่านั้นได้อย่างมาก ดังนั้น การพัฒนาทั้งหลายในอนาคตของเราจะช่วยขยายขอบเขตความเชี่ยวชาญเหล่านี้” ดร. แอนโน บอร์โควสกี ประธาน ไรน์ เคมี (Rhein Chemie) กล่าว

ยางในมีไว้ใช้ในกระบวนการผลิตยางรถยนต์ โดยยางที่ใช้ผลิตยางรถยนต์ที่ยังไม่ได้เติมสารทำให้คงรูป (Nonvulcanized tire) จะถูกนำไปวางในแม่พิมพ์ เมื่อแม่พิมพ์ถูกปิด แรงดันภายในจะดันให้ยางนั้นแนบติดกับผนังด้านในของแม่พิมพ์ยาง ซึ่งขั้นตอนนี้ทำได้โดยใช้ยางในชนิดบิวทิล (Butyl Rubber Bladder) ที่จากนั้นจะพองขึ้นภายใต้แรงดันสูง และที่อุณหภูมิสูงเพื่อให้ได้รูปทรงของยางที่ต้องการในขั้นสุดท้าย

คาดการณ์ว่าปริมาณความต้องการยางในจะเพิ่มขึ้นตามการผลิตยางรถยนต์ทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า กระแสโลกด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังมาแรง เป็นแรงกระตุ้นการเติบโตดังกล่าว ซึ่งมีปัจจัยหนุนมาจากการขยายตัวของจำนวนประชากรชนชั้นกลาง ในหลายประเทศ เช่น บราซิล จีน และอินเดีย

นอกจากนี้ จำนวนบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็กำลังนิยมจ้างเหมาบริษัทอื่นผลิตยางในเพื่อเพิ่มผลิตผลโดยรวม และเพื่อประโยชน์ด้านการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ซึ่งผู้ผลิตยางในที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสามารถตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้ ทั้งนี้ คาดว่าขนาดตลาดยางในทั่วโลกจะมีมูลค่ากว่า 300 ล้านยูโร (ประมาณ 12.24 หมื่นล้านบาท)

ไรน์ เคมี (Rhein Chemie)  มียอดขายประมาณ 280 ล้านยูโร (ประมาณ 11.43 หมื่นล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2553 และมีพนักงานประมาณ 1,000 คนทั่วโลก บริษัทนี้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2432 ในเมืองมันน์ไฮม์ ประเทศเยอรมนี และมีฐานการผลิตในประเทศเบลเยียม สหรัฐอเมริกา อุรุกวัย บราซิล อินเดีย จีน อาร์เจนตินา และญี่ปุ่น

โรงงาน ไรน์ เคมี (Rhein Chemie)  เมืองมันน์ไฮม์ ประเทศเยอรมนี

การเข้าซื้อกิจการของ ทีซีบี (TCB) ครั้งนี้นับเป็นการเข้าซื้อกิจการครั้งที่ 3 ของ แลงเซส ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงระยะเวลาเพียง 6 เดือน โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา แลงเซสได้เข้าซื้อกิจการของยูนิเท็กซ์ (Unitex) บริษัทผู้ผลิตสารที่ใช้เติมในพลาสติกเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ทนทาน โปร่งแสงและใช้งานได้นาน โดยปราศจากสารทาร์เลส (Phthalate) หรือที่เรียกว่า Phthalate-free Plasticizers ในเมืองกรีนสโบโร รัฐนอร์ท แคโรไลนา และจากนั้นอีกหนึ่งเดือนถัดมาได้ทำการเข้าซื้อกิจการของ เวอริเคม (Verichem) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารป้องกันวัสดุที่เติมสารไบโอไซด์ อันเป็นสารกำจัดอินทรีย์สาร (Biocide Material Protection) ในเมืองพิตส์เบิร์ก รัฐเพนซิลวาเนีย

“ทวีปอเมริกาเหนือยังคงเป็นตลาดที่สำคัญอย่างมาก  สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เฉพาะทางและโซลูชั่น  ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาโดย      แลงเซส” มร. แวน รอสเซล กล่าว

แลงเซส (LANXESS) เป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำที่มียอดขายรวม 7.1 พันล้าน   ยูโร (ประมาณ 2.89 แสนล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบันมีพนักงานราว 16,100 คนใน 30 ประเทศ มีฐานการผลิต 47 แห่งทั่วโลก ทั้งนี้ ธุรกิจหลักของ แลงเซส (LANXESS) ได้แก่ การพัฒนา การผลิต และการจัดจำหน่ายพลาสติก ยาง สารที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต (intermediates)  และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน แลงเซส เป็นสมาชิกของ Dow Jones Sustainability Index (DJSI)  และ FTSE4Good

