ธุรกิจพึงระวังสำหรับเอสเอ็มอีในปี 2554
มกราคม 20, 2011 ใส่ความเห็น
- เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ความ อ่อนแอทางเศรษฐกิจหรืออาจเรียกได้ว่าการฟื้นตัวอย่างไม่มั่นคงของเศรษฐกิจ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ปัญหาหนี้ในสหภาพยุโรป การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และปัญหาฟองสบู่ในตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจีน ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกในปี 2554 มีแนวโน้มชะลอตัว และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากการเข้ามาเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย โดยทำให้การส่งออกของไทยมีแนวโน้มชะลอลง และต้นทุนทุนธุรกิจ รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
- เงินบาทแข็งค่า…กระทบเอสเอ็มอีส่งออก เครือ ธนาคารกสิกรไทยคาดว่า เงินบาทอาจยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นทดสอบระดับ 29.00 และ 28.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงสิ้นปี 2553 และสิ้นปี 2554 ตามลำดับ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินธุรกิจเอสเอ็มอีที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท ดังตารางข้างล่างนี้
ธุรกิจที่มีโอกาสถูกกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท
ระดับของผลกระทบ | ประเภทธุรกิจ |
ผลกระทบมาก | เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องดนตรีและเครื่องกีฬา ผลไม้กระป๋องและแปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป ไก่แปรรูป |
ผลกระทบค่อนข้างมาก โดยมีสถานะทางการแข่งขันที่เสียเปรียบอยู่แล้ว | ข้าว สินค้าพึ่งพาแรงงานสูง เช่น รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ |
ผลกระทบปานกลาง โดยกระทบตลาด US-EU แต่มีผลบวกจากต้นทุนนำเข้าต่ำลง | คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ ทูน่ากระป๋อง |
ผลกระทบค่อนข้างน้อย เนื่องจากแม้มีการใช้วัตถุดิบในประเทศสูง แต่มีการกระจายตลาดสูง | ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง น้ำตาล ผลิตภัณฑ์ยาง การท่องเที่ยว |
ผลกระทบน้อย เนื่องจากมีการกระจายตลาดและมีส่วนที่ได้ประโยชน์จากต้นทุนนำเข้าต่ำลง | รถยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร |
ไม่กระทบ เนื่องจากมีตลาดหลักในประเทศหรือ มีสัดส่วนการนำเข้าวัถุดิบสูง |
เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ดูแลความสะอาด ปิโตรเคมร ปิโตรเลียมวัสดุก่อสร้าง เหล็ก กระดาษและเยื่อกระดาษ เวชภัณฑ์ ผู้นำเข้าสินค้าแแบรนด์เนมต่างประเทศ ค้าปลีกค้าส่ง อสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง บริการโทรคมนาคม ธุรกิจบริการอื่นๆ |
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
- ราคาน้ำมัน…กระทบต้นทุนขนส่ง แนว โน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบปี 2554 มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากรัฐบาลประเทศต่างๆ ได้ออกมาตรการทางด้านการเงินและการคลังเพื่อสร้างเสถียรภาพ และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันของโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคอเมริกาเหนือและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย (จีนและอินเดีย) เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้แนวโน้มราคาน้ำมันดิบตลาดโลกในปีหน้า คาดว่าน่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 83-100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศน่าจะปรับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 1.30-1.40 บาทต่อลิตรโดยเฉพาะเบนซินและดีเซล คงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อราคาให้มีการเปลี่ยนแปลง เช่น สภาวะเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าก็ย่อมส่งผลให้ราคา น้ำมันขายปลีกมีความผันผวนได้ การปรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าพลังงาน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งสินค้าเพิ่ม
- วัตถุดิบขาดแคลน ราคาแพง …ปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ธุรกิจ เอสเอ็มอีประเภทธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือธุรกิจแปรรูปอาหาร และผลผลิตทางการเกษตร ธุรกิจเอสเอ็มอีเหล่านี้อาจประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ และวัตถุดิบมีราคาแพงขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องจากปัญหาสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้เกิดปัญหาภัยธรรมชาติ ทั้งภาวะฝนทิ้งช่วง ภาวะน้ำท่วม ตลอดจนภาวะโรคและแมลงศัตรูระบาด ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตร(ทั้งกสิกรรม ประมง และปศุสัตว์) ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของบรรดาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีแนวโน้มสูงขึ้น
- การขึ้นค่าจ้างแรงงาน …ต้นทุนการธุรกิจเพิ่มขึ้น จาก การที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18 ได้พิจารณาการปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2554 เพิ่มขึ้น 8-17 บาท ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นการปรับในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งปรับเพิ่มขึ้น 3-5 บาท ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ภาคธุรกิจเอสเอ็มอี เพราะลูกจ้างที่จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำทั้งประเทศ 1.6 ล้านคนนั้น อยู่ในภาคธุรกิจเอสเอ็มอีประมาณ 1.3 ล้านคน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเป็นผู้ประกอบการที่มีเงินทุนไม่มากนัก ผลที่ตามมาคือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น อาจต้องปลดคนงานหรือถ้าแข่งขันไม่ได้ก็อาจต้องปิดกิจการ นอกจากนี้ การปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำอาจจะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน สินค้าไทยให้ลดลง เพราะต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น แม้ว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากค่าแรงงานจะสามารถชดเชยด้วยการปรับขึ้นราคา สินค้า แต่ด้วยปัจจัยเสี่ยงเดิม โดยเฉพาะความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้การปรับขึ้นราคาสินค้าทำได้ไม่มากนัก
การปรับตัวของผู้ประกอบการ
ขอบคุณข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย
Advertisements