——————–

LANXESS acquires U.S. bladder producer Tire Curing Bladders LLC (TCB)

•Rhein Chemie expands global network for bladders
•Mobility megatrend underpinning demand for tires
•Third acquisition in the USA within six months

(from left) Andre Simon (Mergers & Acquisitions, LANXESS AG), Anno Borkowsky (Global Head of Rhein Chemie), Mark Nutt (former TCB owner), Frank Lueckgen (Head of Business Line Rubber, Rhein Chemie), Vernon Almon (TCB former owner), Boudewijn van Lent (President, Rhein Chemie Corporation), and Wes Morrison (Rhein Chemie Corporation). 

LANXESS is strengthening its position as a premium supplier to the tire industry. The specialty chemicals company’s wholly-owned subsidiary Rhein Chemie has acquired USA-based Tire Curing Bladders LLC (TCB) – a leading manufacturer of bladders for the tire industry. Financial details were not disclosed. The transaction will close with immediate effect.

Privately-owned TCB is based in Little Rock, Arkansas, and operates a bladder production facility with an annual capacity in excess of 400,000 units. The company achieved sales of USD 21 million (around THB 646 million) in 2011 and employs approximately 100 people. TCB serves primarily the North American market.

“The acquisition of TCB is a further cornerstone in our strategy to position Rhein Chemie as a global producer of high-quality bladders,” said Rainier van Roessel, Board Member of LANXESS. “We are gaining capacities to serve our growing list of tire customers and we also gain access to bladders for tires of trucks, off-road and agricultural vehicles, as well as building machines.”

“We are delighted that Rhein Chemie will give our committed workforce the platform to achieve even more success through its global reach and well-known brands,” said TCB’s former joint owners Vernon Almon and Mark Nutt.

Rhein Chemie gained access to bladder production last year through the acquisition of Argentina’s Darmex. Rhein Chemie bladders are marketed under the Rhenoshape brand.

“Rhenoshape bladders, together with our comprehensive portfolio of environmentally friendly Rhenodiv release agents, provide tire manufacturers worldwide with premium solutions for significantly increasing their efficiency and quality. Our future developments will continue to expand these competencies,” said Anno Borkowsky, Head of Rhein Chemie.

Bladders are used in the manufacturing process of tires. A non-vulcanized tire is placed in a press. Once the press is shut, the internal pressure forces the tire against the internal wall of the tire mold. This is done using a butyl rubber bladder that is then inflated under high pressure and at high temperatures to give the tire its final shape.

Rhein Chemie in Mannheim, Germany 


Rhein Chemie in Mannheim, Germany

The demand for bladders is expected to grow parallel to global tire production, which is expected to grow on average by five percent per year in the coming years. The megatrend of mobility is underpinning this growth, driven by a growing middle-class in countries such as Brazil, China and India.

In addition, an increasing number of tire companies are outsourcing their bladder production in order to optimize productivity and take advantage of the higher quality offered by bladder specialists. The size of the global bladder market is estimated at more than EUR 300 million (around THB 12.24 billion).

Rhein Chemie achieved sales of roughly EUR 280 million (around THB 11.43 billion) in 2010 and employs about 1,000 people worldwide. Founded in 1889, Rhein Chemie is based in Mannheim, Germany, and has production sites in Belgium, USA, Uruguay, Brazil, India, China, Argentina and Japan.

The purchase of TCB is LANXESS’ third acquisition in the USA within six months. LANXESS acquired, in October last year, the phthalate-free plasticizers company Unitex in Greensboro, North Carolina, and one month later the biocide material protection specialist Verichem in Pittsburgh, Pennsylvania.

Rhein Chemie in Mannheim, Germany

“North America remains a very important market for specialty chemicals and technology-driven solutions developed by LANXESS,” said van Roessel.

LANXESS is a leading specialty chemicals company with sales of EUR 7.1 billion in 2010 (around THB 2.89 trillion) and currently around 16,100 employees in 30 countries. The company is at present represented at 47 production sites worldwide. The core business of LANXESS is the development, manufacturing and marketing of plastics, rubber, intermediates and specialty chemicals. LANXESS is a member of the leading sustainable indices Dow Jones Sustainability Index (DJSI) World and FTSE4Good.

Forward-Looking Statements.

This news release may contain forward-looking statements based on current assumptions and forecasts made by LANXESS AG management. Various known and unknown risks, uncertainties and other factors could lead to material differences between the actual future results, financial situation, development or performance of the company and the estimates given here. The company assumes no liability whatsoever to update these forward-looking statements or to conform them to future events or developments.

TTME NEWS
T./F. 0 2726 4800 

GIZ ลงนามความร่วมมือกับ มจธ. พัฒนาและส่งเสริมระบบการจัดการของเสียเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


ในภาพ (จากซ้าย)
นายอาทิตย์ ทรัพย์ยั่งยืนกุล ผู้จัดการโครงการความร่วมมือในลักษณะพันธมิตรระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย
มร.ทอร์สเท่น ฟริทเชอร์ ผู้อำนวยการ โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านพลังงานและทรัพยากร GIZ ประจำประเทศไทย
มร.เดวิด โอเบอร์ฮูเบอร์ ผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศไทย
รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
รศ.ดร.โสฬส สุวรรณยืน รองอธิการบดี มจธ. วิทยาเขตบางขุนเทียน
ผศ.สุชาดา ไชยสวัสดิ์ ผู้จัดการศูนย์การจัดการด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและชีวอนามัย และ
ผศ.ดร.ทิพวรรณ ปิ่นวนิชย์กุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารการเงินและทรัพย์สิน

ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง GIZ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ด้าน “การพัฒนาและส่งเสริมระบบการจัดการของเสียอันตรายและของเสียเคมีวัตถุในประเทศไทยอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”  ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมระบบการจัดการของเสียอันตรายและของเสียเคมีวัตถุในประเทศไทยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ ข้อมูล และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการของเสียเคมี เพื่อเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ใช้เคมีภัณฑ์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ต้นปี 2554 โดยรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้รวม 3 หน่วยงานด้านการพัฒนา ได้แก่ สำนักงานบริการด้านการพัฒนาของเยอรมัน (DED) สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน (GTZ) และสำนักงานพัฒนาศักยภาพระหว่างประเทศ (InWEnt) เข้าไว้ด้วยกัน ความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างไทยและเยอรมันดำเนินมาเป็นเวลา 55 ปีแล้ว โดย GIZ ปฏิบัติงานในนามของรัฐบาลเยอรมัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการร่วมมือกับประเทศไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน            

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ 
ศิริพร ตรีพรไพรัช ผู้จัดการฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ GIZ
โทรศัพท์ 02 661 9273 ต่อ 33 หรือ 087 022 7526 อีเมล์ siriporn.treepornpairat@giz.de

———————

GIZ Join Hands with KMUTT for Developing and Promoting Environmentally Sound Management of Chemical Waste in Thailand

Picture shows;
From Left

Mr. Artit Supyangyuenkul, Project manager, Public-Private-Partnership (PPP),
German International Cooperation (GIZ) Thailand
Mr. Torsten Fritsche, Director, Resource Efficiency and Energy, GIZ Thailand
Mr. David Oberhuber, Country Director, GIZ Thailand
Assoc.Prof.Dr.Sakarindr Bhumiratana, President, King Mongkut’s university of Technology Thonburi (KMUTT)
Assoc.Prof.Dr.Solot Suwannayuen, Vice President in charge of Bangkhuntien campus
Asst.Prof Suchada Chaisawadi, Manager, Energy Environment Safety and Health Office (EESH) and Asst.Prof.Dr.Tippawan Pinvanichkul, Vice president for Property and Finance

at the Memorandum of Understanding (MoU) signing ceremony between GIZ and KMUTT on “Joint Technical Cooperation on Developing and Promoting Environmentally Sound Management of Chemical and Hazardous Waste Management System in Thailand which was recently organized. This cooperation aims to join force in developing and promoting a safe and environmentally sound management of chemical waste in Thailand by consolidating the knowledge, information and exchange of experiences on a proper handling of chemical waste, to make it available for further dissemination to users of chemical.

The Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH commenced operations at the beginning of 2011. The organisation brings together the long-standing expertise of the Deutscher Entwicklungsdienst (DED) gGmbH (German Development Service), the Deutsche Gesellschaft für Technische Zusammenarbeit (GTZ) GmbH (German Technical Cooperation) and InWEnt – Capacity Building International, Germany. German International Cooperation (GIZ) is fully owned by the German Federal Government. Looking back on 55 years of Thai-German Technical Cooperation, GIZ continues to support the German Government in achieving its objectives in international cooperation with Thailand promoting sustainable development.

For more information, please contact:
Ms. Siriporn Treepornpairat, Public Information Manager, GIZ
Tel: 66 2 661 9273 ext. 33 E-mail: siriporn.treepornpairat@giz.de

KODAK : โกดักยังคงดำเนินธุรกิจตามปกติในเอเชีย

ที่ผ่านมาหลายคนคงได้รับข่ารสารเกี่ยวกับ KODAK ไปบ้างแล้วพอสมควร สรุปแล้วเป็นมายังไง สำหรับโกดักแล้วทางฝั่งเอเชียเราไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ข่าวที่ออกมานั้นถือว่าเป็นการปรับโครงสร้างบริษัทฯ ถึงแม้โกดักเองจะช้ากว่าเจ้าอื่นก็ไม่เป็นไร เพราะโกดักเองยังมีเทคโนโลยีที่ตอบสนององค์กร ผู้บริโภค พร้อมภาคส่วนของงานบริการด้านต่างๆ อยู่

โกดักยังคงดำเนินธุรกิจตามปกติในเอเชีย
มีเพียงสาขาย่อยต่างๆในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่เข้าข่ายอยู่ใน Chapter 11 (กระบวนการปรับปรุงฟื้นฟูทรัพย์สินและโครงสร้างบริษัทโดยสมัครใจ รายละเอียดด้านกฏหมายตามลิงค์ Chapter 11 ตัวอย่างบริษัทที่เข้าข่าย Chapter 11) ในเอเชียแปซิฟิกการดำเนินธุรกิจยังคงเป็นไปตามปกติ
ในเอเชีย ธุรกิจมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญยังคงเติบโตทำกำไร เซ็กเม้นท์ต่างๆที่เติบโตในหลัก 2 หน่วยได้แก่
บรรจุภัณฑ์  อัตราเติบโต 100 % ต่อปีในเอเชีย
หนังสือพิมพ์ อัตราเติบโต 12% ต่อปี ในเอเชีย
งานพับบลิชิ่ง อัตราเติบโต 12%ต่อปีในเอเชีย
โซลูชั่นงานพิมพ์ดิจิตอล เติบโต 40%
โซลูชั่นก่อนขึ้นแท่นพิมพ์ออฟเซ็ท เติบโต +10%
องค์กร : สแกนเนอร์เอกสารเติบโตเกิน 10% ในเอเชีย
ค้าปลีกและงานพิมพ์ระดับมืออาชีพ ติบโต 11% ในปี 2554
ยังคงให้บริการลูกค้าของเราและจัดส่งสินค้าและให้บริการเป็นปกติตามแนวทางการประกอบธุรกิจ

โกดักมี ก้าวย่างที่มั่นคง ในเอเชีย
พนักงานมากกว่า 4,000 คน
โรงงานผลิต 6 แห่ง
ศูนย์ค้นคว้าและวิจัย 3 แห่ง
บริษัทยังอยู่อย่างมั่นคงใน 13 ประเทศ
หุ้นส่วนธุรกิจมีคู่ค้าหลายร้อยช่องทางพร้อมสายสัมพันธ์ตรงกับบัญชีลูกค้าสำคัญมากกว่า 1,000 บัญชี
– โกดักยังอยู่อย่างแข็งแกร่งพร้อมกับคู่ค้าในส่วนสถาบันการเงินการธนาคารในด้านการจัดการเอกสารและงานภาพ
กลยุทธ์การตลาด GTM เชิงรุก

อนาคตยิ่งใหญ่ในเอเชีย
ผู้มีบทบาทแข็งแกร่งในด้านงานพิมพ์ , ประสบการณ์ด้านการตลาด เติบโตในตัวเลข 2 หลัก
การประยุกต์ ที่แตกต่าง และ ตำแหน่งผู้นำ สร้างสรรค์ธุรกิจเภสัชศาสตร์ด้านการพิมพ์ที่ปลอดภัยมูลค่าหลายล้านเหรียญ ได้อันดับ 1 แพลทฟอร์มงานพิมพ์ดิจิตอลสำหรับหนังสือและหนังสือพิมพ์
นำเสนอเทคโนโลยีแยกชิ้นส่วน : Flexo NX ที่ช่วยให้งานพิมพ์มีคุณภาพสูงดึงดูดผู้บริโภคไปยังชั้นวาง ผู้นำด้านการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อสร้างสรรค์และพิมพ์ผลิตภัณฑ์งานภาพถ่าย

ข้อมูลเพิ่มเติม
นาตาชา อัมส์ ผู้อำนวยการด้านการตลาดลูกค้า, เชิงพาณิชย์และบริโภค อีสต์แมน โกดัก เอเชีย แปซิฟิก
อีเมล์ :  Natasha.adams@kodak.com มือถือ : (86) 186 1663 1370
เอเจนซี่ประชาสัมพันธ์ Ketchum : จอสซ์ โนว่า , รองประธาน ด้านปฏิบัติการเทคโนโลยีและองค์กร
อีเมล์ :  josh.nova@knprhk.com    มือถือ : (852) 2566 1311

KODAK เปิดตัวโซลูชั่นภาพอัจฉริยะ ขับเคลื่อนธุรกิจดิจิตอล สำหรับมืออาชีพด้านการพิมพ์ในงานดรูปา 2012


โกดักสาธิตโซลูชั่นต่างๆที่นำเสนอภาพอันมีมูลค่าเพิ่มขึ้นและกำลังเป็นผู้นำด้านความเปลี่ยนแปลงในตลาดการพิมพ์ เชิงพาณิชย์ สื่อสิ่งพิมพ์และการทำแพคเก็จ

โกดักเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการพิมพ์ โดยนำเสนอโซลูชั่นการพิมพ์ดิจิตอลซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถทำกำไรและสร้างความเติบโตให้แก่ธุรกิจ ในงานดรูปา 2012 โกดัก (ฮอลล์ 5, เอฟ 09-1) โดยพิสูจน์ถึงพันธสัญญาที่กำลังดำเนินอยู่ต่ออุตสาหกรรมและลูกค้าด้วยการเปิดตัวโซลูชั่นดิจิตอลใหม่ 10 โซลูชั่น และพันธมิตรในอุตสาหกรรมกว่า 30 ราย ซึ่งทำให้เครื่องพิมพ์ต่างๆ สามารถนำเสนอแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ให้กับลูกค้าและพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานด้านต่างๆ

“อุตสาหกรรมได้ผ่านช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงต่างๆ นับตั้งแต่งานดรูปา ครั้งก่อนในปี 2551 และเรารับฟังอย่างตั้งใจเพื่อที่จะเข้าใจความท้าทายต่างๆ ที่ลูกค้าเราเผชิญ วันนี้โกดักเปิดตัวดิจิตอลในแบบของคุณ อันเป็นโซลูชั่นที่ได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยให้เราสามารถนำเสนอในสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อย่างลงตัวเป็นพิเศษ” คริส เพย์น ผู้อำนวยการและรองประธานฝ่ายการตลาดโกดักสำหรับธุรกิจเชิงพาณิชย์กล่าว “ บรรดาโซลูชั่นและบริการต่างๆ ของโกดักสามารถนำเสนอภาพที่มีมูลค่าเพิ่มอันเป็นประโยชน์ต่อลูกค้างานพิมพ์ของเราเพื่อที่จะรองรับความต้องการของลูกค้าและช่วยผลักดันการเติบโตของธุรกิจของพวกเขา แวะมาที่ส่วนของโกดักในงานดรูปา 2012 และพิสูจน์ด้วยตัวคุณเองว่าโกดักจะสามารถทำให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จด้วยการนำเสนอดิจิตอลในแบบของคุณได้อย่างไร”

 จุดเด่นของส่วนงานของโกดักในงานดรูปามีดังนี้คือ

  • ·KODAK PROSPER 6000XL Press ชนิด 1,000 fpm ใหม่ เครื่องพิมพ์สี่สีที่มีปริมาณงานพิมพ์รายเดือน (เอ็มพีวี) โดยสามารถพิมพ์งานได้ถึง 160 ล้านหน้าเอ4 ลูกค้างานพิมพ์เชิงพาณิชย์ การส่งไปรษณีย์โดยตรงและสื่อสิ่งพิมพ์จะได้รับประโยชน์จากระบบดิจิตอลที่เร็วที่สุดของอุตสาหกรรมงานพิมพ์ผ่านทางแพลทฟอร์มงานพิมพ์อิงค์เจ็ตที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว
  • ·ระบบงานพิมพ์ KODAK PROSPER S30 ชนิด 3,000 fpm ใหม่ ซึ่งความเร็วในการพิมพ์สูงสุดในอุตสาหกรรมและเป็นระบบงานสำหรับแอพพลิเคชั่นการพิมพ์แบบผสม อุปกรณ์นี้ทำให้เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ตสำหรับเว็บไซต์สามารถเพิ่มศักยภาพด้านกำไรด้วยการนำเสนอแอพพลิเคชั่นการพิมพ์ดิจิตอลมากขึ้น
  • ·เทคโนโลยีสตรีมอิงค์เจ็ตโกดัก เพิ่มพลังให้กับเครื่องพิมพ์ทิมซันส์ท์ใหม่ โดยได้รับการพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือทางเทคโนโลยีอิงค์เจ็ตของโกดัก เครื่องพิมพ์ทิมซันส์ท์ช่วยสร้างความโดดเด่นในผลผลิต การทำงานและความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์สำหรับการพิมพ์หนังสือดิจิตอลแบบเต็มขั้น ด้วยการปรับปรุงรูปแบบธุรกิจสำหรับเครื่องพิมพ์และผู้พิมพ์หนังสือต่างๆ
  • ·โปรแกรมการจัดอันดับกระดาษแบบใหม่และสถานีเสริมสร้างประโยชน์ในการทำภาพ ทำให้เครื่องพิมพ์มีอิสระในการที่จะพิมพ์อิงค์เจ็ตบนพื้นผิวใดๆ ลูกค้าสามารถเลือกกระดาษที่เตรียมไว้ของโกดักหรือดำเนินการกับกระดาษที่นอกเหนือไปจากนี้ด้วยตัวเลือกแอพพลิเคชั่นที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
  • ·การพิมพ์สีทอง สีคล้ายไข่มุกและสีนีออนแบบใหม่ สามารถใช้งานได้แล้วในตอนนี้โดยการใช้โซลูชั่นหน่วยภาพลำดับที่ 5บนเครื่องพิมพ์โกดัก เน็กซ์เพรส และสิ่งที่เพิ่มเติมใหม่สำหรับแพลทฟอร์ม เน็กซ์เพรส เอสเอ็กซ์ยังรวมถึงการฉาบยูวีภายในและถาดงานพิมพ์ชนิดแผ่นยาว การพัฒนาเหล่านี้ทำให้ผู้ให้บริการสามารถขยายแอพพลิเคชั่นต่างๆ และเพิ่มศักยภาพในการทำกำไรด้วยการพิมพ์ดิจิตอล
  • ·ระบบงานโดยตรงโกดัก เฟล็กซ์เซลใหม่ ซึ่งเปิดตัวการพิมพ์ลายสลักเลเซอร์โดยตรงชนิดนวัตกรรม คุ้มค่าพลังงานและพลังสูงสำหรับการผลิตแบบลายฉลุ ด้วยเครื่องพิมพ์ภาพและวัสดุที่ใช้ซ้ำๆ อันได้รับการออกแบบให้ทำงานเพื่อเป็นโซลูชั่นที่ดีที่สุด ความก้าวหน้าของโซลูชั่นสร้างการผลิตที่เป็นไปได้ด้านงบประมาณมากขึ้นของการพิมพ์แพคเก็จแบบรอบลายฉลุชนิดคุณภาพสูง และเพิ่มคุณภาพงานพิมพ์ ความคงเส้นคงวาที่มากขึ้นและเวลาในการติดตั้งเครื่องพิมพ์ที่เร็วขึ้น
  • ·ระบบซีทีพี โกดัก อาไคฟ์ แบบออลอินวันใหม่ ทำให้ง่ายสำหรับเครื่องพิมพ์ในตลาดเกิดใหม่ที่จะก้าวผ่านไปสู่ระบบซีทีพีด้วยเทคโนโลยีแท่นพิมพ์และภาพชนิดความร้อนอันทันสมัยสุดของโกดัก เครื่องพิมพ์และผู้พิมพ์ในภูมิภาคเป้าหมายสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการพิมพ์และได้รับประโยชน์จากระบบซีทีพีด้วยประสิทธิภาพการทำงานที่พิเศษสุดและมูลค่ามหาศาลของงานพิมพ์แล้วในปัจจุบัน
  • ·ชุดเครื่องมือการผลิตแสดงความเคลื่อนไหวของการทำงานของอุปกรณ์ใหม่ รวมถึงซอต์แวร์โกดัก พรินเนอจี่ 6 โกดัก อินไซต์ พรีเพรส พอร์ทัลและแอพสำหรับอุปกรณ์ไอแพด และรูปแบบใหม่ของโกดัก คัลเลอร์โฟล์และโกดัก เพรพส์ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยเพิ่มการทำกำไรด้วยการจัดทำขั้นตอนการผลิตด้วยมือแบบอัตโนมัติในสภาพแวดล้อมงานพิมพ์ดิจิตอลและแบบผสมของลูกค้า
  • ·โกดัก โซโนร่า เอ็กซ์พี โพรเซส พรี เพลทส์ใหม่ สร้างคุณภาพและความสามารถในการพิมพ์แบบจัดเต็มโดยปราศจากตัวประมวลผลหรือเคมี ทำให้สามารถสร้างแท่นพิมพ์ที่มีความคล่องตัว ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
  • ·โกดัก อินเทลลิเจนท์ พรีเพรส แมนนาเจอร์ 2.0 ใหม่ อันเป็นรุ่นใหม่ของบริการเชื่อมต่อซึ่งทำให้เครื่องพิมพ์สามารถนำเสนอผลผลิตที่มากขึ้นและคุณภาพและประสิทธิภาพการพิมพ์ที่ดีสุดจากระบบการเตรียมเครื่องพิมพ์ แอพสำหรับการใช้งานเคลื่อนที่ใหม่ทำให้ลูกค้าได้รับความคล่องตัวและสะดวกสบายในการจัดการระบบการเตรียมเครื่องพิมพ์ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยใช้งานจากสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆ

Loїs Lebegue : กรรมการผู้จัดการภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก

ส่วนงานของโกดักในงานดรูปาจะรวมสถานีแอพพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับการพิมพ์เชิงพาณิชย์ สื่อสิ่งพิมพ์และการทำแพคเก็จ โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการสร้างความเติบโตทางธุรกิจด้วยโซลูชั่นต่างๆ ของโกดัก โรงภาพยนตร์ เค-โซนที่ได้รับความนิยมจะจัดแสดงการนำเสนอโซลูชั่นต่างๆ แบบสดๆ โดยพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมการพิมพ์ ตัวแทนผลิตภัณฑ์ต่างๆ และลูกค้า ในแต่ละวันของการจัดแสดง

นอกจากนี้โกดักจะเน้นความพยายามเชิงความร่วมมือกับพันธมิตรหลักกว่า 30 ราย ผนึกเทคโนโลยีชั้นนำในตลาดและความชำนาญในการนำเสนอโซลูชั่นเป้าหมายที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดเข้าด้วยกัน

“การจัดแสดงงานดรูปาจะเป็นงานสำคัญสำหรับโกดักและอุตสาหกรรมการพิมพ์ เทคโนโลยีที่ได้รับการเปิดตัวในงานนี้จะกำหนดทิศทางตลาดที่เราจะผลิตสินค้ามารองรับ อันได้แก่ การพิมพ์เชิงพาณิชย์ สื่อสิ่งพิมพ์และการทำแพคเก็จสำหรับอีกหลายปีที่จะมาถึง” เพย์นกล่าวเสริม

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโกดักในงานดรูปา โปรดดูที่ www.kodak.com/go/drupa

AMARJEET KAUR MEHTA : กรรมการผู้จัดการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

โกดักเป็นที่ปรึกษาและผู้ให้บริการครบวงจรระดับโลกเพื่อช่วยบริษัทต่างๆ ในการเปลี่ยนและทำประโยชน์สูงสุดให้กับธุรกิจต่างๆ ของพวกเขา โกดักให้บริการเฉพาะด้าน แบบมืออาชีพ เชิงให้คำปรึกษาและการจัดการเพื่อให้ลูกค้าสามารถทุ่มเทให้กับการสร้างความเติบโตทางธุรกิจ เพิ่มผลผลิตให้สูงสุดและจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล ผ่านเครือข่ายมืออาชีพด้านการให้บริการในกว่า 120 ประเทศ ผลิตภัณฑ์และซอฟท์แวร์ทุกประเภทของโกดักได้รับการสนับสนุนจากส่วนบริการและสนับสนุนของโกดัก สนใจข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมได้ที่ www.graphics.kodak.com


ที่มา TTME NEWS

T./F 02-726 4800